Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มีนาคม 2559 (บทความ) กสทช.เปิดทางตุนความถี่!! // แต่สิ่งที่ กสทช.ลืมคิดไปคือ การทิ้งใบอนุญาต และการออกแบบที่คิดแต่เรื่องเงินเข้ารัฐสูงสุด อาจเป็นช่องทางทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการกักตุนความถี่ในอนาคตเมื่อดูจากท่าทีปัจจุบัน

ประเด็นหลัก



กสทช.เปิดทางตุนความถี่!!

*** เงื่อนไขบีบผู้ประมูลรายใหม่
ท่าที และแนวทางกำกับดูแลของ กสทช.จึงสำคัญมากในการชี้ทิศการบริหารจัดการความถี่ กสทช.ผ่านประสบการณ์ประมูลความถี่มาแล้ว 2 รูปแบบ ที่ชัดเจนคือ การประมูล 2100 MHz ที่มีใบอนุญาต 3 ใบ กับผู้เข้าประมูล 3 รายในตลาด ที่การประมูลออกมาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เคาะราคาไม่กี่ครั้งแล้วสรุปจบ ซึ่งประสบการณ์ครั้งแรกทำให้ กสทช.ต้องเดินเข้าออกไปชี้แจงหน่วยงานตรวจสอบครบทุกหน่วยงานในประเทศไทย แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ ส่วนครั้งที่ 2 คือ การประมูล 1800 MHz และ 900 MHz ที่ถูกออกแบบให้เคาะราคาสู้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะมีจำนวนใบอนุญาตน้อยกว่าความต้องการของผู้เข้าประมูล ผลที่ได้คือ ราคาที่รวมกันทะลุหลักแสนล้านบาท
แต่สิ่งที่ กสทช.ลืมคิดไปคือ การทิ้งใบอนุญาต และการออกแบบที่คิดแต่เรื่องเงินเข้ารัฐสูงสุด อาจเป็นช่องทางทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการกักตุนความถี่ในอนาคตเมื่อดูจากท่าทีปัจจุบัน
ที่สำคัญในการประมูลครั้งต่อไปของคลื่น 900 MHz หากแจสไม่มาชำระเงินค่าประมูล ทรูได้ถามความชัดเจนจาก กสทช.กรณีการรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 900 MHz ซึ่ง กสทช.ได้ตอบกลับมา 5 ประเด็น ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ล็อกคอผู้สนใจเข้าประมูลรายใหม่ ทำนองล็อกสเปกล่วงหน้า ประกอบด้วย 1.หากมีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ใหม่เกิดขึ้น ราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องถูกกำหนดไว้ในราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะไปในครั้งที่แล้ว หรือ 7.5 หมื่นล้านบาท
2.การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งใหม่จะไม่ตัดสิทธิผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้วที่ได้นำเงินประมูลมาชำระในการที่จะเข้าประมูลใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยมีผู้เข้าร่วมประมูลแข่งขันที่มากราย
3.หากเปิดประมูลแล้วไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล กสทช.จะเก็บคลื่นดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี และหากมีการเปิดประมูลใหม่หลังจากนั้นราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะในครั้งที่แล้ว
4.ผู้ชนะการประมูลไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดเวลา นอกจาก กสทช.จะริบหลักประกันการประมูลแล้ว ยังจะต้องเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย หรือประกาศที่กำหนดไว้เพิ่มเติมอีก และจะตรวจสอบคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตเดิมจาก กสทช. ทั้งกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และ 5.เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นสิทธิของผู้ชนะการประมูลที่จะนำมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มี.ค.2559 ดังนั้น ขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ทุกท่าน รวมทั้งสำนักงาน กสทช. หลีกเลี่ยงการให้ข่าวที่เป็นอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นในระหว่างนี้
“หากแจสไม่มาชำระเงินประมูล การรีบร้อนตอบทรู เหมือนดาบสองคมที่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการประมูลครั้งถัดไป เพราะราคาตั้งต้นที่เริ่มจากราคาที่ชนะการประมูลในครั้งที่แล้ว แสดงว่าสูงเกินจริงจนไม่มาชำระเงิน หากตั้งราคานั้นอาจมีบางรายหาคู่เทียบมาประมูลก็ได้”
ขณะเดียวกัน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ยังได้ออกบทความเพื่อตอกย้ำถึงเงื่อนไขดังกล่าวด้วยโดยระบุว่า การกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลครั้งใหม่ต้องคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ชนะการประมูลที่มาชำระเงินแล้วด้วย เพราะหากราคาชนะการประมูลรอบใหม่ต่ำลงมาก ก็เสมือนเป็นการลงโทษผู้ที่ทำตามกติกา เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนที่สูงกว่าจากการที่คนอื่นไม่ทำตามกติกา ดังนั้น ระดับราคาที่สมเหตุสมผลคือระดับราคาที่ผู้เข้าร่วมประมูลเดิมทุกรายยังยินยอมเสนอราคาในการประมูลที่ผ่านมา นั่นคือ ระดับราคาไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาทเศษ
ขณะที่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้ยืนยันว่า การประมูลที่ผ่านมาไม่ได้เป็นความล้มเหลว เพราะต้องยอมรับว่า ตลาดในประเทศไทยมีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ รายเดิม ราคาเริ่มต้นที่ 7 หมื่นล้านบาท แน่นอนว่าต้องไม่มี “รายเล็ก” เข้ามาแน่นอน











_________________________________________





กสทช.เปิดทางตุนความถี่!!


กสทช.เปิดทางตุนความถี่!!
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.

วันที่ 21 มี.ค.2559 ถือเป็นเส้นตายที่ถูกขีดไว้ให้ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภูมิใจหนักหนาว่านี่คือผู้เล่นรายใหม่ในตลาดโทรศัพท์มือถือ ด้วยราคาที่ชนะการประมูลที่สูงเกินจริงถึง 75,654 ล้านบาท มาชำระเงินค่าประมูล
โดยแจสต้องวางเงินประมูลงวดแรก 8,040 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี) อีกกว่า 7 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ กสทช.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ และใบอนุญาตการใช้คลื่น ซึ่งเมื่อถึงกำหนดเส้นตายหากแจสนำเงิน และแบงก์การันตีมาส่งมอบให้ กสทช.ได้ ถือว่าการประมูลความถี่ 900 MHz ครั้งนี้จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง สมประโยชน์ทุกฝ่ายทั้งองค์กรกำกับดูแล รัฐ เอกชน และประชาชนผู้ใช้บริการ
แต่หากเกิดการเบี้ยวทิ้งใบอนุญาต เป้าหมายของ กสทช.ถือว่าสำเร็จเพียงครึ่งเดียว แต่สิ่งที่จะตามมาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอาจเป็นการเปิดช่องเปิดโอกาสให้มีการกักตุนความถี่จากวิถีทางที่ กสทช.เลือกเดิน ที่อาจส่งผลรุนแรงถึงกับการเปลี่ยนตำแหน่งผู้เล่นในตลาดได้
*** ทรูมีคลื่นมากที่สุดในตลาด
จนถึงขณะนี้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คือ ผู้ที่มีคลื่นมากที่สุดถึง 55 MHz ได้แก่ คลื่น 850 MHz จำนวน 15 MHz คลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz คลื่น 1800 MHz จำนวน 15 MHz และ คลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz โดยที่หากคิดจำนวนความถี่ที่ได้จากการประมูลของ กสทช. 3 ครั้งคือ ความถี่ 2100 MHz 1800 MHz และ 900 MHz ทรูก็ถือว่ามีความถี่สูงสุดคือ 40 MHz
ขณะที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค มีคลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz คลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz และคลื่น 850 MHz จำนวน 10 MHz รวม 50 MHz แต่เป็นความถี่ที่ได้จากการประมูล และมีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี เพียงความถี่ 2100 MHz จำนวน 15 MHz เท่านั้น ที่เหลือเป็นความถี่ในระบบสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุในปี 2561
ส่วนผู้นำในตลาดอย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส มีคลื่น 1800 MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz รวม 30 MHz ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอในการทำธุรกิจปัจจุบันที่ลูกค้ามุ่งไปที่ใช้การสื่อสารความเร็วสูง รวมทั้งการทำตลาดที่ให้ความเร็วสูงสุดไม่มีการติด FUP หรือความเร็วลดลงเมื่อถึงกำหนดในแพกเกจโปรโมชัน
แม้ว่าเอไอเอสเองจะมีความพยายามในการทำธุรกิจร่วมกันกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในคลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz ก็ตาม แต่ความคืบหน้าในการลงนามสัญญาพันธมิตรก็เชื่องช้ามากเพราะทุกเรื่องยังคงติดขัดอยู่ที่ทีโอทีเอง
ที่ผ่านมา เอไอเอสเจอแต่ปัญหาการให้บริการลูกค้าภายใต้ข้อจำกัดเรื่องปริมาณความถี่มาโดยตลอด แต่เป็นในช่วงความต้องการลูกค้าที่ค่อยๆเปลี่ยนไปบริโภคข้อมูลมากกว่าการใช้งานด้านเสียง จึงทำให้พอประคองตัวรอดมาได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว โอเปอเรเตอร์ต่างหาทางสะสมความถี่ เพื่อรวบรวมให้บริการลูกค้าด้วยเทคโนโลยีล่าสุด อย่างบริการ 4G LTE Advanced

กสทช.เปิดทางตุนความถี่!!

*** เงื่อนไขบีบผู้ประมูลรายใหม่
ท่าที และแนวทางกำกับดูแลของ กสทช.จึงสำคัญมากในการชี้ทิศการบริหารจัดการความถี่ กสทช.ผ่านประสบการณ์ประมูลความถี่มาแล้ว 2 รูปแบบ ที่ชัดเจนคือ การประมูล 2100 MHz ที่มีใบอนุญาต 3 ใบ กับผู้เข้าประมูล 3 รายในตลาด ที่การประมูลออกมาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เคาะราคาไม่กี่ครั้งแล้วสรุปจบ ซึ่งประสบการณ์ครั้งแรกทำให้ กสทช.ต้องเดินเข้าออกไปชี้แจงหน่วยงานตรวจสอบครบทุกหน่วยงานในประเทศไทย แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ ส่วนครั้งที่ 2 คือ การประมูล 1800 MHz และ 900 MHz ที่ถูกออกแบบให้เคาะราคาสู้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะมีจำนวนใบอนุญาตน้อยกว่าความต้องการของผู้เข้าประมูล ผลที่ได้คือ ราคาที่รวมกันทะลุหลักแสนล้านบาท
แต่สิ่งที่ กสทช.ลืมคิดไปคือ การทิ้งใบอนุญาต และการออกแบบที่คิดแต่เรื่องเงินเข้ารัฐสูงสุด อาจเป็นช่องทางทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการกักตุนความถี่ในอนาคตเมื่อดูจากท่าทีปัจจุบัน
ที่สำคัญในการประมูลครั้งต่อไปของคลื่น 900 MHz หากแจสไม่มาชำระเงินค่าประมูล ทรูได้ถามความชัดเจนจาก กสทช.กรณีการรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 900 MHz ซึ่ง กสทช.ได้ตอบกลับมา 5 ประเด็น ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ล็อกคอผู้สนใจเข้าประมูลรายใหม่ ทำนองล็อกสเปกล่วงหน้า ประกอบด้วย 1.หากมีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ใหม่เกิดขึ้น ราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องถูกกำหนดไว้ในราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะไปในครั้งที่แล้ว หรือ 7.5 หมื่นล้านบาท
2.การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งใหม่จะไม่ตัดสิทธิผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้วที่ได้นำเงินประมูลมาชำระในการที่จะเข้าประมูลใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยมีผู้เข้าร่วมประมูลแข่งขันที่มากราย
3.หากเปิดประมูลแล้วไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล กสทช.จะเก็บคลื่นดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี และหากมีการเปิดประมูลใหม่หลังจากนั้นราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะในครั้งที่แล้ว
4.ผู้ชนะการประมูลไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดเวลา นอกจาก กสทช.จะริบหลักประกันการประมูลแล้ว ยังจะต้องเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย หรือประกาศที่กำหนดไว้เพิ่มเติมอีก และจะตรวจสอบคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตเดิมจาก กสทช. ทั้งกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และ 5.เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นสิทธิของผู้ชนะการประมูลที่จะนำมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มี.ค.2559 ดังนั้น ขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ทุกท่าน รวมทั้งสำนักงาน กสทช. หลีกเลี่ยงการให้ข่าวที่เป็นอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นในระหว่างนี้
“หากแจสไม่มาชำระเงินประมูล การรีบร้อนตอบทรู เหมือนดาบสองคมที่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการประมูลครั้งถัดไป เพราะราคาตั้งต้นที่เริ่มจากราคาที่ชนะการประมูลในครั้งที่แล้ว แสดงว่าสูงเกินจริงจนไม่มาชำระเงิน หากตั้งราคานั้นอาจมีบางรายหาคู่เทียบมาประมูลก็ได้”
ขณะเดียวกัน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ยังได้ออกบทความเพื่อตอกย้ำถึงเงื่อนไขดังกล่าวด้วยโดยระบุว่า การกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลครั้งใหม่ต้องคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ชนะการประมูลที่มาชำระเงินแล้วด้วย เพราะหากราคาชนะการประมูลรอบใหม่ต่ำลงมาก ก็เสมือนเป็นการลงโทษผู้ที่ทำตามกติกา เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนที่สูงกว่าจากการที่คนอื่นไม่ทำตามกติกา ดังนั้น ระดับราคาที่สมเหตุสมผลคือระดับราคาที่ผู้เข้าร่วมประมูลเดิมทุกรายยังยินยอมเสนอราคาในการประมูลที่ผ่านมา นั่นคือ ระดับราคาไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาทเศษ
ขณะที่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้ยืนยันว่า การประมูลที่ผ่านมาไม่ได้เป็นความล้มเหลว เพราะต้องยอมรับว่า ตลาดในประเทศไทยมีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ รายเดิม ราคาเริ่มต้นที่ 7 หมื่นล้านบาท แน่นอนว่าต้องไม่มี “รายเล็ก” เข้ามาแน่นอน
***ทรูพร้อมประมูล
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น
ยืนยันชัดเจนในวันแถลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่สนับสนุนแบงก์การันตีกว่า 7 หมื่นล้านบาท ว่า หากมีการประมูลความถี่ 900 MHz ครั้งใหม่ ทางบริษัทก็ยินดีที่จะเข้าประมูล เพราะการมีความถี่ยิ่งมากยิ่งดี แต่ก็ต้องดูความจำเป็นก่อน เพราะตอนนี้ก็ถือได้ว่าทรูมีความถี่ในมือครบ และครอบคลุมการให้บริการทุกโครงข่ายแล้ว
ในขณะที่ ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค และสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส ต่างพร้อมใจเห็นตรงกันว่า ต้องรอดูท่าทีการประกาศเงื่อนไขในการประมูลจาก กสทช. อย่างเป็นทางการก่อน แต่ในเบื้องต้นคิดว่าราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 7 หมื่นล้านบาทสูงเกินไป
“ลองคิดดูหากคุณเป็นสถาบันการเงินแล้วว่าที่เบอร์หนึ่งซีพีต้องการแรงสนับสนุน ด้วยเป้าหมายเป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมจากแต้มต่อที่มีความถี่ในมือจำนวนมาก คุณจะสนับสนุนหรือไม่”
ไม่เพียงแต่แต้มต่อด้านความถี่ในมือ ทรูยังเดินหน้ากวาดต้อนลูกค้าเข้าระบบในช่วง 30 วันที่ศาลปกครองกลางคุ้มครองให้ลูกค้าซิม 2G 900 MHz ของเอไอเอสใช้งานได้จนถึงวันที่ 14 เม.ย. โดยทรู ออกแถลงการณ์ว่า
“ตามที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ผู้บริโภคบนคลื่น 900 MHz ยังคงใช้บริการได้ต่อไปอีก 30 วัน จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2559 เวลา 24.00 น. นั้น ทรูมีความยินดีต่อคำตัดสินของศาลดังกล่าวที่ได้สร้างความชัดเจนถึงระยะเวลาในการดูแลผู้ใช้บริการในช่วงเปลี่ยนผ่าน เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไป การดำเนินกิจการในใบอนุญาตของทรูจะเป็นไปด้วยความสมบูรณ์ภายใต้กรอบเงื่อนไขของการประมูลอย่างแท้จริง ซึ่งความชัดเจนนี้จะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศที่มีต่อกระบวนการประมูล และการแข่งขันโดยเสรี และเป็นธรรมของประเทศไทย
พร้อมกันนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทรูยินดีที่จะปรับกำหนดการเร่งสร้างเครือข่าย 2G บนคลื่น 900 /1800 MHz ให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เทียบเคียงกับระบบ 2G ของเอไอเอสเดิมให้ทัน 14 เมษายน 2559 เพื่อให้ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจากซิมดับ ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้บริการบนคลื่น 900 MHz บนเครือข่ายของทรูมูฟ เอช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้บริโภคชาวไทยทุกคน
ทั้งนี้ สำหรับผู้ใช้บริการบนคลื่น 900 MHz ที่ได้รับการดูแลให้ใช้งานได้ต่อเนื่องอีก 1 เดือนนั้น ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ใช้บริการจะเร่งทำการย้ายค่ายเพื่อให้สามารถใช้บริการด้วยเบอร์เดิมได้ และซิมไม่ดับ โดยทรูมูฟ เอช จึงได้จัดแคมเปญพิเศษการใช้งานเครือข่าย 2G บนคลื่น 900/1800 MHz ทั่วประเทศ เพื่อรองรับก่อนวันสิ้นสุดการดูแลใน เวลา 24.00 น.ของวันที่ 14 เมษายน 2559”
เส้นทางของทรูที่เดินเคียงข้าง กสทช.วันนี้จึงงดงามยิ่ง !!

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028280&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+18-3-59&utm_campaign=20160317_m130312121_MGR+Morning+Brief+18-3-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A__E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_B4_E0_B8_94_E0_B8_97_E0_B8_B2_E0_B8_87

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.