Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 DTAC ชี้ กรณีคลื่น 900 ราคาเริ่มต้นการประมูลควรจะต้องต่ำกว่าราคาที่เคยประมูลได้ไป เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว การเปิดประมูลใหม่ก็ควรใหม่จริง ต้องปรับเงื่อนไขกันใหม่

ประเด็นหลัก



ส่วนนายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค กล่าวว่า ดีแทคกำลังติดตามแนวโน้มการนำคลื่นออกมาประมูลใหม่อย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่ามีความสนใจที่จะเข้าร่วมหาก กสทช.จะเปิดประมูลใหม่จริงๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่โปร่งใส และราคาเริ่มต้นการประมูลควรจะต้องต่ำกว่าราคาที่เคยประมูลได้ไป เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว การเปิดประมูลใหม่ก็ควรใหม่จริง ต้องปรับเงื่อนไขกันใหม่ ส่วนกรณีที่เกรงว่าจะไม่เป็นธรรมกับผู้ชนะการประมูลอีกราย ที่เตรียมพร้อมจะไปชำระเงินค่าประมูลแต่อาจต้องจ่ายค่าประมูลสูงลิ่วเพียงรายเดียวนั้น นายลาร์สเปิดเผยว่า เป็นสิ่งซึ่งเข้าใจได้ และ กสทช.ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้ด้วย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำหรับการชำระเงินค่าประมูล 4 จีนั้น ขณะนี้ยืนยันว่าผู้ชนะประมูลมาชำระเงินแน่นอน และยังเหลือเวลาอีกหลายวันกว่าจะถึงวันที่ 21 มี.ค.59 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต้องมาชำระแน่นอนทั้งทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล และแจส โมบาย บรอดแบนด์ เพราะถ้าไม่มั่นใจก็ไม่มาประมูล อีกทั้งหากไม่ชำระค่าประมูล ก็จะมีผลกระทบต่อการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการอื่นๆ ด้วย ทั้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เพราะจะขาดคุณสมบัติทันที และสามารถตรวจสอบได้กรณีมีการถือหุ้นไขว้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกัน เช่น กรณีของไทยทีวี ต้องการยกเลิกทีวีดิจิตอล แต่จะหันไปประกอบการทีวีดาวเทียมแทน ก็ทำไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติ ซึ่งเขียนไว้ในประกาศและเงื่อนไขการประมูลชัดเจน ฉะนั้นจึงมั่นใจว่าผู้ชนะประมูลมาชำระแน่นอน.






__________________________________________





'แจส โมบาย' ไม่คืบแบงก์แจงรอแผนธุรกิจ คู่แข่งจ้องประมูล 4 จีใหม่

“ทรู” เหวี่ยงแหขอสินเชื่อออมสินทำ 4 จี ขณะที่ “แจสโมบาย” ยังไม่คืบหน้า แบงก์กรุงเทพแจงยังไม่ส่งแผนธุรกิจมาจึงยังไม่ได้นำเข้าที่ประชุมบอร์ด ด้าน “เอไอเอส–ดีแทค” ประสาน เสียง จ้องประมูล 4 จีคลื่น 900 ใหม่หากการนำคลื่นออกประมูลใหม่อีกครั้ง แต่ที่ราคา 75,000 ล้านบาทแพงไป เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ได้ยื่นขอใช้สินเชื่อ และออกหนังสือค้ำประกัน วงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าใบอนุญาต 4G จากการที่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างขอรายละเอียดต่างๆ รวมถึงแผนงานของบริษัททรูเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการพิจารณา ส่วนกรณีของบริษัทแจสโมบายยังไม่มีการยื่นเรื่องขอหนังสือค้ำประกัน หรือวงเงินสินเชื่อ เพื่อนำไปทำ 4 จี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทแจส โมบาย ยังไม่ได้ยื่นธุรกิจฉบับใหม่ในการทำธุรกิจ 4 จี ตามที่ธนาคารกรุงเทพเสนอขอไป จึงยังไม่มีการเสนอเรื่องการขอหนังสือค้ำประกันเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร หากแผนการทำธุรกิจไม่มีความชัดเจน ธนาคารก็ไม่สามารถออกหนังสือค้ำประกันให้ได้ เนื่องจากมีวงเงินสูงถึง 70,000 ล้านบาท

ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส เปิดเผยว่า หากที่สุดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จะนำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ออกมาเปิดประมูลเพื่อให้บริการ 4 จีอีกรอบ เอไอเอสก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล แต่ราคาต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม ซึ่งราคาเบื้องต้นที่ กสทช.กำหนดว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่เคยประมูลได้ที่ 75,000 ล้านบาทนั้น ถือว่าไม่สอดคล้องกับการแข่งขัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป “เอไอเอสหยุดเคาะไปที่ราคาสุดท้ายที่ 75,000 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เราคิดมูลค่าคลื่นรวมฐานลูกค้า 2 จี 12 ล้านเลขหมายที่มีอยู่บนคลื่น 900 เดิม ซึ่งเอไอเอสเคยให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นราคาที่ให้มูลค่าสูงสุดไปแล้ว ตลอดเวลา 2 เดือนหลังการประมูล สภาพแวดล้อมทุกอย่างเปลี่ยนไปมาก เอไอเอสเดินหน้าทำธุรกิจต่อ โดยที่ไม่มีคลื่น 900 ตรงนี้ทำให้มูลค่าคลื่นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่มูลค่าเดิมแล้ว”

ส่วนนายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค กล่าวว่า ดีแทคกำลังติดตามแนวโน้มการนำคลื่นออกมาประมูลใหม่อย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่ามีความสนใจที่จะเข้าร่วมหาก กสทช.จะเปิดประมูลใหม่จริงๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่โปร่งใส และราคาเริ่มต้นการประมูลควรจะต้องต่ำกว่าราคาที่เคยประมูลได้ไป เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว การเปิดประมูลใหม่ก็ควรใหม่จริง ต้องปรับเงื่อนไขกันใหม่ ส่วนกรณีที่เกรงว่าจะไม่เป็นธรรมกับผู้ชนะการประมูลอีกราย ที่เตรียมพร้อมจะไปชำระเงินค่าประมูลแต่อาจต้องจ่ายค่าประมูลสูงลิ่วเพียงรายเดียวนั้น นายลาร์สเปิดเผยว่า เป็นสิ่งซึ่งเข้าใจได้ และ กสทช.ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้ด้วย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำหรับการชำระเงินค่าประมูล 4 จีนั้น ขณะนี้ยืนยันว่าผู้ชนะประมูลมาชำระเงินแน่นอน และยังเหลือเวลาอีกหลายวันกว่าจะถึงวันที่ 21 มี.ค.59 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต้องมาชำระแน่นอนทั้งทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล และแจส โมบาย บรอดแบนด์ เพราะถ้าไม่มั่นใจก็ไม่มาประมูล อีกทั้งหากไม่ชำระค่าประมูล ก็จะมีผลกระทบต่อการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการอื่นๆ ด้วย ทั้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เพราะจะขาดคุณสมบัติทันที และสามารถตรวจสอบได้กรณีมีการถือหุ้นไขว้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกัน เช่น กรณีของไทยทีวี ต้องการยกเลิกทีวีดิจิตอล แต่จะหันไปประกอบการทีวีดาวเทียมแทน ก็ทำไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติ ซึ่งเขียนไว้ในประกาศและเงื่อนไขการประมูลชัดเจน ฉะนั้นจึงมั่นใจว่าผู้ชนะประมูลมาชำระแน่นอน.

http://www.thairath.co.th/content/575785

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.