Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 TOT ชี้การร่วมมือ AIS บริการ 2100 เบ็ดเสร็จแล้วคาดว่าจะมีรายได้จากโมบาย 15,000-16,000 ล้านบาท ความจุโครงข่าย 80% ทำให้เรามีรายได้สุทธิปีละเกือบ 4 พันล้านบาท ความจุอีก 20%

ประเด็นหลัก




ความจุโครงข่าย 80% ทำให้เรามีรายได้สุทธิปีละเกือบ 4 พันล้านบาท ความจุอีก 20% ที่เหลือจะทำตลาดเอง ซึ่งน่าจะทำให้มีรายได้ราว 1,000 ล้านบาท ขณะนี้บอร์ดกำลังพิจารณาร่างสัญญาก่อนส่งให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ เอไอเอสจะถอนข้อพิพาทที่อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเมื่อมีการลงนามในสัญญา เบ็ดเสร็จแล้วคาดว่าจะมีรายได้จากโมบาย 15,000-16,000 ล้านบาท"

นอกจากเอไอเอสแล้ว บริษัทกำลังเจรจากับกลุ่มทรู และบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดด้วย เพราะทั้งคู่ติดต่อขอเช่าโครงข่าย ส่วนกลุ่มธุรกิจบรอดแบนด์ตั้งเป้าพลิกกลับมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดอีกครั้งให้ได้ จากปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ 30% กลายเป็นเบอร์ 3 โดยจะเร่งขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีก 1.5 แสนราย รวมแล้วจะมีลูกค้าราว 1.6 ล้านราย สร้างรายได้เพิ่มอย่างน้อย 10% หรือราว 1.7 หมื่นล้านบาทด้วยการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์อีก 3 แสนพอร์ต จากการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว และการให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์คลื่น 2300 MHz รวมถึงการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของรัฐบาลให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาพื้นที่ของโครงการ คาดว่าจะติดตั้งเสร็จในไตรมาส 2 ปีหน้า






_____________________________________________________




"ทีโอที"หนีไม่พ้นขาดทุนต่อเนื่อง3ปี "ซีอีโอ"เร่งปฏิรูปองค์กร-หวังพลิกทำกำไรได้ปี"61


"ทีโอที" ดิ้นสุดตัวแต่หนีไม่พ้นขาดทุน 3 ปีติด ย้ำต้องเร่งพลิกฟื้นองค์กร-เจรจาปิดดีล "เอไอเอส" ปั๊มรายได้เพิ่มปีละ 4,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าลงทุนขยายโครงข่ายบรอดแบนด์อีก 3 แสนพอร์ต หวังกลับมามีกำไรในปี"61 แต่ยอมรับปีนี้ถ้าแผนธุรกิจไม่ได้ตามเป้าอาจขาดทุนถึง 2 หมื่นล้านบาท

นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ผลประกอบการในปี 2558 ที่ผ่านมา ในเบื้องต้นจะขาดทุนราว 5,000 ล้านบาท น้อยกว่าประมาณการเดิม 52% เนื่องจากสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 17,000 ล้านบาท หรือ 26% และเหตุผลหลักที่ทำให้ขาดทุน คือมีค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ประกอบกับรายได้สัมปทานที่หายไป ขณะที่ในปี 2559 นี้มีเป้ารายได้ที่ 50,000 ล้านบาท แต่รายจ่ายอยู่ที่ 60,000 กว่าล้านบาท เท่ากับจะขาดทุนราว 11,000 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาทั้งของทีโอทีและอุปกรณ์ที่รับมอบจากสัมปทาน จึงต้องเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งปฏิรูปองค์กรด้วยความรวดเร็วและรอบคอบ ทั้งการก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศ, การเป็นเบอร์ 1 ด้านบรอดแบนด์, การประกอบธุรกิจไร้สายจากทรัพยากรและคลื่นความถี่ที่มี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐด้วย เพราะหากไม่เร่งทำอะไรอาจประสบกับภาวะขาดทุนมากถึง 20,000 ล้านบาท

โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าว่าจะเร่งสร้างรายได้ในกลุ่มธุรกิจโมบายด้วยการเดินหน้าเป็นพันธมิตรกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ล่าสุดมีความคืบหน้าในการเจรจาข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส ตามมติ คนร.เพื่อประโยชน์สูงสุดแล้ว โดยจะให้เอไอเอสเช่าเสา จำนวน 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G 900 MHz ซึ่งจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ราว 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาท/ปีใน 10 ปีหลัง

"ปีนี้เป็นปีที่ทีโอทีต้องจัดสรรทรัพยากรให้ดีที่สุด ถ้าทำไม่ดีงานจะล้นมือ มีทั้งโครงการของทีโอทีและของภาครัฐ จะจ้างซับคอนแทร็กต์ทุกคนก็งานล้นมือ การเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายบนคลื่น 2100 MHz เอไอเอสจะลงทุนขยายโครงข่าย และรับผิดชอบค่าบำรุงรักษา เฉลี่ยที่ 600 ล้านบาท/ปี เป็นเวลา 10 ปี และเสนอซื้อ

ความจุโครงข่าย 80% ทำให้เรามีรายได้สุทธิปีละเกือบ 4 พันล้านบาท ความจุอีก 20% ที่เหลือจะทำตลาดเอง ซึ่งน่าจะทำให้มีรายได้ราว 1,000 ล้านบาท ขณะนี้บอร์ดกำลังพิจารณาร่างสัญญาก่อนส่งให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ เอไอเอสจะถอนข้อพิพาทที่อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเมื่อมีการลงนามในสัญญา เบ็ดเสร็จแล้วคาดว่าจะมีรายได้จากโมบาย 15,000-16,000 ล้านบาท"

นอกจากเอไอเอสแล้ว บริษัทกำลังเจรจากับกลุ่มทรู และบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดด้วย เพราะทั้งคู่ติดต่อขอเช่าโครงข่าย ส่วนกลุ่มธุรกิจบรอดแบนด์ตั้งเป้าพลิกกลับมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดอีกครั้งให้ได้ จากปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ 30% กลายเป็นเบอร์ 3 โดยจะเร่งขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีก 1.5 แสนราย รวมแล้วจะมีลูกค้าราว 1.6 ล้านราย สร้างรายได้เพิ่มอย่างน้อย 10% หรือราว 1.7 หมื่นล้านบาทด้วยการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์อีก 3 แสนพอร์ต จากการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว และการให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์คลื่น 2300 MHz รวมถึงการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของรัฐบาลให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาพื้นที่ของโครงการ คาดว่าจะติดตั้งเสร็จในไตรมาส 2 ปีหน้า

"ปี 2559 ถือเป็นปีที่หนักสุด ต้องเร่งพลิกฟื้น หากทำได้ตามแผนจะกลับมามีกำไรในปี 2561"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454645859

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.