Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 AIS.สมชัย ระบุ ทางกลุ่ม TRUE ยังไม่มีการเสนอให้ใช้งานคลื่นความถี่อย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น ขอเสนอแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ คือ การที่ กสทช.เปิดให้เอไอเอส เช่าช่วงคลื่น 900 MHz ล็อต 1 ที่ทาง แจส ประมูลได้ไปแต่ยังไม่ได้มาชำระค่าใบอนุญาตแทน

ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ นายสมชัย ยังระบุว่า ทางกลุ่มทรูยังไม่มีการเสนอให้ใช้งานคลื่นความถี่อย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น และแนวทางดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งในแง่ของข้อกฎหมาย และในแนวทางปฏิบัติ เพราะได้มีการพูดคุยกับทีโอทีในฐานะเจ้าของสถานีฐานก็ระบุว่า จะไม่เจรจากับทางทรู และสุดท้ายผู้ที่บริหารจัดการเครือข่ายก็คือเอไอเอสอยู่ดี
“เอไอเอส ยอมจ่ายเงินค่าเช่าถ้าเป็นการจ่ายเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่คำพูดสวยหรูที่บอกว่าจะดูแลลูกค้า แต่ในระยะเวลาสั้นๆ เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติที่จะทำได้จริง
โดยทางเอไอเอส ขอเสนอแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ คือ การที่ กสทช.เปิดให้เอไอเอส เช่าช่วงคลื่น 900 MHz ล็อต 1 ที่ทาง แจส ประมูลได้ไปแต่ยังไม่ได้มาชำระค่าใบอนุญาตแทน เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือจนถึงประมาณ 30 มิถุนายน 2559 เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ซิมดับ
สำหรับแนวทางดังกล่าวมาจากการที่ กสทช.เสนอให้ไปเช่าใช้ล็อต 2 ของทรู ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าทำไมเวลาล็อต 2 ของทรู ทาง กสทช.บอกว่าเอไอเอสสามารถทำได้ แต่พอเป็นล็อต 1 ที่คลื่นยังอยู่ในมือของ กสทช. กลับทำไม่ได้ ที่สำคัญคือ บริษัทจะได้นำส่งรายได้ภาครัฐ




_______________________________________



“เอไอเอส” ขอเช่าคลื่น 900 MHz ล็อต 1 ระบุเป็นแนวทางทำได้จริง
เอไอเอส เสนอแนวทางการเยียวยาลูกค้า 900 MHz เพื่อไม่ให้ซิมดับที่สามารถทำได้จริง ด้วยการขอเช่าคลื่น 900 MHz ล็อต 1 จำนวน 5 MHz เพื่อมาให้บริการลูกค้ากว่า 4 แสนรายในช่วง 3 เดือนข้างหน้าให้ตัดสินใจเลือกเปลี่ยนเครื่อง หรือย้ายไปใช้งานเครือข่ายใหม่ วอน กสทช.ใช้อำนาจในแนวทางที่ถูกต้อง
นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางเอไอเอส ยืนยันที่จะมุ่งมั่นดำเนินการทุกวิถึทางเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านทั่วประเทศใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และซิมไม่ดับ เพราะที่ผ่านมา เอไอเอสได้มีการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกค้านำมือถือเก่ามาแลกมือถือ 3G หรือ 4G ตามที่ต้องการ ด้วยการเติมเงินเข้ามาในระบบเพื่อรับเครื่องฟรีตามที่ต้องการ พร้อมอำนวยความสะดวกในการรับเครื่องที่ อบต.ทั่วประเทศ โดยมีลูกค้ากว่า 5 ล้านเลขหมายเข้ามาเปลี่ยนเครื่องแล้ว
“เพราะเอไอเอสไม่ทราบว่าจะหมดสิทธิการใช้คลื่นเมื่อไหร่ ดังนั้น จึงมีการเตรียมแผนที่จะโรมมิ่งกับเครือข่ายของดีแทค ซึ่งถือเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอันดับ 2 ในตลาด เพื่อป้องกันกลุ่มที่เปลี่ยนเครื่องไม่ทัน สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง ไม่นับรวมกับการขยายเครือข่าย 3G/4G อีก 4 หมื่นล้านบาท โดยประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ถูกใช้ไปในการอุดรูรั่วระหว่างรอยต่อสัญญาณเพื่อให้ครอบคลุม”
พร้อมกันนี้ ที่ผ่านมาเอไอเอสได้มีการส่งหนังสือไปยัง กสทช. ถึงมาตรการเยียวยาภายใต้ 3 ข้อหลักๆ คือ 1.ต้องถูกต้องตามกฎหมาย 2.ต้องทำได้จริงในทางปฏิบัติ และ 3.ข้อเสนอและการกระทำใดๆ ต้องเป็นประโยชน์ต่อทั้งลูกค้า และภาครัฐ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง
“ทางเอไอเอสได้ส่งจดหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ล่าสุด ในวันที่ 11 มีนาคม เพื่อให้ กสทช.พิจารณาในเรื่องอำนาจของ กสทช. ที่สำคัญต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ในฝั่งของทรู เมื่อมาชำระเงินเรียบร้อยแล้วก็มีสิทธิใช้คลื่นของเขาโดยชอบธรรม และในส่วนของคลื่นล็อต 1 ยังเป็นคลื่นที่ว่างอยู่ ด้วยอำนาจของ กสทช. สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง”
ปัจจุบัน เอไอเอสยังเหลือลูกค้าที่ใช้งาน 2G บนคลื่น 900 MHz ราว 4 แสนราย รวมกับลูกค้าทีโอทีที่ยังโรมมิ่งมาใช้บริการอยู่อีกราว 2 แสนราย และยังมีอีก 7.6 ล้านราย ที่ย้ายเครือข่ายไปใช้งาน AIS 3G แล้ว เพียงแต่ตัวเครื่องยังรองรับเพียงระบบ 2G ทำให้ต้องโรมมิ่งกลับมาใช้งานคลื่น 900 MHz ซึ่งลูกค้าจำนวนนี้ ทางเอไอเอสได้ทำการโรมมิ่ง 2G บนคลื่น 1800 MHz ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน (ดีแทค) ไว้เรียบแล้ว
“ถ้าซิมดับเอไอเอสจะไม่สามารถดูแลลูกค้า 4 แสนรายได้อีกต่อไป แต่ในส่วนของลูกค้า 7.6 ล้านราย จะมีผลกระทบบางจุดในที่ห่างไกล ซึ่งสัญญาณของดีแทคไม่ครอบคลุม แต่ก็เป็นลูกค้าเพียงส่วนน้อย”
ทั้งนี้ นายสมชัย ยังระบุว่า ทางกลุ่มทรูยังไม่มีการเสนอให้ใช้งานคลื่นความถี่อย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น และแนวทางดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งในแง่ของข้อกฎหมาย และในแนวทางปฏิบัติ เพราะได้มีการพูดคุยกับทีโอทีในฐานะเจ้าของสถานีฐานก็ระบุว่า จะไม่เจรจากับทางทรู และสุดท้ายผู้ที่บริหารจัดการเครือข่ายก็คือเอไอเอสอยู่ดี
“เอไอเอส ยอมจ่ายเงินค่าเช่าถ้าเป็นการจ่ายเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่คำพูดสวยหรูที่บอกว่าจะดูแลลูกค้า แต่ในระยะเวลาสั้นๆ เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติที่จะทำได้จริง
โดยทางเอไอเอส ขอเสนอแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ คือ การที่ กสทช.เปิดให้เอไอเอส เช่าช่วงคลื่น 900 MHz ล็อต 1 ที่ทาง แจส ประมูลได้ไปแต่ยังไม่ได้มาชำระค่าใบอนุญาตแทน เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือจนถึงประมาณ 30 มิถุนายน 2559 เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ซิมดับ
สำหรับแนวทางดังกล่าวมาจากการที่ กสทช.เสนอให้ไปเช่าใช้ล็อต 2 ของทรู ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าทำไมเวลาล็อต 2 ของทรู ทาง กสทช.บอกว่าเอไอเอสสามารถทำได้ แต่พอเป็นล็อต 1 ที่คลื่นยังอยู่ในมือของ กสทช. กลับทำไม่ได้ ที่สำคัญคือ บริษัทจะได้นำส่งรายได้ภาครัฐ
“ช่วงเวลาเยียวยา 3 เดือนที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเพียงพอที่จะให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกเปลี่ยนเครื่องมาใช้งานเครือข่าย 3G หรือจะเลือกโอนย้ายเลขหมายไปใช้งานเครือข่ายใหม่ก็ได้ และแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค ถัดมาคือ ประโยชน์แก่ผู้รับใบอนุญาต และเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม”
อีกแนวทางที่มีโอกาสทำได้คือ ถ้าทาง กสทช.อนุญาตให้ย้ายลูกค้า 4 แสนรายแบบอัตโนมัติ เพราะที่ผ่านมา ลูกค้าเกือบ 40 ล้านคน กรณีที่ย้ายเครือข่ายต้องมาแสดงตน ถ้าไม่มาแสดงตนก็ไม่มีสิทธิย้าย ถ้าไม่อยากให้ลูกค้าห่วงเรื่องซิมดับก็สามารถทำการโอนย้ายเครือข่ายมาใช้ AIS 3G โดยอัตโนมัติได้ ถ้าทาง กสทช.มีประกาศออกมาอย่างชัดเจน
หลังจากนี้ ในช่วงบ่าย ทางเอไอเอส จะเข้าไปคุยกับทาง กสทช. เพื่อหารือถึงแนวทางดังกล่าวให้สามารถทำได้

http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000026613

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.