Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) เทรนด์ตลาดยุค "ดิจิทัล" แปลง "แบรนดิ้ง" ให้เป็นยอดขาย // "ดิจิทัลไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง" การทำการตลาดที่อิงกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลด้วยการนำฐานข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคผ่านระบบซีอาร์เอ็ม หรือการบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

ประเด็นหลัก





เริ่มต้นจาก "ดิจิทัลไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง" การทำการตลาดที่อิงกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลด้วยการนำฐานข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคผ่านระบบซีอาร์เอ็ม หรือการบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

โลกออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำฐานข้อมูลลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรากฏบนโลกออนไลน์มีมากกว่ามิติของพฤติกรรมการซื้อ ทำให้วิเคราะห์เพื่อนำเสนอสินค้า บริการ หรือจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น ตลอดจนสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์เพื่อสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ที่จะนำสู่การเป็นผู้แนะนำบอกต่อสินค้าไปยังผู้อื่นโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ที่คนนิยมหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก่อนตัดสินใจซื้อ


สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสร้างความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว ด้วยการสื่อสารให้เกิดอารมณ์ร่วมกับแบรนด์ด้วย "คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง" ที่เป็นการนำหรือสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคมานำเสนอในช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก หรือไลน์ที่มีการสร้างอารมณ์ร่วม ทั้งตลก ซึ้ง หรือให้กำลังใจ จนเกิดการแชร์หรือส่งต่อกันในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยที่เจ้าของสินค้าไม่ต้องเป็นผู้ผลักดันเอง ยกตัวอย่าง การแชร์คลิปไวรัลช่วงวันแม่





_____________________________________________________




เทรนด์ตลาดยุค "ดิจิทัล" แปลง "แบรนดิ้ง" ให้เป็นยอดขาย



บรรดาสินค้าต่างเตรียมออกสตาร์ตปี 2559 อย่างเต็มที่ โดยยังมี "ออนไลน์" เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำการตลาดเชิงรุก เพื่อสร้างยอดขายให้เติบโตเพิ่มขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาที่ต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่มีปัญหามาตลอดทั้งปี

"ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์จำกัด ที่ปรึกษาและนักกลยุทธ์การตลาดฉายภาพว่า วิถีชีวิตยุคดิจิทัลยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งจากความนิยมใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนรุ่นใหม่ ตลอดจนนวัตกรรมอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ที่ไม่ได้จำกัดตัวแค่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนำไปสู่โลก "อินเทอร์เน็ต ออฟ ทิงส์" (Internet of Things) หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสาร เข้าถึงข้อมูลและบริการได้ทุกที่ทุกเวลา

นี่คือช่องทางสำคัญที่จะเป็นโอกาสให้แบรนด์ต่าง ๆ ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น บนค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าช่องทางอื่น และวัดผลการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนกว่า

"ออนไลน์" จึงกลายเป็นช่องทางที่ทรงพลัง และครอบคลุมทุกเครื่องมือการตลาดสำคัญของปี 2559

เริ่มต้นจาก "ดิจิทัลไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง" การทำการตลาดที่อิงกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลด้วยการนำฐานข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคผ่านระบบซีอาร์เอ็ม หรือการบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

โลกออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำฐานข้อมูลลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรากฏบนโลกออนไลน์มีมากกว่ามิติของพฤติกรรมการซื้อ ทำให้วิเคราะห์เพื่อนำเสนอสินค้า บริการ หรือจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น ตลอดจนสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์เพื่อสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ที่จะนำสู่การเป็นผู้แนะนำบอกต่อสินค้าไปยังผู้อื่นโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ที่คนนิยมหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก่อนตัดสินใจซื้อ

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสร้างความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว ด้วยการสื่อสารให้เกิดอารมณ์ร่วมกับแบรนด์ด้วย "คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง" ที่เป็นการนำหรือสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคมานำเสนอในช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก หรือไลน์ที่มีการสร้างอารมณ์ร่วม ทั้งตลก ซึ้ง หรือให้กำลังใจ จนเกิดการแชร์หรือส่งต่อกันในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยที่เจ้าของสินค้าไม่ต้องเป็นผู้ผลักดันเอง ยกตัวอย่าง การแชร์คลิปไวรัลช่วงวันแม่

นอกจากนี้ สำหรับกิจกรรมเพื่อสังคมหรือซีเอสอาร์ ก็ยังเป็นสิ่งต้องทำต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรง

แต่สิ่งที่ท้าทายไม่แพ้การแข่งขันในตลาดคือการทำให้แบรนดิ้งและความสัมพันธ์ที่มีกับผู้บริโภคกลายเป็นยอดขายที่จับต้องได้มากขึ้น การสื่อสารจึงต้องดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อในทันที ซึ่งช่องทางออนไลน์ก็มีระบบอีคอมเมิร์ซ การซื้อขายสินค้าบนออนไลน์มารองรับ

อีคอมเมิร์ซมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง ด้วยเรื่องของความสะดวกทั้งเรื่องการหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนซื้อ การประหยัดเวลาและราคาสินค้าที่ถูกกว่าช่องทางปกติ เพราะเจ้าของสินค้าไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องช่องทาง ซึ่งเจ้าของสินค้าเริ่มหันมาทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของตัวเองมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม แม้ออนไลน์จะเข้ามามีอิทธิพลสำหรับการทำการตลาดมากขึ้น แต่เทรนด์ของสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย การสื่อสารในสื่อหลักอย่างทีวี วิทยุ ก็ยังมีความสำคัญต่อการเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอำนาจการซื้อในมือไม่น้อย

การสื่อสารให้ครบทุกช่องทางจึงยังคงเป็นทิศทางสำคัญของการตลาดปี2559

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1451283972

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.