Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์กล่าวยอมรับว่า ธนาคารกรุงเทพยังไม่มีการตัดสินใจอวงเงินที่ JAS ต้องการ มากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท เสี่ยงเจ๊ง // กสทช. เตรียมนำราคาขั้นต้น 75,000 ล้านบาท ประมูลใหม่

ประเด็นหลัก

***แบงก์เกี่ยงเหตุหลักประกัน JAS ต่ำเกิน
แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์กล่าวยอมรับว่า ธนาคารกรุงเทพหรือธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นยังไม่มีการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อตามวงเงินที่ JAS ต้องการ คือวงเงินมากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูง อย่างธนาคารกรุงเทพเมื่อรวมกับสินเชื่อรายใหญ่อื่นทำให้ติดเพดานที่แบงก์ชาติกำหนด จึงไม่สามารถปล่อยกู้ได้ 7.5 หมื่นล้านบาทเพียงแบงก์เดียว จำเป็นต้องให้แบงก์พาณิชย์อื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้หรือซินดิเคทโลน ที่สำคัญมูลค่าของ JAS ในขณะนี้ยังไม่ครอบคลุมเงินกู้
'JAS ต้องหาหลักประกันมาเพิ่ม เพราะเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ กำหนดหลักประกันขั้นต่ำอยู่ที่ 80% และถ้าให้ดี JAS ก็ต้องไปคิดแผนธุรกิจมาใหม่ด้วย'
ณ สิ้นปี 2558 ฐานะการเงินของ JAS โดยรวมไม่มีปัญหา ยิ่งมองไปที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ ดีอีเรโช อยู่ที่ 0.15 เท่า ถือว่าต่ำมากและมีความสามารถกู้ได้ แต่ถ้ามองไปที่หลักประกันหลังจากขายสินทรัพย์ 3BBของบริษัทลูกแล้ว JAS ยังมีมูลค่าไม่เพียงพอในการขอกู้ตามวงเงินดังกล่าว




พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่ากรณีที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzในช่วงความถี่ที่ 1 (895 - 905 MHz/940 - 950 MHz) ที่ราคา 75,654 ล้านบาท กับ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชัน จำกัด (ทียูซี) ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzในช่วงความถี่ที่ 2 (905 - 915 MHz/950 - 960 MHz) ที่ราคา76,298 ล้านบาท จะต้องมาชำระเงินค่าประมูลงวดแรก 8,040 ล้านบาทพร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันทางการเงิน เพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือ (แบงก์การันตี) ภายใน 90 วันหลังจากได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูลหรือภายในวันที่ 21 มี.ค.2559 นั้นเนื่องจากการประมูล 4G เป็นประโยชน์ของรัฐไปแล้ว ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งหากผู้ที่ชนะการประมูลไม่สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระได้จะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และจะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขการประมูล
ทั้งนี้ การประมูล 4G ความถี่ 900 MHz เป็นที่คาดหวังของคนไทยมากเมื่อได้รับทราบผลประมูล หากผู้ชนะการประมูลไม่มาชำระค่าประมูลจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายทุกช่องทางทั้งด้านสังคมและทางธุรกิจ รวมทั้งบริษัทที่ชนะการประมูลจะเกิดความเสียหายหนักในทุกด้าน ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมภายใต้ กสทช.ประเภทอื่นๆ ตามมาเช่นกัน
ส่วนแนวทางของ กสทช.หลังจากนี้ หากผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินดังกล่าว ก็จะต้องทำการเปิดประมูลใหม่โดยจะนำราคาของผู้ชนะการประมูลครั้งล่าสุดมาเป็นราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 75,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกันในกรรมการกทค. ขณะเดียวกันหากเริ่มราคาการประมูลที่ราคาต่ำกว่า 75,000 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาชำระจะต้องรับผิดชอบชำระส่วนต่างที่หายไปด้วย ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและเงื่อนไขการประมูลที่กำหนดไว้




__________________________________________





แจสกระอัก BBLเกี่ยงปล่อยกู้ ไม่จ่ายคลื่น900เสี่ยงเจ๊ง
strong>ผู้จัดการรายวัน 360 - แจสยังตัน แบงก์กรุงเทพเกี่ยงหลักประกันต่ำเกิน ไม่สามารถอนุมัติวงเงินกู้ได้ตามที่ต้องการ จำเป็นต้องให้แบงก์พาณิชย์อื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้ ยันต้องคิดแผนธุรกิจใหม่ ด้าน 'เศรษฐพงค์' ชี้กสทช.พร้อมประมูลคลื่น 900 ใหม่ แต่รายที่เบี้ยวไม่จ่ายค่าประมูลเจอมาตรการด้านกฎหมายเข้มข้น
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่ากรณีที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzในช่วงความถี่ที่ 1 (895 - 905 MHz/940 - 950 MHz) ที่ราคา 75,654 ล้านบาท กับ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชัน จำกัด (ทียูซี) ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzในช่วงความถี่ที่ 2 (905 - 915 MHz/950 - 960 MHz) ที่ราคา76,298 ล้านบาท จะต้องมาชำระเงินค่าประมูลงวดแรก 8,040 ล้านบาทพร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันทางการเงิน เพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือ (แบงก์การันตี) ภายใน 90 วันหลังจากได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูลหรือภายในวันที่ 21 มี.ค.2559 นั้นเนื่องจากการประมูล 4G เป็นประโยชน์ของรัฐไปแล้ว ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งหากผู้ที่ชนะการประมูลไม่สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระได้จะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และจะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขการประมูล
ทั้งนี้ การประมูล 4G ความถี่ 900 MHz เป็นที่คาดหวังของคนไทยมากเมื่อได้รับทราบผลประมูล หากผู้ชนะการประมูลไม่มาชำระค่าประมูลจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายทุกช่องทางทั้งด้านสังคมและทางธุรกิจ รวมทั้งบริษัทที่ชนะการประมูลจะเกิดความเสียหายหนักในทุกด้าน ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมภายใต้ กสทช.ประเภทอื่นๆ ตามมาเช่นกัน
ส่วนแนวทางของ กสทช.หลังจากนี้ หากผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินดังกล่าว ก็จะต้องทำการเปิดประมูลใหม่โดยจะนำราคาของผู้ชนะการประมูลครั้งล่าสุดมาเป็นราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 75,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกันในกรรมการกทค. ขณะเดียวกันหากเริ่มราคาการประมูลที่ราคาต่ำกว่า 75,000 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาชำระจะต้องรับผิดชอบชำระส่วนต่างที่หายไปด้วย ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและเงื่อนไขการประมูลที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ตามกฏหมายแล้วการตั้งราคาและเงื่อนไขการประมูล คุ้มครองให้ กสทช. มีอำนาจในการตั้งราคา ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดเห็นว่าไม่ยุติธรรมสำหรับราคาเริ่มต้นการประมูลที่จะเกิดขึ้นนั้น ก็สามารถฟ้องตัวกฎหมายได้ แต่ไม่สามารถฟ้องร้องบุคคลได้ เนื่องจาก กสทช.ไม่ได้มีอำนาจในการบังคับผู้เข้าร่วมประมูลให้เข้าร่วมประมูล ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลในแต่ละครั้ง ก็เป็นการประมูลครั้งนั้นไม่ขึ้นอยู่กับการประมูลครั้งอื่น ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดคิดว่าเสียสิทธิที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ด้านนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช.อยู่ระหว่างจัดทำร่างเพื่อให้ กทค.ลงมติเห็นชอบเพื่อจัดทำราคาเริ่มต้นการประมูล 4G ที่ 75,000 ล้านบาท ซึ่งกรรมการแต่ละคนยังไม่ได้มีมติ แต่โดยส่วนตัวได้เสนอความเห็นในเรื่องราคาเริ่มต้นการประมูลโดยคิดจากราคา ความต้องการของตลาด ซึ่งจะมาจากความต้องการของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทั้ง 4 รายที่ได้หยุดเคาะราคาที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยหากนำราคาที่ แจส มาเป็นราคาเริ่มต้นการประมูลจะมีความสุ่มเสี่ยงมาก เพราะอาจเป็นราคาที่สูงจนทำให้โอเปอเรเตอร์ไม่มีความต้องการคลื่น 900 MHz ได้
สำหรับผลกระทบหากไม่มีการชำระค่าประมูล 4G นั้น จะส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งหาก กสทช.จะต้องจัดการประมูลใหม่ แต่ทำให้การประมูลใหม่นั้นได้มูลค่าคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าการประมูลในครั้งแรก สิ่งที่ กสทช.จะต้องดำเนินการคือ การฟ้องร้องต่อผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาจ่ายค่าประมูลเพื่อชำระส่วนต่างที่รัฐสูญเสียไป รวมไปถึงค่าจัดการประมูลเช่นกัน
นอกจากนี้หากจะต้องมีการจัดการประมูล และเกิดความล่าช้า จะยิ่งทำให้มูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกไป ขณะที่การนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ไปเปิดประมูลในปีเดียวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 2600 MHz ยิ่งจะส่งผลให้ราคาคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกลงอย่างแน่นอน
'เราต้องทำการประมูลให้เร็วขึ้น ซึ่งหากทำการประมูลล่าช้าจะทำให้เราไม่สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายทางการประมูลได้ และทำให้ราคาคลื่น 900 MHz ยิ่งราคาตกไป เพราะความต้องการทางการตลาดมีคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ ที่ กสทช.จะเปิดประมูลทำให้มีคลื่นความถี่ให้เลือกมากกว่า'
***แบงก์เกี่ยงเหตุหลักประกัน JAS ต่ำเกิน
แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์กล่าวยอมรับว่า ธนาคารกรุงเทพหรือธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นยังไม่มีการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อตามวงเงินที่ JAS ต้องการ คือวงเงินมากกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูง อย่างธนาคารกรุงเทพเมื่อรวมกับสินเชื่อรายใหญ่อื่นทำให้ติดเพดานที่แบงก์ชาติกำหนด จึงไม่สามารถปล่อยกู้ได้ 7.5 หมื่นล้านบาทเพียงแบงก์เดียว จำเป็นต้องให้แบงก์พาณิชย์อื่นเข้ามาร่วมปล่อยกู้หรือซินดิเคทโลน ที่สำคัญมูลค่าของ JAS ในขณะนี้ยังไม่ครอบคลุมเงินกู้
'JAS ต้องหาหลักประกันมาเพิ่ม เพราะเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ กำหนดหลักประกันขั้นต่ำอยู่ที่ 80% และถ้าให้ดี JAS ก็ต้องไปคิดแผนธุรกิจมาใหม่ด้วย'
ณ สิ้นปี 2558 ฐานะการเงินของ JAS โดยรวมไม่มีปัญหา ยิ่งมองไปที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ ดีอีเรโช อยู่ที่ 0.15 เท่า ถือว่าต่ำมากและมีความสามารถกู้ได้ แต่ถ้ามองไปที่หลักประกันหลังจากขายสินทรัพย์ 3BBของบริษัทลูกแล้ว JAS ยังมีมูลค่าไม่เพียงพอในการขอกู้ตามวงเงินดังกล่าว
*** ชี้ทางสว่างแจส
พ.อ.เศรษฐพงค์ ได้ให้ความคิดเห็นกรณีผู้เล่นรายใหม่อยากเข้าตลาด 4G ว่า กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ในยุค 4G นั้นแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง โดยในอดีตเป็นการให้บริการด้วยเสียงและ ดาต้า ด้วยกลยุทธ์สงครามราคา ซึ่งปัจจุบันตลาดมีการแข่งขันของผู้เล่นทั้ง 3รายเดิมอย่างเข้มข้น กลยุทธ์ที่จะเข้าสู่ตลาดสำหรับผู้เล่นรายใหม่ที่จะเป็นรายที่ 4นั้นอาจจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพตลาดให้ดี กลยุทธ์การใช้สงครามราคาเพียงอย่างเดียวเหมือนกับผู้เล่นรายที่ 3ที่ใช้ แล้วประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดได้เหมือนในอดีตอาจทำไม่ได้แล้วด้วยสภาพปัจจุบัน
สภาพตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาไปอย่างมาก จำนวนการเข้าถึงการใช้งานของประชาชนมีมากเกิน100% กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าจำนวนการเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่มีมากกว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยแล้ว ประชาชนใช้สื่อโซเชียลหรือใช้บริการจากผู้ให้บริการ OTT (Over-The-Top) เป็นอย่างมาก เช่น เฟซบุ๊ก, ยูทิวบ์,ไลน์ จนประเทศไทยได้รับการบันทึกว่ามีผู้ใช้บริการไลน์มากเป็นอันดับ 2ของโลก มีประชากรเฟซบุ๊กมากเป็นอันดับ 3ของโลก มีการเข้าดูยูทิวบ์มากเป็นอันดับ 2ของเอเชีย
ด้วยสภาพข้อเท็จจริงเหล่านี้การเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายที่ 4จึงต้องมีการใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างมากกว่ากลยุทธ์สงครามราคา เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น การเข้าสู่ตลาดและสร้าง Digital Disruption ในตลาดโทรคมนาคมด้วยสิ่งใหม่ๆ ทั้งในเรื่องบริการคลาวด์ , การนำข้อมูลในโครข่ายมาสร้างงานวิเคราะห์ บิ๊กดาต้า เพื่อสร้างประโยชน์ในทุกอุตสาหกรรม, การสร้างบริการในด้านอื่นเช่นบริการธนาคาร, บริการประกันภัย, บริการ SME, บริการด้านสุขภาพ บนเครือข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัยของตนเองเพื่ออำนวยความสะดวกและมีต้นทุนต่ำให้แก่ประชาชน
ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณความถี่ในมือเพื่อสร้างการให้บริการ 4G LTE แต่ก็สามารถเติมเต็มลดช่องว่างกับรายเดิมได้โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ เช่น LTE-Uหรือแนวทางการพัฒนา LTE บนคลื่นความถี่ Unlicensed Band ได้ทั้งไม่ว่าจะเป็นการทำ LAA - Licensed Assisted Access (การนำเอาความถี่ Licensed และ Unlicensed มารวมกันให้บริกการ 4G LTE) หรือการทำ LWA-LTE WiFi Link Aggregation เป็นการนำความเร็วของทั้งโครงข่าย LTE และ WiFi มารวมกันเพื่อเพิ่มความเร็วในการให้บริการกับลูกค้า รวมทั้งการพิจารณา muLTEFire การสร้างกลยุทธ์ในการลงโครงข่าย LTE ให้ง่ายเหมือนการสร้าง WiFi Hotspot อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเหล่านี้อาจเป็นเรื่องใหม่ แต่การนำเอามาวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการในอนาคตก็จะสามารถลดช่องว่างความเสียเปรียบด้านคลื่นความถี่ได้
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการวางแผนดำเนินกลยุทธ์ของรายที่ 4เพื่อเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันดุเดือดเข้มข้นของผู้ให้บริการ 3รายเดิม คือ จะต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะดำเนินการได้และก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนที่เป็นผู้บริโภค ที่ผู้ให้บริการ 3รายเดิมไม่เคยทำได้มาก่อนหรือถ้ามีการให้บริการเดิมแล้วยังมีข้อจำกัดอยู่


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000014555&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+10-2-59&utm_campaign=20160209_m129719119_MGR+Morning+Brief+10-2-59&utm_term=_E0_B9_81_E0_B8_88_E0_B8_AA_E0_B8_81_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_AD_E0_B8_B1_E0_B8_81+BBL_E0_B9_80_E0_B8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.