Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 TOT ชี้ กำลังเร่งส่งร่างสัญญาพันธมิตรธุรกิจ 3G 2100 MHz กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเป็นสัญญาชั่วคราว 6 เดือน ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ // การปูพรมฟิกซ์บรอดแบนด์คลื่น 2300 MHz // ย่าน 1500 MHz น่าจะเป็นย่านแรก ๆ ที่นำมาใช้

ประเด็นหลัก



นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเร่งส่งร่างสัญญาพันธมิตรธุรกิจ 3G 2100 MHz กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเป็นสัญญาชั่วคราว 6 เดือน ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ โดยพยายามจะให้ลงนามได้ใน 1 เดือน ระหว่างรอการยกร่างสัญญาพันธมิตรที่จะผูกพันถึงปี 2568 โดยตามข้อตกลง เอไอเอสจะลงทุนเพิ่มให้มีสถานีฐาน 15,000 แห่งทั่วประเทศ และทีโอทีเป็นผู้เช่าก่อนนำความจุมาขายต่อให้เอไอเอส และเร่งเจรจากับแจส โมบายฯ ที่จะมาเช่าเสาโทรคมนาคม เพื่อหารายได้เพิ่มอีกทาง


"การปูพรมฟิกซ์บรอดแบนด์คลื่น 2300 MHz เป็นการนำร่องไปก่อน เมื่อใดพื้นที่มีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น ทีโอทีก็จะลากสายไฟเบอร์เข้าไป"



"ย่าน 1500 MHz น่าจะเป็นย่านแรก ๆ ที่นำมาใช้ ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีคนสนใจ กระทั่งเยอรมนีประมูลสำเร็จ แต่สิทธิ์ในคลื่นถึงปี 2568 เป็นอุปสรรคสำหรับการคิดวางแผนลงทุน"













________________________________


"ทีโอที" เร่งปรับโครงสร้างกำลังคน ทำใจขาดทุน 2 ปี ลุยลดต้นทุนดึง"คลื่น-เสา"หารายได้


ดีล "ทีโอที-เอไอเอส" ภายเรือในอ่าง หลังต้องรอส่งร่างสัญญาให้อัยการตรวจ ขณะที่ คนร.ขอให้ปรับแผนฟื้นฟูเพิ่มการบริหารความเสี่ยงแยกทีละโครงการ ตั้งเป้ากำไรปี"61 เดินหน้าพัฒนาคลื่น 2300 ดันรายได้ฟิกซ์บรอดแบนด์เพิ่ม

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเร่งส่งร่างสัญญาพันธมิตรธุรกิจ 3G 2100 MHz กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเป็นสัญญาชั่วคราว 6 เดือน ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ โดยพยายามจะให้ลงนามได้ใน 1 เดือน ระหว่างรอการยกร่างสัญญาพันธมิตรที่จะผูกพันถึงปี 2568 โดยตามข้อตกลง เอไอเอสจะลงทุนเพิ่มให้มีสถานีฐาน 15,000 แห่งทั่วประเทศ และทีโอทีเป็นผู้เช่าก่อนนำความจุมาขายต่อให้เอไอเอส และเร่งเจรจากับแจส โมบายฯ ที่จะมาเช่าเสาโทรคมนาคม เพื่อหารายได้เพิ่มอีกทาง

ด้านแผนฟื้นฟูกิจการ ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณา แนะนำให้ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพิ่มโดยวิเคราะห์แยกแต่ละโครงการว่าหากสำเร็จหรือไม่จะกระทบอย่างไร มีแผนใดสำรอง

"แผนที่ส่ง คนร.ทีโอทีจะมีกำไรปี 2561 แต่ผลขาดทุนใน 2 ปีนี้อยู่ระหว่างปรับปรุง แต่คงขาดทุนมากพอสมควร เพราะต้องลงทุนบางส่วนเพิ่ม ปัญหาที่จะกระทบกระแสเงินสดก็ยังอยู่ เชื่อว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับเอไอเอส รวมถึงการแก้ปัญหาข้อพิพาทเสาโทรคมนาคมที่จะให้จบเดือนนี้จะช่วยฟื้นได้"

เรื่องการแก้ปัญหาข้อพิพาทเสาสัมปทานเบื้องต้นจะยังไม่ใช้การตั้งบริษัทร่วมทุน เพราะอาจปิดโอกาสโอเปอเรเตอร์รายอื่น

"ในช่วงแรกถ้าทรัพย์สินกลับมาเป็นของทีโอที ก็จะให้คู่สัญญากลับมาจ่ายค่าเช่า ส่วนที่ว่างก็ให้คนอื่นมาเช่าได้ แต่ในอนาคตจะคุยกันว่าจะพัฒนาเป็นบริษัทร่วมทุน หรือกองทุนอินฟราสตรักเจอร์"

ขณะที่แผนธุรกิจของทีโอทีจากนี้ สัดส่วนรายได้ 50% จากโทรศัพท์พื้นฐานกับฟิกซ์บรอดแบนด์ 35-40% จากการใช้ทรัพย์สินโมบาย ซึ่งรวมทั้งคลื่น เสาส่งสัญญาณและสถานีฐาน ราว 10% มาจากโครงสร้างพื้นฐานอย่างท่อร้อยสาย และอื่น ๆ โดยการใช้ทรัพยากรคลื่นจากนี้จะเน้นไปที่ 2300 MHz เพื่อนำไปให้บริการบรอดแบนด์ตามนโยบายรัฐบาล อีกส่วนนำมาให้บริการในเมือง ซึ่งจะเป็นส่วนที่หารายได้ให้ทีโอที ต้องบริหารแบนด์วิดท์ที่มีอยู่ 60 MHz จะใช้อย่างไรโดยอยู่ระหว่างทำแผนเพื่อเตรียมนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง

"การปูพรมฟิกซ์บรอดแบนด์คลื่น 2300 MHz เป็นการนำร่องไปก่อน เมื่อใดพื้นที่มีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น ทีโอทีก็จะลากสายไฟเบอร์เข้าไป"

แม้การใช้คลื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่เร่งผลักดัน และยอมรับว่ายังมีปัญหาอุปสรรค ทั้งขาดเงินลงทุน และความไม่พร้อมในการเปิดใช้คลื่นใหม่ เพราะต้องเร่งสะสางปัญหาเดิมขององค์กรให้เสร็จก่อน ไม่พร้อมเปิดศึกใหม่ และเตรียมวางกรอบแนวคิดในการใช้คลื่นแต่ละย่านความถี่แล้ว

"ย่าน 1500 MHz น่าจะเป็นย่านแรก ๆ ที่นำมาใช้ ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีคนสนใจ กระทั่งเยอรมนีประมูลสำเร็จ แต่สิทธิ์ในคลื่นถึงปี 2568 เป็นอุปสรรคสำหรับการคิดวางแผนลงทุน"

ขณะที่อีกรายได้ที่ตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตคือ รายได้จากกองทุนท่อร้อยสายโทรคมนาคมที่บอร์ดอนุมัติในหลักการแล้ว แต่ต้องรอให้ทาง ครม.และ ก.ล.ต.อนุมัติก่อน ซึ่งมีต้นแบบจากการตั้งกองทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ถ้าไม่โชคร้ายเกินไปสิ้นปีนี้น่าจะเริ่มขายกองทุนได้ โดยรายได้ในส่วนนี้น่าจะเข้ามาปีละหลักร้อยล้านบาท

"สิ่งที่น่าหนักใจ คือ ต้นทุนบุคลากรที่สูงกว่ารายอื่น สิ่งที่ต้องทำคือหาทางเพิ่มรายได้ ผลักดันให้คนหารายได้ โดยมีตัวชี้วัดด้านรายได้ให้พนักงานทุกระดับ"

ดังนั้นจึงจะมีแผนปรับเปลี่ยนโครงสร้างกำลังคนต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่ คนร.กำหนดมา โดยย้ายกำลังคน เพื่อสร้างความชัดเจนในการบริหารจัดการ ลดการทับซ้อนของงาน เพิ่มศักยภาพ รวมถึงรายได้ และแผนเออร์ลี่รีไทร์ที่จะต้องให้เสร็จภายในกลางปีนี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453968725

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.