Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 กระทรวงไอซีที และ SIPA จับมือคณะวิศวะ ลาดกระบัง (สจล.) 'ปั้นเทค สตาร์ทอัพ' ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจใหม่ ดึง “ไอเดีย” เด็กในรั้วมหาวิทยาลัย ผสาน “ความรู้ด้านเทคโนโลยี” สร้างสรรค์แอปพลิเคชันโมบาย ที่สามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองยุคโมบาย 3.0 ที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันเครื่องมือการตลาดดิจิตอล “สจล.” รับสมัครนักศึกษา 200 คน

ประเด็นหลัก


กระทรวงไอซีที และ SIPA จับมือคณะวิศวะ ลาดกระบัง (สจล.) 'ปั้นเทค สตาร์ทอัพ' ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจใหม่ ดึง “ไอเดีย” เด็กในรั้วมหาวิทยาลัย ผสาน “ความรู้ด้านเทคโนโลยี” สร้างสรรค์แอปพลิเคชันโมบาย ที่สามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองยุคโมบาย 3.0 ที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันเครื่องมือการตลาดดิจิตอล “สจล.” รับสมัครนักศึกษา 200 คนเข้าโครงการ เปิดตัว 3 กลุ่มสตาร์ทอัพน้องใหม่ ทั้งแอปพลิเคชันสมาร์ทลิฟวิ่ง เปิด-ปิดอุปกรณ์ในบ้านด้วยสมาร์ทโฟน พร้อมแอปพลิเคชันกรุงศรี หมีเก็บเงิน และอีซี่ดีล (EasyDeal) ซื้อขายสินค้าออนไลน์

จากโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่องมาถึงยุค 4G สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยปี 2558 ที่มีจำนวนถึง 90 ล้านเครื่อง และคิดเป็นสัดส่วนของสมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีจำนวนมากกว่า 45 ล้านเครื่อง ถือว่าเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจทางด้าน เทค สตาร์ทอัพของไทย หรือผู้ประกอบการเทคโนโลยีหน้าใหม่ กลายเป็นเทรนด์ธุรกิจในปีนี้ แต่เมื่อพิจารณาจำนวนของคนที่อยู่ในวงการนี้ ถือว่ายังมีจำนวนน้อย จนเรียกว่าอยู่ในระดับที่ขาดแคลน (เทคสตาร์ทอัพปี 2556 มีเพียง 300 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 500 รายในปี 2557 และ 2,500 ราย ในปี 2558)




________________________________


สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล
โดย MGR Online


สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


กระทรวงไอซีที และ SIPA จับมือคณะวิศวะ ลาดกระบัง (สจล.) 'ปั้นเทค สตาร์ทอัพ' ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจใหม่ ดึง “ไอเดีย” เด็กในรั้วมหาวิทยาลัย ผสาน “ความรู้ด้านเทคโนโลยี” สร้างสรรค์แอปพลิเคชันโมบาย ที่สามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองยุคโมบาย 3.0 ที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันเครื่องมือการตลาดดิจิตอล “สจล.” รับสมัครนักศึกษา 200 คนเข้าโครงการ เปิดตัว 3 กลุ่มสตาร์ทอัพน้องใหม่ ทั้งแอปพลิเคชันสมาร์ทลิฟวิ่ง เปิด-ปิดอุปกรณ์ในบ้านด้วยสมาร์ทโฟน พร้อมแอปพลิเคชันกรุงศรี หมีเก็บเงิน และอีซี่ดีล (EasyDeal) ซื้อขายสินค้าออนไลน์
จากโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่องมาถึงยุค 4G สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยปี 2558 ที่มีจำนวนถึง 90 ล้านเครื่อง และคิดเป็นสัดส่วนของสมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีจำนวนมากกว่า 45 ล้านเครื่อง ถือว่าเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจทางด้าน เทค สตาร์ทอัพของไทย หรือผู้ประกอบการเทคโนโลยีหน้าใหม่ กลายเป็นเทรนด์ธุรกิจในปีนี้ แต่เมื่อพิจารณาจำนวนของคนที่อยู่ในวงการนี้ ถือว่ายังมีจำนวนน้อย จนเรียกว่าอยู่ในระดับที่ขาดแคลน (เทคสตาร์ทอัพปี 2556 มีเพียง 300 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 500 รายในปี 2557 และ 2,500 ราย ในปี 2558)

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


ทั้งนี้ด้านการตื่นตัวเพื่อรับมือกับโอกาสที่กำลังมาถึง โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น มีโครงการเพื่อเฟ้นหาดาวเด่น เทค สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นมากมายหลายโครงการ
นับตั้งแต่การผลักดันของภาคเอกชน เช่น บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ ที่เข้ามามีส่วนสนับสนุน เช่น โครงการ “เอไอเอส เดอะ สตาร์ทอัพ” ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และโครงการ True Incube ซึ่งเป็นโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของกลุ่มทรู ตามมาด้วยโครงการดีแทค แอกเซเลเรต นับว่าการผลักดันนี้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ เทค สตาร์ทอัพไทย มีโอกาสแจ้งเกิด คว้ารางวัลในสนามการแข่งขันทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ
ขณะที่โปรเจกต์ของรัฐบาลที่มีแนวคิดจะจัดตั้ง เนชั่นแนล สตาร์ทอัพ เซ็นเตอร์ เชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรม ที่มีอยู่ในแต่ละกระทรวง และจดทะเบียนสตาร์ทอัพทั้งหมด เพื่อส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากธนาคารของรัฐและเอกชนได้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2559 เน้นสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจให้มีการเติบโตจากภายใน และหนึ่งในงานหลักของ 4 โครงการนั้น จะเน้นส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ โดยจับมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ดิจิตอลเทคโนโลยี และธุรกิจบริการ มาร่วมกันคิด เพื่อสร้างเจ้าของธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อทำให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้จากการขายสินค้า และบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาด

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


อย่างไรก็ดีกระทรวงไอซีทีก็ออกมารับลูกนโยบายนี้ โดย ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กล่าวว่า “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หรือ เทค สตาร์ทอัพ เพราะเป็นแนวทางการส่งเสริมที่สอดคล้องกับแนวนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ SMEs ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล”
ล่าสุดร่วมกับสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และหน่วยงานทางด้านการศึกษาจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการใหม่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมสตาร์ทอัพ ซึ่งมีแผนจะขยายการเปิดสตาร์ทอัพ คลับสำหรับนักศึกษา 40 แห่งในมหาวิทยาลัยต่างๆ ตั้งเป้าไว้ 500 โครงการที่จะส่งไอเดียเข้ามาในรอบแรก จากนั้นคัดเลือกเหลือ 40 ทีมที่จะเข้ามาอบรมเสริมความรู้และประสบการณ์ โดยมีกระทรวงไอซีที และ SIPA เป็นพี่เลี้ยง สำหรับรอบสุดท้ายจะคัดเหลือเพียง 10 ทีม ที่มีโอกาสไปฝึกฝนความเชี่ยวชาญและเปิดรับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างประเทศ
วิศวะลาดกระบังนำร่องสตาร์ทอัพ คลับ แห่งแรกของไทย
ด้าน รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการรับมือกับโอกาสที่กำลังมา เพราะในช่วงปี 2558-2559 นั้น ถือเป็นกระแสการเติบโตของ “สตาร์ทอัพ” ไทย หรือบริษัทเปิดใหม่ที่พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการโดดเด่นด้วยเทคโนโลยี
หากเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้ง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามนั้น ประเทศไทยยังถือว่ามีบุคลากรในวงการนี้น้อยมาก นั่นเพราะยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีกับศักยภาพการตลาด เห็นได้จากผลงานวิจัยในประเทศไทยที่ผ่านมา ประมาณ 3.7 แสนผลงาน มีเพียง 40 -45% ที่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์ได้ และในจำนวนนี้มีนวัตกรรมไม่ถึง 5% ที่สร้างมูลค่าในเชิงรายได้กลับมา
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยคณะวิศวะ ลาดกระบัง ซึ่งเป็นโครงการที่พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ให้เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ และเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ โดยเน้นให้นักศึกษามีความเข้าใจในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Model) ให้ประสบความสำเร็จ โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์กับเทคโนโลยี ต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคและสร้างมูลค่า

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


โดยวางแผนกิจกรรมโครงการสตาร์ทอัพนักศึกษา ใช้เวลาเปิดรับสมัคร 9 เดือน มีทั้งกิจกรรมจัดเวทีเสวนาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่, จัดเวทีเสวนาทางธุรกิจและอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ, สรุปและประเมินผลโครงการ ตั้งเป้าจำนวนนักศึกษาเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 200 คน และคาดหวังกลุ่มต้นแบบที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 กลุ่ม ภายใน 1 ปี
ซึ่งรายละเอียดโครงการประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อย คือ 1. โครงการค้นหาผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 2. โครงการ Campus Tour จัดให้มีการพบปะกันระหว่างกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างกัน และ 3. โครงการสร้างความตระหนัก-จิตวิญญาณผู้ประกอบการ เป็นการจัดเสวนาทางธุรกิจและอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ พร้อมแผนจัด 2 อีเวนต์ใหญ่แสดงนวัตกรรมในเดือนเมษายน และกันยายน 2559 (KMITL Startup Project Day 2016 และงานวิศวะ’59)

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


3 กลุ่มสตาร์ทอัพคนรุ่นใหม่
การเตรียมความพร้อมของคณะวิศวะ ลาดกระบัง ที่จะปั้นนักศึกษาเข้าสู่วงการนี้ มีการเปิดตัว 3 กลุ่มสตาร์ทอัพน้องใหม่ที่กำลังพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ได้แก่
กลุ่มซันเดย์ เทคโนโลยี เจ้าของผลงานแอปพลิเคชันสมาร์ทลิฟวิ่ง ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงและสื่อสารเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆกับสมาร์ทโฟน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคน สร้างความสะดวกปลอดภัยและประหยัดพลังงาน เช่น เปิด-ปิดไฟในบ้าน หรือเปิด-ปิดประตูรั้วจากสมาร์ทโฟน ตั้งเวลาเปิด-ปิดทีวี ไปจนถึงหากมีไฟลัดวงจร หรือไฟรั่ว จะตัดกระแสไฟโดยอัตโนมัติแล้วจะแจ้งเตือนมายังสมาร์ทโฟน ขณะนี้สมาร์ทลิฟวิ่ง อยู่ในขั้นตอนของการผลิตต้นแบบที่จะนำไปให้ผู้บริโภคทดลองใช้ และนำผลมาพัฒนาการผลิต
กลุ่มกรุงศรี หมีเก็บเงิน เจ้าของแอปพลิเคชันกรุงศรี หมีเก็บเงิน แอปพลิเคชันที่สร้างสีสันให้กับการออมเงิน โดยมีลักษณะเป็นแอปพลิเคชันเกมแบบ simulation ฝึกการบริหารเงินและให้ความรู้แบบสนุกสนาน พร้อมเกมตอบคำถามที่ช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ด้านกองทุน ภาษี มากยิ่งขึ้น
กลุ่มอีซี่ดีล (EasyDeal) สร้างแอปพลิเคชันจัดการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่มีระบบช่วยเหลือทั้งในส่วนผู้ซื้อ เช่น มีร้านค้าแนะนำ มีช่องทางติดต่อไปยังร้าน ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ภายในแอป แจ้งการโอนเงิน และตรวจสอบสถานะของสินค้าได้แบบ Real-Time สำหรับผู้ขาย มีระบบตัดสต๊อกสินค้า ระบบแบ่งออเดอร์ตามสถานะ ดูสถิติการขาย ตรวจสอบยอดเงินอัตโนมัติ เป็นต้น

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


เทรนด์แอปพลิเคชันสาขาไหนมาแรง
อีกทั้งในเวทีเสวนา เรื่อง “Startup: Start Together” มีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์สตาร์ทอัพในแง่มุมต่างๆ นั้น ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เผยว่า “ประเทศไทยต้องการนักนวัตกรรมที่นำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล ซึ่งกลุ่ม เทค สตาร์ทอัพ ที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ มีอยู่ 4 สาขาหลัก ได้แก่ 1. สาขาวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างนวัตกรรมให้เป็นผลงานทางธุรกิจได้ 2. สาขาเทคโนโลยี เน้นในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคิดนวัตกรรมเพื่อช่วยควบคุมการจราจร 3. สาขานวัตกรรมโปรแกรมทั่วไป แต่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และตอบโจทย์แก้ปัญหาของสังคม และ 4. สาขาการตลาดระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ”

สจล.เปิดรับเด็กมหาวิทยาลัย 200 คน สร้าง “แอป” ทำเงินรองรับตลาดดิจิตอล


ขณะที่เคล็ดลับแจ้งเกิดในวงการสตาร์ทอัพนั้น นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เสริมว่า “สิ่งที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จนั้นคือ 1. สร้างจุดแตกต่างและคุณค่าแก่ผู้บริโภค 2. ต้องมีความเป็นไปได้ในเชิงการตลาดอย่างยั่งยืน 3. สามารถสร้างผลกำไร และที่สำคัญคือ 4. กลุ่มสตาร์ทอัพต้องเปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างไกลและมีความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคอย่างรอบด้าน”
ส่วนคนในวงการเทคสตาร์ทอัพประเทศไทย นายธีระ ศิริเจริญ COO & Co-founder บริษัท กอล์ฟดิกก์ จำกัด กล่าวถึงการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วงการว่า “สิ่งที่ผู้ทำธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเจอ คือ 1. ทีมหรือคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำสตาร์ทอัพ คนหรือทีมที่เหมาะสมกับการทำสตาร์ทอัพต้องมี 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะทางธุรกิจ, ทักษะการพัฒนาโปรแกรม และทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ 2. ทุน เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไอเดียหรือนวัตกรรมเป็นจริงได้”

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000006562&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+20-1-59&utm_campaign=20160119_m129385620_MGR+Morning+Brief+20-1-59&utm_term=_E0_B8_AA_E0_B8_88_E0_B8_A5__E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_B4_E0_B8_94_E0_B8_A3_E0_B8_B1_E0_B8_9A_E0_B9_80

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.