Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มีนาคม 2559 กสทช. ระบุ กำหนดวันที่จะเคาะราคาประมูลคาดว่าจะประมูลภายในปลายเดือนมิ.ย. 2559 เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมในส่วนความเสียหายที่รัฐได้รับไม่ว่าจะเป็นกรณีที่จัดการประมูลใหม่และได้เงินค่าประมูลต่ำกว่าก็จะต้องเรียกร้องส่วนต่างนั้นรวมถึงค่าเสียโอกาส

ประเด็นหลัก ดังกล่าวจะมีการริบเงินค่าประกันเพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและจะเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมในส่วนความเสียหายที่รัฐได้รับไม่ว่าจะเป็นกรณีที่จัดการประมูลใหม่และได้เงินค่าประมูลต่ำกว่าก็จะต้องเรียกร้องส่วนต่างนั้นรวมถึงค่าเสียโอกาสในกรณีที่ประชาชนหรือประเทศชาติได้ใช้งานคลื่นความถี่ช้าลงและจะมีการตรวจสอบข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุแห่งชาติ เป็นต้น โดยขณะนี้สำนักงาน กสทช. ได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆเป็นคณะทำงานเพื่อมาตรวจสอบ โดยมีอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานคณะทำงาน และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นคณะทำงาน เพื่อที่จะทำงานให้แล้วเสร็จภายใน30 วัน นอกจากนี้ยังได้กำหนดวันที่จะเคาะราคาประมูลคาดว่าจะประมูลภายในปลายเดือนมิ.ย. 2559 ________________________________________________ ประธาน กทค.ย้ำประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซโปร่งใส | เดลินิวส์
„ประธาน กทค.ย้ำประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซโปร่งใส ยืนยันประมูล 4 จี คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ โปร่งใสแน่นอน เดินหน้าตั้งคณะทำงานตรวจสอบร้องค่าเสียหาย แจส โมบาย หลังไม่ชำระเงิน กำหนดกรอบเคาะรอบใหม่ปลายมิ.ย. นี้ วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 14:00 น. วันนี้(25 มี.ค.)พ.อ. ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(ประธาน กทค.)กล่าวว่าตามที่นายสุรพงษ์ โตวิจัยชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้ข่าวว่ารัฐมนตรีที่กำกับดูแลกสทช. และ กสทช. จะต้องรับผิดชอบต่อกรณีที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900เมกะเฮิร์ตซนั้นไม่ดำเนินการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดแรกและไม่ได้ส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดขอชี้แจงว่า สำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ต้องรับผิดชอบกรณีนี้ โดย กสทช. เป็นหน่วยงานที่จะต้องรายงานตรงต่อวุฒิสภาหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ทำหน้าที่แทนวุฒิสภาในปัจจุบัน ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว กสทช. ได้ประกาศกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการประมูลไว้แล้วโดยผู้ที่เสนอราคาให้กับรัฐสูงสุดจะเป็นผู้ที่ชนะการประมูลและมีระยะเวลาของใบอนุญาต 15 ปี ภายใต้เงื่อนไข หากผู้ที่ชนะการประมูลไม่นำเงินมาชำระค่าประมูลตามเงื่อนไขดังกล่าวจะมีการริบเงินค่าประกันเพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและจะเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมในส่วนความเสียหายที่รัฐได้รับไม่ว่าจะเป็นกรณีที่จัดการประมูลใหม่และได้เงินค่าประมูลต่ำกว่าก็จะต้องเรียกร้องส่วนต่างนั้นรวมถึงค่าเสียโอกาสในกรณีที่ประชาชนหรือประเทศชาติได้ใช้งานคลื่นความถี่ช้าลงและจะมีการตรวจสอบข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุแห่งชาติ เป็นต้น โดยขณะนี้สำนักงาน กสทช. ได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆเป็นคณะทำงานเพื่อมาตรวจสอบ โดยมีอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานคณะทำงาน และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นคณะทำงาน เพื่อที่จะทำงานให้แล้วเสร็จภายใน30 วัน นอกจากนี้ยังได้กำหนดวันที่จะเคาะราคาประมูลคาดว่าจะประมูลภายในปลายเดือนมิ.ย. 2559 น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท แจส โมบาย จำกัด ไม่ชำระเงินประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรซต์ มองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบแต่ส่วนตัวมองว่า ช่องโมโน ที่เป็นของ บริษัท โมโน บรอดคาสต์ติ้ง ได้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลมาก่อนหน้า และเป็นคนละนิติบุคคลกับ แจสโมบาย จึงไม่มีความเชื่อมโยงกันและกรณีนี้ก็ไม่มีระบุในเงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรซต์ หากจะเอาผิดต่อแจสโมบาย ส่วนตัวมองว่าควรเป็นในทางคดีอาญามากกว่าการเพิกถอนใบอนุญาตโดยตรง“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/387811

http://www.dailynews.co.th/it/387811

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.