Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 สำหรับ 6 ธนาคารที่ร่วมกับทาง TRUE ประกอบไปด้วย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน เป็นมูลค่าวงเงินหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) 73,036.06 ล้านบาท โดยธนาคารไอซีบีซี เป็นผู้สนับสนุนวงเงินหนังสือค้ำประกันสูงสุดเกือบ 50% ของมูลค่าวงเงินทั้งหมดราว 35,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



สำหรับ 6 ธนาคารที่ร่วมกับทางทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (TUC) ประกอบไปด้วย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน เป็นมูลค่าวงเงินหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) 73,036.06 ล้านบาท โดยธนาคารไอซีบีซี เป็นผู้สนับสนุนวงเงินหนังสือค้ำประกันสูงสุดเกือบ 50% ของมูลค่าวงเงินทั้งหมดราว 35,000 ล้านบาท


_______________________________________



6 แบงก์หนุน “ทรู” เซ็นกู้ 7.3 หมื่นล.จ่าย 4G ใน 2 สัปดาห์


6 แบงก์พร้อมสนับสนุนกลุ่มทรู ออกหนังสือค้ำประกัน 73,036 ล้านบาท เพื่อชำระค่า 4G พร้อมที่จะชำระเงินงวดแรก 8,040 ล้านบาท ภายใน 2 สัปดาห์ วางเป้าให้บริการโครงการ 900 MHz ให้ครอบคลุมภายในเดือน พ.ค.นี้ ด้านแบงก์กรุงเทพ เผย JAS ยังไม่คืบหน้าในการออกแบงก์การันตีให้
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 กลุ่มทรู ได้มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ 6 ธนาคาร ที่สนับสนุนหนังสือค้ำประกันวงเงิน 73,036.06 ล้านบาท (แบงก์การันตี) “ศุภชัย” ยืนยันพร้อมจ่ายเงินค่าใบอนุญาต 900 MHz แก่ กสทช.ภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำในแง่คุณภาพโครงข่าย และบริการ
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางกลุ่มทรูพร้อมแสดงความชัดเจนที่จะเข้าไปยื่นหนังสือวงเงินค้ำประกัน 73,036.06 ล้านบาท พร้อมกับชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz งวดแรกเป็นเงิน 8,040 ล้านบาท ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยเชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม
“การให้บริการโครงข่าย 900 MHz ของทรูจะทยอยเริ่มให้บริการในเดือนมีนาคม และจะครอบคลมุทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคมคิดเป็น 97% ของประชากร ซึ่งเทียบเท่า หรือมากกว่าของเดิมที่ให้บริการ โดยความถี่ 900 MHz จะนำมาให้บริการในทั้ง 3 ระบบ คือ ทั้ง 2G ,3G และ 4G เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่าย 2G น้อยที่สุด”
ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มทรู มีการยื่นหนังสือสอบถามไปยัง กสทช. ถึงความชัดเจนหากอีกค่ายที่ประมูลไปไม่มาชำระค่าใบอนุญาต ก็ได้หนังสือตอบกลับมาชัดเจนในแนวทาง 5 ข้อว่า 1.หากมีการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่จะเริ่มต้นที่ราคาเดิมจากผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว 2.กลุ่มทรูสามารถเข้าไปร่วมประมูลได้ถ้าต้องการ 3.หากไม่มีผู้ประมูลก็จะนำคลื่นดังกล่าวออกจากตลาดไปไม่ได้ต่ำ 12 เดือน ก่อนนำมาประมูลอีกครั้งในราคาขั้นต่ำเท่ากับที่แจสประมูลชนะไป 4.ผู้ชนะที่ไม่นำเงินมาชำระจะโดนริบหลักประกัน และเรียกร้องค่าเสียหายตามกฎหมาย หรือประกาศที่กำหนดไว้ 5.ผู้ชนะประมูลสามารถนำเงินมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559

6 แบงก์หนุน “ทรู” เซ็นกู้ 7.3 หมื่นล.จ่าย 4G ใน 2 สัปดาห์

สำหรับแผนการดึงฐานลูกค้า 2G ที่ยังมีความต้องการใช้งานอยู่นั้น ศุภชัย เชื่อว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการของโครงข่ายทรูมูฟ เอช เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา 2-3 ปี กลุ่มทรูมีการเติบโตที่ดีจากการลงทุนสร้างโครงข่ายที่มีคุณภาพ และมีคลื่นความถี่เพียงพอในการให้บริการทั้ง 3G ครอบคลุมทั่วประเทศ และ 4G ครอบคลุม 80% ก่อนจะครอบคลุมเป็น 98% ของประชากรทั้งประเทศ ที่ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ
“ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า 2G, 3G หรือ 4G ที่ลูกค้าต้องการคือโครงข่าย และบริการที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ กลุ่มทรูยังเป็นรายแรก และรายเดียวที่ให้บริการ 4G Advanced ที่ต้องมีความถี่มากกว่า 40 MHz ขึ้นไป ที่จะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้น ถ้าลูกค้าในระบบ 2G ที่ยังอยากใช้งานบนคลื่น 900 MHz ก็สามารถย้ายเข้ามาได้”
ในส่วนของงบการลงทุนโครงข่ายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 57,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุน 36,000 ล้านบาท บนคลื่น 900 MHz ในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ที่เหลือทยอยลงทุนบนคลื่น 1800 MHz และ 2100 MHz อีกราว 4,000 ล้านบาท
โดยปัจจุบัน กลุ่มมีสถานีฐานบนคลื่น 1800 MHz ทั้งหมด 7,400 สถานีที่ให้บริการ 2G ในจำนวนนี้ 6,000 สถานีจะเริ่มนำมาให้บริการ 4G ภายในเดือนพฤษภาคม ส่วนคลื่น 2100 MHz มีสถานีฐานให้บริการ 11,000 สถานี และคลื่น 900 MHz 16,000 สถานีในเดือนพฤษภาคม และจะเพิ่มเป็น 20,000 สถานีในสิ้นปี ไม่นับรวมกับคลื่น 850 MHz ที่ให้บริการร่วมกับทาง กสท โทรคมนาคม อีกราว 16,000 สถานี
สำหรับ 6 ธนาคารที่ร่วมกับทางทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (TUC) ประกอบไปด้วย ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน เป็นมูลค่าวงเงินหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) 73,036.06 ล้านบาท โดยธนาคารไอซีบีซี เป็นผู้สนับสนุนวงเงินหนังสือค้ำประกันสูงสุดเกือบ 50% ของมูลค่าวงเงินทั้งหมดราว 35,000 ล้านบาท

6 แบงก์หนุน “ทรู” เซ็นกู้ 7.3 หมื่นล.จ่าย 4G ใน 2 สัปดาห์

นายศุภชัย กล่าวต่อในส่วนของเป้าหมายในการให้บริการ ทุกๆ ธุรกิจย่อมตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำอันดับ 1 แต่ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญที่สุด แต่ตั้งเป้าให้เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอันดับ 1 พร้อมบริการหลังการขายให้เป็นอันดับที่ 1 ให้ได้ ส่วนแผนการเงินภายใน 3 ปี จะสร้างส่วนแบ่งตลาดในเชิงมูลค่าให้ได้ถึง 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 21%
ล่าสุด ทรูมูฟ เอช มีฐานลูกค้าในระบบเมื่อสิ้นปี 2558 ที่ 19.1 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในส่วนของฐานลูกค้าที่ 20.8% มีการเติบโตในแง่รายได้เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตในระที่เท่ากัน หรือเติบโตมากขึ้นได้ในปีนี้

6 แบงก์หนุน “ทรู” เซ็นกู้ 7.3 หมื่นล.จ่าย 4G ใน 2 สัปดาห์

***แบงก์กรุงเทพเผย JAS ยังไม่คืบหน้า
ด้าน นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึงการออกหนังสือค้ำประกันสำหรับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ให้แก่ jas ว่า ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากธนาคารได้ให้บริษัทไปทำแผนงานที่ชัดเจนก่อน ซึ่งก็ต้องดูถึงโมเดลธุรกิจของ jas ด้วย
ส่วนกระแสข่าวการเพิ่มทุนของ jas นั้น นายชาญศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เขาควรจะทำ เนื่องจากวงเงินที่ขอมา จำนวน 40,000 ล้านบาทไม่เพียงพอต่อราคาที่ประมูล จึงต้องมีแผนเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงส่วนที่เพิ่มเติมมาด้วย
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022312&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+3-3-59&utm_campaign=20160302_m130061481_MGR+Morning+Brief+3-3-59&utm_term=6+_E0_B9_81_E0_B8_9A_E0_B8_87_E0_B8_81_E0_B9_8C_E0_B8_AB_E0_B8_99_E0_B8_B8_E0_B8_99+_E2_80_9C_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.