Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 เลขา กสทช.ฐากร ชี้ ทาง TRUE ได้ยื่นเงื่อนไขว่า AIS จะต้องจ่ายค่าเช่าใช้งานคลื่นความถี่ให้แก่ ทรูในอัตรา 450 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นมูลค่าที่เฉลี่ยมาจากราคาคลื่นความถี่ที่ทรูประมูลมาได้ และหารด้วยจำนวนเดือนที่ทรูมีสิทธิใช้งาน

ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติรับทราบหนังสือที่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะผู้ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตามสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งซิมจะต้องดับลงจำนวนประมาณ 8 ล้านเลขหมาย ในวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ กสทช.มอบใบอนุญาตให้แก่ทรูนั้นสามารถเช่าใช้คลื่นความถี่ในส่วนของ ทรู ต่อไปได้อีก 3 เดือนโดยบอร์ด กทค.มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.เป็นผู้ประสานงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรู เอไอเอส บริษัทลูกเอไอเอส คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่ายมาหารือร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่ในวันที่ 9 มี.ค.เวลา 09.30 น.เพื่อนำเสนอบอร์ด กทค.ช่วงเช้าวันที่ 11 มี.ค.เพื่อให้มีมติบอร์ดก่อนที่ซิมจะดับ
อย่างไรก็ตาม การใช้งานคลื่นความถี่ทรู ของเอไอเอสเป็นเวลา 3 เดือนนั้น ทางทรูได้ยื่นเงื่อนไขว่า เอไอเอสจะต้องจ่ายค่าเช่าใช้งานคลื่นความถี่ให้แก่ ทรูในอัตรา 450 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นมูลค่าที่เฉลี่ยมาจากราคาคลื่นความถี่ที่ทรูประมูลมาได้ และหารด้วยจำนวนเดือนที่ทรูมีสิทธิใช้งาน โดยราคาดังกล่าวยังไม่นับรวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย หรือกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการที่ เอไอเอส จะต้องส่งมอบให้ทรู และค่าเช่าใช้งานโครงข่ายคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่เอไอเอสต้องจ่ายให้แก่ ทีโอที ทั้งนี้ ทรูเสนอให้ใช้คลื่นจำนวน 10 MHz แต่ กสทช.เสนอให้ใช้คลื่นทั้งหมด 20 MHz เพราะลูกค้าเก่าที่ใช้คลื่นไม่สามารถระบุได้ว่าใช้คลื่นตรงช่วงไหนบ้าง ดังนั้น คลื่นที่ กสทช.จะให้เช่าใช้อีก 10 MHz เป็นของ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด นั้น กสทช.สามารถให้เอไอเอสเช่าใช้ได้ก่อนตราบใดที่แจสยังไม่มาชำระเงินค่าประมูล แต่หากมาชำระเงินค่าประมูลแล้วก็ต้องถามว่าทางแจสเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนเงิน จำนวน 450 ล้านบาทต่อเดือน เอไอเอสต้องจ่ายให้ทรู และ กสทช.คนละครึ่ง



_______________________________________



กสทช.บีบเอไอเอสเช่าคลื่น 900 อีก 3 เดือน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

กสทช.นัดเจรจาเอไอเอส บีบเช่าคลื่น 900 MHz จากทรู 10 MHz และคลื่นของแจสอีก 10 MHz ในช่วงที่แจสยังไม่มาชำระค่าประมูล เพื่อให้ซิมไม่ดับต่ออีก 3 เดือน ด้วยค่าเช่าเดือนละ 450 ล้านบาทตามที่ทรูเสนอ ย้ำหากเจรจาไม่สำเร็จจะใช้ทุกกฎหมายที่มี และมาตรา 44 ในที่สุด อ้างผลประโยชน์ผู้บริโภค 8 ล้านเลขหมาย ด้าน “สมเกียรติ” ชี้อย่าด่วนตัดสินใจว่าแจสจะไม่มาชำระเงิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติรับทราบหนังสือที่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะผู้ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตามสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งซิมจะต้องดับลงจำนวนประมาณ 8 ล้านเลขหมาย ในวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ กสทช.มอบใบอนุญาตให้แก่ทรูนั้นสามารถเช่าใช้คลื่นความถี่ในส่วนของ ทรู ต่อไปได้อีก 3 เดือนโดยบอร์ด กทค.มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.เป็นผู้ประสานงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรู เอไอเอส บริษัทลูกเอไอเอส คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่ายมาหารือร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่ในวันที่ 9 มี.ค.เวลา 09.30 น.เพื่อนำเสนอบอร์ด กทค.ช่วงเช้าวันที่ 11 มี.ค.เพื่อให้มีมติบอร์ดก่อนที่ซิมจะดับ
อย่างไรก็ตาม การใช้งานคลื่นความถี่ทรู ของเอไอเอสเป็นเวลา 3 เดือนนั้น ทางทรูได้ยื่นเงื่อนไขว่า เอไอเอสจะต้องจ่ายค่าเช่าใช้งานคลื่นความถี่ให้แก่ ทรูในอัตรา 450 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นมูลค่าที่เฉลี่ยมาจากราคาคลื่นความถี่ที่ทรูประมูลมาได้ และหารด้วยจำนวนเดือนที่ทรูมีสิทธิใช้งาน โดยราคาดังกล่าวยังไม่นับรวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย หรือกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการที่ เอไอเอส จะต้องส่งมอบให้ทรู และค่าเช่าใช้งานโครงข่ายคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่เอไอเอสต้องจ่ายให้แก่ ทีโอที ทั้งนี้ ทรูเสนอให้ใช้คลื่นจำนวน 10 MHz แต่ กสทช.เสนอให้ใช้คลื่นทั้งหมด 20 MHz เพราะลูกค้าเก่าที่ใช้คลื่นไม่สามารถระบุได้ว่าใช้คลื่นตรงช่วงไหนบ้าง ดังนั้น คลื่นที่ กสทช.จะให้เช่าใช้อีก 10 MHz เป็นของ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด นั้น กสทช.สามารถให้เอไอเอสเช่าใช้ได้ก่อนตราบใดที่แจสยังไม่มาชำระเงินค่าประมูล แต่หากมาชำระเงินค่าประมูลแล้วก็ต้องถามว่าทางแจสเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนเงิน จำนวน 450 ล้านบาทต่อเดือน เอไอเอสต้องจ่ายให้ทรู และ กสทช.คนละครึ่ง
“ตอนนี้ผมยังไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับแจสได้ จนกว่าจะถึงวันที่ 21 มี.ค. เพราะจะมีผลต่อราคาหุ้น ผมพูดดีราคาก็ขึ้น ผมพูดไม่ดีราคาหุ้นเขาก็ตก ดังนั้น ขอให้รอเขาติดต่อกลับมาก่อนดีกว่า ตามที่เขาเคยบอกว่าวันที่ 17-18 มี.ค.นี้จะติดต่อมาว่าจะมาจ่ายเมื่อไหร่ หากไม่จ่ายเราก็มีมาตรการรองรับไว้อยู่แล้ว”
ทั้งนี้ หากการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ กสทช.จะใช้อำนาจทางกฎหมายทุกข้อที่มีไม่ว่าจะเป็นมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ว่าด้วยการป้องกันประโยชน์สาธารณะในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 44 โดย กสทช.เห็นว่าเรื่องนี้กระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง และหากซิมดับ กสทช.ต้องถูกด่าอย่างแน่นอน
นายฐากร กล่าวว่า กรณีนี้ไม่ใช่การขยายมาตรการเยียวยาลูกค้า แต่เป็นมาตรการเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้บริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องอยู่กับค่ายเดิมแต่สามารถเปลี่ยนซิมไปใช้ค่ายอื่นได้ ส่วนเรื่องที่เอไอเอสขอขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาออกไปอีก 3 เดือน นั้น กทค.ไม่อนุมัติตามที่ขอ เนื่องจากมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อมีผู้ชนะการประมูลมาชำระเงินค่าประมูลมาตรการเยียวยาต้องสิ้นสุดลง ซิมต้องดับ
นอกจากนี้ กทค. ยังได้มีคำสั่งทางปกครองกรณีข้อร้องเรียนของ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ร้องเรียน กสทช. ว่า เอไอเอส และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ขัดขวางการโอนย้ายลูกค้าแบบคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) มายังทรู โดยอ้างการดำเนินงานของลูกค้าใช้เอกสารไม่ครบ ให้เอไอเอส และดีแทคเร่งโอนย้ายลูกค้าในระบบที่ค้างอยู่ประมาณ 600,000 เลขหมายโดยเร็วที่สุด เนื่องจากตามหลักเกณฑ์โอนย้ายนั้นเป็นหน้าที่ของรายใหม่ที่ต้องตรวจสอบเอกสารไม่ใช่หน้าที่รายเก่า นอกจากนี้ ทรูก็ไม่ได้ปฏิบัติผิดตามหลักเกณฑ์การโอนย้ายทั้ง 8 ประการ จึงไม่มีเหตุผลใดที่ทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรูจะขัดขวางการโอนย้าย ซึ่ง กสทช.จะเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่เอง
ด้าน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า แจส จะไม่มาชำระเงินนั้นเห็นว่ายังไม่ควรรีบไปสรุปว่าผู้ประกอบการรายนั้นจะไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนดระยะเวลา เนื่องจากในขณะนี้ทางผู้ประกอบการยังสามารถใช้เวลาในการเจรจากับทางสถาบันการเงิน หรือการเพิ่มทุนให้แก่บริษัทในการไปขอวงเงินกู้ได้
ดังนั้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าแจสจะยังไม่จ่าย เพราะเชื่อได้ว่าในเวลานี้ตัวผู้ชนะการประมูลคงจะอยู่ในสภาวะเครียด และกดดันที่สุด แต่หากไม่สามารถจ่ายได้จริงก็เชื่อว่า กสทช. จะมีแนวทางการรับมือ เฉพาะอย่างยิ่งการนำคลื่นความถี่ออกมาประมูลใหม่ สำหรับการประมูล 4G ที่มีราคาประมูลสูงจนผู้ชนะการประมูลประสบปัญหาในการชำระเงินนั้น โดนส่วนตัวมองว่าไม่เป็นความผิดพลาดของ กสทช. เนื่องจากการจัดประมูลครั้งนี้ กสทช. สามารถดำเนินการได้อย่างดีแล้ว อีกทั้งวิธีการจัดประมูลก็ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งดีกว่าการจัดสรรด้วยวิธีอื่นที่ปล่อยให้มีการวิ่งเต้น และสามารถได้คลื่นความถี่ไปใช้งานในราคาที่ถูกกว่าที่ควรจะเป็น
ทั้งนี้ สิ่งที่ กสทช. อาจจะพลาดไปข้อเดียวก็คือ การไม่มีกติกาชัดเจนเพียงพอหากเกิดกรณีที่มีคนชนะการประมูล และไม่จ่ายค่าประมูล มีเพียงการริบเงินประกัน 644 ล้านบาท และการห้ามเข้าประมูลอีก (แบล็กลิสต์) เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของ กสทช. เพราะก่อนหน้านี้คงไม่มีใครคิดว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้ กสทช. จะได้บทเรียนจากการประมูลรอบนี้ ในครั้งหน้า กสทช. จึงควรมีการออกกติกาในเรื่องการทิ้งใบอนุญาตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การที่อาจให้จ่ายเงินมัดจำค่าใบอนุญาตก่อนในจำนวนเงินที่สูงขึ้น เป็นต้น

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024633&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+9-3-59&utm_campaign=20160308_m130152319_MGR+Morning+Brief+9-3-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A__E0_B8_9A_E0_B8_B5_E0_B8_9A_E0_B9_80_E0_B8_AD_E0_B9_84_E0_B8_AD

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.