Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 ไทยเซิร์ต ได้ดำเนินการรับมือและจัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไปแล้วกว่า 4,300 กรณี แบ่งเป็นประเภทภัยคุกคามที่เกี่ยวกับโปรแกรมไม่พึงประสงค์ หรือ Malicious Code สูงสุด มีจำนวนกว่า 1,500 กรณี หรือกว่า 35 % ซึ่งถ้าเทียบในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยอยู่ใน Top 25 ในเรื่องนี้ จากการจัดอันดับของไมโครซอฟท์และแคสเปอร์สกี้

ประเด็นหลัก




โดยในปี 2558 ไทยเซิร์ต ได้ดำเนินการรับมือและจัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไปแล้วกว่า 4,300 กรณี แบ่งเป็นประเภทภัยคุกคามที่เกี่ยวกับโปรแกรมไม่พึงประสงค์ หรือ Malicious Code สูงสุด มีจำนวนกว่า 1,500 กรณี หรือกว่า 35 % ซึ่งถ้าเทียบในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยอยู่ใน Top 25 ในเรื่องนี้ จากการจัดอันดับของไมโครซอฟท์และแคสเปอร์สกี้


อีกทั้งยังพบว่า มีภัยจากการหลอกลวง หรือ Fraud จำนวน 1,100 กรณี หรือ 26 % และการบุกรุกเจาะระบบได้สำเร็จ หรือ Intrusion จำนวน 1,000 กรณี หรือ 23 %ตามลำดับ ซึ่งการบุกรุกเจาะระบบมักจะเป็นการโจมตีเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ หรือ Web Defacement และหากเปรียบเทียบสถิติในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งเพิ่มขึ้นกว่า 150 % ที่สำคัญ สถิติของภัยคุกคามประเภท Web Attack ของหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาในประเทศไทยมีสัดส่วนสูงถึง 81.56 % เมื่อเทียบกับหน่วยงานทั้งหมด หากพิจารณาสถานการณ์ในต่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐหลายประเทศก็ถูกโจมตีลักษณะนี้เช่นกัน



__________________________________________





ภาครัฐรับมือโจมตีทางไซเบอร์ ‘เอ็ตด้า’ เล็งปีนี้ติดอุปกรณ์เฝ้าระวังให้ 240 เว็บไซต์


ภาครัฐรับมือโจมตีทางไซเบอร์ ‘เอ็ตด้า’ เล็งปีนี้ติดอุปกรณ์เฝ้าระวังให้ 240 เว็บไซต์

“ไอซีที” เร่งสร้างกลไกรับมือภัยไซเบอร์ภาครัฐ ระบุปี 58 ไทยเซิร์ต จัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไปแล้วกว่า 4,300 กรณี เอ็ตด้า เร่งเสริมอุปกรณ์เฝ้าระวังเล็งติดตั้งเพิ่มอีก 80 หน่วยงาน ครอบคลุม 240 เว็บไซต์ภายในปีนี้

ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดร. อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่าปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ขยายขอบเขตและสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจและสังคมรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากจุดอ่อนของเว็บไซต์ที่ขาดการดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประกอบกับบุคลากรที่มีอยู่อาจขาดความตระหนัก หรือไม่เพียงพอในการดูแลและรับมือ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยกระดับการดูแลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานอย่างเข้มข้น เร่งด่วน และจริงจัง เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่สามารถรับมือภัยคุกคามทันกาล เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร

“ด้วยเหตุนี้ กระทรวงไอซีทีจึงได้เร่งสร้างกลไกการรับมือและขยายการรับรู้ด้านการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานรัฐ ผ่าน ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือ ไทยเซิร์ต (ThaiCERT) ให้เข้ามามีบทบาทผลักดัน และเสริมศักยภาพด้านการป้องกันทางไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่”

โดยในปี 2558 ไทยเซิร์ต ได้ดำเนินการรับมือและจัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไปแล้วกว่า 4,300 กรณี แบ่งเป็นประเภทภัยคุกคามที่เกี่ยวกับโปรแกรมไม่พึงประสงค์ หรือ Malicious Code สูงสุด มีจำนวนกว่า 1,500 กรณี หรือกว่า 35 % ซึ่งถ้าเทียบในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยอยู่ใน Top 25 ในเรื่องนี้ จากการจัดอันดับของไมโครซอฟท์และแคสเปอร์สกี้


อีกทั้งยังพบว่า มีภัยจากการหลอกลวง หรือ Fraud จำนวน 1,100 กรณี หรือ 26 % และการบุกรุกเจาะระบบได้สำเร็จ หรือ Intrusion จำนวน 1,000 กรณี หรือ 23 %ตามลำดับ ซึ่งการบุกรุกเจาะระบบมักจะเป็นการโจมตีเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ หรือ Web Defacement และหากเปรียบเทียบสถิติในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งเพิ่มขึ้นกว่า 150 % ที่สำคัญ สถิติของภัยคุกคามประเภท Web Attack ของหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาในประเทศไทยมีสัดส่วนสูงถึง 81.56 % เมื่อเทียบกับหน่วยงานทั้งหมด หากพิจารณาสถานการณ์ในต่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐหลายประเทศก็ถูกโจมตีลักษณะนี้เช่นกัน

ด้านนางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า (ETDA) กล่าวว่าปีนี้ สพธอ.จะขยายการดำเนินงานโครงการ ThaiCERT Government Monitoring System (ThaiCERT GMS) เพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศและหน่วยงานที่มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยให้ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ

โดย ThaiCERT GMS ประกอบด้วยโครงการหลัก 2 ส่วนภายใต้การดำเนินงาน ได้แก่ 1) โครงการ Government Threat Monitoring System (GTM) เพื่อช่วยวิเคราะห์รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน และโครงการ Government Website Protection System (GWP) เพื่อป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ของหน่วยงาน ซึ่งในปี 2559 จะดำเนินงานติดตั้งอุปกรณ์ด้านการเฝ้าระวังให้กับ 80 หน่วยงาน 240 เว็บไซต์ และจะเร่งขยายการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมศักยภาพของการเฝ้าระวัง ตลอดจนการป้องกันการโจมตีให้ครอบคลุมหน่วยงานในระดับกรมต่อไป โดยก่อนหน้านี้ สพธอ. ได้ดำเนินโครงการนำร่องในการติดตั้งอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานภาครัฐจำนวน 40 แห่งไปแล้วในปีที่ผ่านมา”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,132 วันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/02/18/31802

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.