Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 กสทช. ระบุ การตรวจวัดค่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐาน จำนวน 40 สถานีในพื้นที่ 5 ภาค พบว่ามีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามที่มาตรฐานกำหนดไว้มาก เช่น ย่านความถี่คลื่น 900 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 41 โวลต์ต่อเมตร ย่านความถี่ 1800 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 58 โวลต์ต่อเมตร และย่านความถี่ 2100 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 61 โวลต์ต่อเมตร ดังนั้นการแผ่คลื่น

ประเด็นหลัก


ทั้งนี้จากการตรวจวัดค่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐาน จำนวน 40 สถานีในพื้นที่ 5 ภาค พบว่ามีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามที่มาตรฐานกำหนดไว้มาก เช่น ย่านความถี่คลื่น 900 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 41 โวลต์ต่อเมตร ย่านความถี่ 1800 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 58 โวลต์ต่อเมตร และย่านความถี่ 2100 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 61 โวลต์ต่อเมตร ดังนั้นการแผ่คลื่น
จากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจึงปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน


_________________________









นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายในงานเสวนา “ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณ และโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่” ที่ทาง สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทยจัดขึ้นว่า ประเด็นผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือต่อร่างกายมนุษย์ เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณ ใกล้เคียงเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าหากอาศัยอยู่ใกล้เสาส่งสัญญาณเป็นเวลานานจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย

“ประเด็นเรื่องเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีการร้องเรียนเข้ามามาก มีอยู่ครั้งหนึ่งร้องเรียนเข้ามาว่าตั้งแต่มีเสาส่งสัญญาณ
เข้ามาตั้งบริเวณใกล้บ้านทำให้รู้สึกปวดหัวอยู่บ่อยครั้งจึงเชื่อว่าเกิดจากคลื่นที่ส่งออกมาจากเสาพอเราเข้าไปตรวจสอบพบว่า
เสาต้นดังกล่าวยังไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น มีเพียงเสาเหล็กเท่านั้น ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าข้อร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดจากความวิตกกังวลมากกว่า จึงอยากให้ประชาชนสบายใจได้”

ทั้งนี้จากการตรวจวัดค่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐาน จำนวน 40 สถานีในพื้นที่ 5 ภาค พบว่ามีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามที่มาตรฐานกำหนดไว้มาก เช่น ย่านความถี่คลื่น 900 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 41 โวลต์ต่อเมตร ย่านความถี่ 1800 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 58 โวลต์ต่อเมตร และย่านความถี่ 2100 MHz ความแรงต้องไม่เกิน 61 โวลต์ต่อเมตร ดังนั้นการแผ่คลื่น
จากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจึงปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

ขณะที่ ผศ.ดร.ชาญไชย ไทยเจียม กรรมการสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย กล่าวว่า หน้าที่หลักของสมาคม คือ การทำความเข้าใจกับประชาชน ให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้นเนื่องจากยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่วิตกกังวลเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เพราะได้รับข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีความสำคัญ โดยทางสมาคมเชื่อว่าหากประชาชนได้อ่านหนังสือวิจัยที่ชื่อว่า “ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณและโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่” จะช่วยให้เข้าใจเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้มากขึ้น

ขณะที่ ผศ.ดร.ชาญไชย ไทยเจียม กรรมการสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย กล่าวว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดไม่ก่อไอออน (Non-ionizing radiation) ไม่ก่อให้อะตอมมีการแตกตัวเป็นไอออน ได้แก่ ย่านความถี่ใช้งานของโทรศัพท์มือถือและความถี่คลื่นวิทยุกระจายเสียง สัญญาณ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เนตแบบไร้สายจัดให้อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่มีผลกระทบในเชิงความร้อนเท่านั้น

2.คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดก่อไอออน (Ionizing - radiation) เป็นคลื่นที่ทำให้อะตอมเกิดการแตกตัวเป็นไอออน และมีผลต่อการแยกอนุภาคอิเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น

http://www.naewna.com/business/205659

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.