Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 นางวราภรณ์ ใช้เทียมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เล่าว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ขายของหลายคนเริ่มขยับขยายธุรกิจของตัวเองจากหน้าร้านเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น โดยเริ่มจากเงินปลายทาง

ประเด็นหลัก




ดูประวัติการจัดส่งสินค้าย้อนหลังไว้ด้วย “ดี-แพ็กเกจ นอกจากผู้ประกอบการไม่ต้องไปส่งของที่ทำการไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย” อีกทั้งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่สามารถชำระเงินเมื่อเจ้าหน้าที่นำของไปส่งถึงมือแล้ว อีกทั้ง ยังลดขั้นตอนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วด้วย ทั้งนี้ บริการ ดี-แพ็กเกจ สามารถส่งสินค้าได้ไม่เกิน 20 กก./กล่อง คิดค่าบริการตามน้ำหนักและปริมาณงานตามที่ทำข้อตกลงกับปณท บวกกับอัตราค่าบริการเก็บเงิน ณ ที่อยู่ผู้รับ 40 บาท/ชิ้น ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าบริการได้ทั้งเงินสดหรือเช็คเงินสด หรือการชำระเป็นเงินเชื่อ (รายเดือน) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งระยะเวลาในการส่งหากปลายทางเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะใช้เวลาภายใน 1-3 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง ส่วนปลายทางภูมิภาคอื่น ๆ จะใช้เวลา 3-5 วันทำการ การเก็บเงินปลายทางถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะคนส่วนมากก็ยังอยากเห็นของก่อนจ่ายเงินเสมอ. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com“





__________________________________________





‘ดี-แพ็กเกจ’ ส่งถึงมือเก็บเงินปลายทาง | เดลินิวส์


„‘ดี-แพ็กเกจ’ ส่งถึงมือเก็บเงินปลายทาง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ขายของหลายคนเริ่มขยับขยายธุรกิจของตัวเองจากหน้าร้านเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 5:15 น. ในยุคดิจิตอล อะไร ๆ ก็สะดวกสบายยิ่งขึ้น แม้แต่การสั่งของ จ่ายเงิน และรอรับของ นางวราภรณ์ ใช้เทียมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เล่าว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ขายของหลายคนเริ่มขยับขยายธุรกิจของตัวเองจากหน้าร้านเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น เจ้าของธุรกิจในยุคดิจิตอลจำนวนมากมีหน้าร้านเฉพาะออนไลน์เท่านั้น ทำให้ความนิยมในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ในทุกประเภทสินค้า อาทิ เสื้อผ้าแฟชั่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนส่งของ ปณท โดยเฉพาะบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเช่นกัน เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปณท จึงเปิดบริการ ดี-แพ็กเกจ (D-Packet) บริการรับ-ส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่มีความประสงค์ให้ไปรษณีย์ไทย ส่งสินค้าและเก็บเงินกับผู้รับปลายทาง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเตรียมการฝากส่ง ณ สำนักงานหรือที่อยู่ของตนเองผ่านระบบไปรษณีย์ไทย ซึ่งระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลรายการสินค้าให้ผู้ประกอบการเตรียมการฝากส่งสินค้าล่วงหน้าได้ นางวราภรณ์ เล่าว่า ปณท จะส่งสินค้าและเก็บเงินปลายทาง หรือส่งสินค้าให้ลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยผู้ประกอบการจะต้องฝากส่งล่วงหน้าที่สำนักงานหรือที่อยู่ของตนเองผ่านระบบของ ปณท ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลรายการสินค้าให้สามารถเตรียมการฝากสินค้าส่งล่วงหน้าได้ พร้อมบริการนัดหมายวันและเวลากับผู้รับปลายทางก่อนการนำจ่ายทุกครั้ง อีกทั้งยังสามารถติดตามตรวจสอบสถานะสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านระบบ Track&Trace ได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมการฝากส่ง ขนส่ง ส่งมอบสินค้า และสามารถเรียกดูประวัติการจัดส่งสินค้าย้อนหลังไว้ด้วย “ดี-แพ็กเกจ นอกจากผู้ประกอบการไม่ต้องไปส่งของที่ทำการไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย” อีกทั้งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่สามารถชำระเงินเมื่อเจ้าหน้าที่นำของไปส่งถึงมือแล้ว อีกทั้ง ยังลดขั้นตอนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วด้วย ทั้งนี้ บริการ ดี-แพ็กเกจ สามารถส่งสินค้าได้ไม่เกิน 20 กก./กล่อง คิดค่าบริการตามน้ำหนักและปริมาณงานตามที่ทำข้อตกลงกับปณท บวกกับอัตราค่าบริการเก็บเงิน ณ ที่อยู่ผู้รับ 40 บาท/ชิ้น ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าบริการได้ทั้งเงินสดหรือเช็คเงินสด หรือการชำระเป็นเงินเชื่อ (รายเดือน) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งระยะเวลาในการส่งหากปลายทางเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะใช้เวลาภายใน 1-3 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่ง ส่วนปลายทางภูมิภาคอื่น ๆ จะใช้เวลา 3-5 วันทำการ การเก็บเงินปลายทางถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะคนส่วนมากก็ยังอยากเห็นของก่อนจ่ายเงินเสมอ. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/380040



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.