Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 มายด์แชร์ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นด้วยว่า ยูนิลีเวอร์ พบว่า ใช้งบฯผ่านสื่อเก่าลดลง 14% จากปี 2557 และถือว่าลดลงมากที่สุดในรอบ 20 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปี 2558 ยูนิลีเวอร์ย้ายงบฯไปสื่อดิจิทัลเพิ่มเป็น 25%

ประเด็นหลัก

บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นด้วยว่า หากพิจารณาแนวโน้มการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อของบริษัทที่ใช้งบฯสูงสุดในปี 2558 คือ ยูนิลีเวอร์ พบว่า ใช้งบฯผ่านสื่อเก่าลดลง 14% จากปี 2557 และถือว่าลดลงมากที่สุดในรอบ 20 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปี 2558 ยูนิลีเวอร์ย้ายงบฯไปสื่อดิจิทัลเพิ่มเป็น 25% จากปี 2557 ที่มีสัดส่วน 15% ของงบฯรวม และปีนี้คาดว่ายูนิลีเวอร์ก็จะเพิ่งงบฯโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น

นางสาววรีสา นวีภาพ ผู้จัดการอาวุโสแบรนด์ นีเวีย ซัน กล่าวว่า ผู้บริโภคเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น และข้อมูลบนออนไลน์กลายเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้นีเวียต้องปรับตัวให้สอดรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านการรีวิวผลิตภัณฑ์ โซเชียลมีเดีย บล็อกเกอร์ และสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านเว็บไซต์ที่เจาะกลุ่มผู้หญิง พร้อมทั้งออกโฆษณาออนไลน์ต่อเนื่อง ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี สะท้อนจากจำนวนผู้ชม ขณะที่เป้าหมายระยะยาว คือ การสร้างแบรนด์นีเวียให้เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครัก



_________________________




4G ดันโฆษณาออนไลน์พุ่งพรวด "ยูนิลีเวอร์-นีเวีย-โลตัส" ทุ่มงบไม่อั้นเปิดเกมใหม่



อานิสงส์ 4G ดันโฆษณาออนไลน์พุ่งต่อเนื่อง "ยูนิลีเวอร์-นีเวีย-เทสโก้-โออิชิ" เปิดเกมใหม่ ทุ่มงบฯไม่ยั้ง ยิงตรงผู้บริโภครุ่นใหม่ ชี้ชัดช่วยดันยอดขายเพิ่มได้ ฟาก Y&R แนะนักการตลาดบาลานซ์การใช้สื่อหลักคู่สื่อออนไลน์ สร้างประสิทธิภาพการสื่อสาร

ชัดเจนอย่างยิ่งว่าการเปิดให้บริการ 4G อย่างเต็มรูปแบบของยักษ์ค่ายมือถือ กำลังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวงการตลาดและโฆษณา เมื่อผู้บริโภคสามารถรับชมวิดีโอผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆได้จากสมาร์ทโฟนและแท็บเลตโดยตรง เนื่องจาก 4G ทำให้โหลดวิดีโอได้รวดเร็วกว่าตอนที่ยังเป็น 3G ไม่จำเป็นว่าหนังโฆษณาจะเกิดขึ้นบนทีวีเท่านั้น

นอกจากนี้ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปัจจุบัน 40 ล้านคน คือ คิดเป็น 60% ของประชากร 67 ล้านคนทั่วประเทศ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ตลอดจนแอปแชตอย่างไลน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อบวกกับข้อดีสื่อออนไลน์ นอกจากต้นทุนไม่สูง สามารถยิงตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย ยังวัดผลในทางสถิติได้ง่าย ไม่แปลกที่สินค้าจะเพิ่มน้ำหนักให้แก่ช่องทางนี้



สื่อออนไลน์กระฉูด

นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันสินค้าเพิ่มน้ำหนักกับการสื่อสารผ่านออนไลน์มากขึ้น ส่วนหนึ่งจาก 4G ที่กำลังขยายตัว อีกทั้งช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีแบรนด์ที่สื่อสารผ่านออนไลน์แล้วประสบความสำเร็จ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการ และวัดผลได้ ขณะที่ต้นทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับการลงโฆษณาทีวีในช่วงไพรมไทม์

"สินค้าเริ่มปล่อยโฆษณาออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะยูนิลีเวอร์ ชัดเจนว่าให้น้ำหนักกับช่องทางนี้ เพราะยิงตรงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย วัดผลได้ ทั้งนี้ โฆษณาออนไลน์ที่ยิงตรงกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เทียบเท่ากับการยิงโฆษณาผ่านทีวี แต่ต้นทุนถูกกว่า เพราะผู้บริโภคยุคนี้เสพสื่อออนไลน์มากขึ้น ถือเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์"

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากจะใช้งบฯโฆษณาผ่านช่องทางนี้เพิ่มขึ้น ยังสร้างแคมเปญออนไลน์มาสร้างสีสันให้กับแบรนด์อีกด้วยอาทิ ซันซิล ของกลุ่มยูนิลีเวอร์ได้สร้างแคมเปญออนไลน์ ดึงคนให้ร่วมเล่นเกมออนไลน์ "สาว Pink ชิงดอกไม้" ลุ้นไอโฟน 6s, โดฟสร้างกิจกรรม รีวิว "โดฟ แฮร์ ฟอล เรสคิว" ตลอดจนกลุ่มเครื่องดื่ม อิชิตัน ที่จุดกระแสเพื่อดันยอดขายบนโซเชียลมีเดีย, เป๊ปซี่ ที่ดึงเทรนด์ฮิตบนออนไลน์ อย่าง "อีโมจิ" มาพัฒนาเป็น "เป๊ปซี่โมจิ" ต่อยอดในแคมเปญการตลาด

ก่อนหน้านี้ นางปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า แนวโน้มอุตฯโฆษณาปีนี้จะเติบโต 3-6% จากปีก่อน โดยสื่อดิจิทัลและทีวีดิจิทัลจะเป็น 2 กลุ่มหลักที่ผลักดันให้อุตฯเติบโต

"ยูนิลีเวอร์-นีเวีย" ทุ่มไม่อั้น

บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นด้วยว่า หากพิจารณาแนวโน้มการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อของบริษัทที่ใช้งบฯสูงสุดในปี 2558 คือ ยูนิลีเวอร์ พบว่า ใช้งบฯผ่านสื่อเก่าลดลง 14% จากปี 2557 และถือว่าลดลงมากที่สุดในรอบ 20 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปี 2558 ยูนิลีเวอร์ย้ายงบฯไปสื่อดิจิทัลเพิ่มเป็น 25% จากปี 2557 ที่มีสัดส่วน 15% ของงบฯรวม และปีนี้คาดว่ายูนิลีเวอร์ก็จะเพิ่งงบฯโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น

นางสาววรีสา นวีภาพ ผู้จัดการอาวุโสแบรนด์ นีเวีย ซัน กล่าวว่า ผู้บริโภคเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น และข้อมูลบนออนไลน์กลายเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้นีเวียต้องปรับตัวให้สอดรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านการรีวิวผลิตภัณฑ์ โซเชียลมีเดีย บล็อกเกอร์ และสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านเว็บไซต์ที่เจาะกลุ่มผู้หญิง พร้อมทั้งออกโฆษณาออนไลน์ต่อเนื่อง ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี สะท้อนจากจำนวนผู้ชม ขณะที่เป้าหมายระยะยาว คือ การสร้างแบรนด์นีเวียให้เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครัก

ชิงโอกาสขยายฐานคนรุ่นใหม่

นางเจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม "โออิชิ" กล่าวว่า ปีนี้มีแผนใช้งบฯการตลาดในช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยจะใช้งบฯกว่า 25% ของงบฯรวม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้ในสัดส่วน 15% เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ช่วงอายุ 15-19 ปี

"เราหันมาใช้งบฯในช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตามเทรนด์ของผู้บริโภคที่เข้าถึงสื่อออนไลน์กันมากขึ้น อาทิ การสื่อสารผ่านไลน์ หรือแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มความสะดวกในการทำกิจกรรมการตลาด ซึ่งออนไลน์เป็นช่องทางสื่อที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ช่องทางสื่ออื่น ๆ เห็นผลจากการที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้แบรนด์โออิชิในมิติต่าง ๆ มากขึ้น จึงเป็นอีกช่องทางที่โออิชิจะใช้เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง"

นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการ แผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า สื่อออนไลน์เป็นอีกช่องทางสื่อสารที่สำคัญและเพิ่มดีกรีขึ้น ขณะเดียวกันกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ของเทสโก้ ก็ให้ความสำคัญกับช่องทางนี้มากขึ้น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 2 ปีก่อน และเพิ่มงบฯมากขึ้นในปี 2558 เนื่องจากได้ผลตอบรับที่ดี ประกอบกับผู้บริโภคเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับการรับชมคอนเทนต์เชิงอีโมชั่นนอลของซีเอสอาร์

"ในแง่ของสิ่งที่เกิดขึ้นกับแบรนด์อาจจะยังไม่ชัดเจน ผู้บริโภคอาจจะยังไม่รักแบรนด์ทันที แต่ถ้าคุณภาพ ราคาสินค้า และบริการของเทสโก้ที่ดี ก็จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งให้ผู้บริโภคเลือกแบรนด์ในระยะยาว อีกทั้งเป็นการขยายแบรนด์สู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ จากเดิมที่เป็นแค่กลุ่มแม่บ้าน" นายชาคริตกล่าว

กระจายงบฯ...ยิงตรงกลุ่ม

นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและการเรียนรู้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ผลจากเทคโนโลยี 4G และแพ็กเกจราคาดาต้าของมือถือที่ถูกลง ทำให้เจ้าของคอนเทนต์ปรับตัวเองไปอยู่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น เช่น ช่องทีวี ธุรกิจบันเทิง สินค้า เป็นต้น ที่มีการสร้าง Official Account บนยูทูบ โซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารกับผู้บริโภค

"สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บางแบรนด์ไม่ได้ยิงโฆษณาผ่านทีวีแล้ว แต่ยิงโฆษณาเฉพาะเฟซบุ๊ก ยูทูบ พร้อมเทน้ำหนักงบฯโฆษณาให้แก่สื่อออนไลน์ จากเดิมที่ออนไลน์จะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดแบบครบวงจรเท่านั้น"

ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ยกตัวอย่าง เทสโก้ โลตัส ที่มีการแบ่งงบฯโฆษณาระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มงบฯโฆษณาขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากแคมเปญออนไลน์ล่าสุด คือ สะสมแสตมป์ ภายต้ชื่อโฆษณา "เป็ดเล่าเช้านี้" ที่ยิงตรงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

แนะต้องโยง "ออนไลน์-ทีวี"

นายโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ รองประธานและผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ บริษัท ยังก์แอนด์รูบิแคม แบรนด์ จำกัด หรือวายแอนด์อาร์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้ผู้บริโภคจะเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นและแบรนด์สินค้าเพิ่มความสำคัญกับช่องทางนี้ แต่นักการตลาดยังอยู่ในช่วงเรียนรู้วิธีเข้าหาผู้บริโภค เช่นเดียวกับผู้บริโภคที่กำลังเรียนรู้สื่อเช่นกัน สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือ

"บอกผู้บริโภคตรง ๆ ว่า ใช้สินค้านี้แล้ว ผู้บริโภคมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร"

ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างโฆษณาทีวีกับออนไลน์ต่างกัน สำหรับสื่อออนไลน์ผู้บริโภคเลือกดูหรือไม่ดูก็ได้ ขณะที่โฆษณาทีวีเป็นการรับชมเรื่อย ๆ ทำให้เอ็นเตอร์เทนเมนต์แวลูต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทีวีก็ยังเป็นสื่อหลักในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ดังนั้นสินค้าต้องบาลานซ์ช่องทางการสื่อสารให้ดีระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุด

"ที่ผ่านมาได้ทดลองโยกงบฯโฆษณาไปที่สื่อออนไลน์อย่างเดียว พบว่าคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อแบรนด์อาจไม่ใช่ทั้งผู้ใช้ หรือซื้อสินค้า แต่ใช้สื่อออนไลน์เป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็น เพราะฉะนั้นต้องบาลานซ์ให้ดี ไม่ว่าจะใช้ออนไลน์หรือออฟไลน์ ก็ต้องยึดมั่นในจุดยืนของแบรนด์เป็นแกนหลัก"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1457536057

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.