Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มีนาคม 2559 (บทความ) จาก "ทีทีแอนด์ที" ถึง "แจส" // ในอดีย ทีทีแอนด์ทีนั้นพุ่งโด่งกว่าทุก ๆ ค่าย คือเสนอแบ่งรายได้จากการเก็บค่าโทรศัพท์ให้กับทีโอทีสูงถึง 43%

ประเด็นหลัก
แต่กลายเป็นว่าข้อเสนอของทีทีแอนด์ทีนั้นพุ่งโด่งกว่าทุก ๆ ค่าย คือเสนอแบ่งรายได้จากการเก็บค่าโทรศัพท์ให้กับทีโอทีสูงถึง 43%

คล้าย ๆ กับบรรยากาศการเคาะราคาคลื่น 900 ที่ "แจส" ทุ่มสุดตัว

คีย์แมนคนสำคัญของทีทีแอนด์ทีขณะนั้นให้เหตุผลว่า ที่สามารถเสนอตัวเลขส่วนแบ่งให้รัฐสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันทุกราย เพราะมีวิธีคิดคำนวณรายได้ (ที่หวังผลเลิศ) แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ และไม่ได้มองเพียงแค่รายได้จากส่วนแบ่งค่าโทรศัพท์บ้านและค่าโทรศัพท์ทางไกล (ที่เวลานั้นมีปริมาณการใช้งานหนาแน่น เป็นเหมือนขุมทรัพย์ เนื่องจากมือถือยังไม่แพร่หลาย)

แต่มองไปถึงต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าท้องตลาด เพราะกู้เงินจำนวนมาก และมูลค่าหุ้นที่ย่อมเพิ่มขึ้นภายหลังจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
________________________________________________
จาก "ทีทีแอนด์ที" ถึง "แจส"

คอลัมน์สามัญสำนึก โดย พัฒนพันธุ์ วงศ์พันธุ์

ชั่วโมงนี้แวดวงธุรกิจคงไม่มีอะไรที่ได้รับความสนใจไปกว่า กรณีที่ "แจส" ทิ้งคลื่น 900 ไปแบบดื้อ ๆ ด้วยการอ้างเหตุผลที่ว่า พันธมิตรจากจีนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมลงทุนด้วยนั้น ติดปัญหาขั้นตอนการขออนุญาตลงทุน

ทำให้ "แจส" ไม่สามารถนำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินจำนวน 72,000 ล้านบาท มามอบให้ กสทช.ได้ทันเดดไลน์ที่กำหนดเอาไว้

ผู้สื่อข่าวอาวุโสรายหนึ่งรำลึกอดีตให้ฟังว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ 4 จี คลื่น 900 ในวันนี้ ทำให้นึกย้อนไปเมื่อครั้งที่มีการเปิดประมูลโทรศัพท์ (บ้าน) จำนวน 1 ล้านเลขหมายเมื่อปี 2535 ไม่ได้ เพราะมีอะไรคล้าย ๆ กันหลายประการ

ทีทีแอนด์ทีที่มีจัสมินฯเป็นแกนนำหลัก สามารถเอาชนะทั้งกลุ่ม บี.กริม, เอสจี เทเลคอม รวมทั้งบริษัทชินวัตรฯ (ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นชิน คอร์ป และอินทัชในเวลาต่อมา) ด้วยการเสนอผลตอบแทนให้องค์การโทรศัพท์ฯชนิดหักปากกาเซียน เพราะใคร ๆ ก็คิดว่าตัวเต็งน่าจะเป็นชินวัตร หรือกลุ่ม บี.กริม

แต่กลายเป็นว่าข้อเสนอของทีทีแอนด์ทีนั้นพุ่งโด่งกว่าทุก ๆ ค่าย คือเสนอแบ่งรายได้จากการเก็บค่าโทรศัพท์ให้กับทีโอทีสูงถึง 43%

คล้าย ๆ กับบรรยากาศการเคาะราคาคลื่น 900 ที่ "แจส" ทุ่มสุดตัว

คีย์แมนคนสำคัญของทีทีแอนด์ทีขณะนั้นให้เหตุผลว่า ที่สามารถเสนอตัวเลขส่วนแบ่งให้รัฐสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันทุกราย เพราะมีวิธีคิดคำนวณรายได้ (ที่หวังผลเลิศ) แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ และไม่ได้มองเพียงแค่รายได้จากส่วนแบ่งค่าโทรศัพท์บ้านและค่าโทรศัพท์ทางไกล (ที่เวลานั้นมีปริมาณการใช้งานหนาแน่น เป็นเหมือนขุมทรัพย์ เนื่องจากมือถือยังไม่แพร่หลาย)

แต่มองไปถึงต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าท้องตลาด เพราะกู้เงินจำนวนมาก และมูลค่าหุ้นที่ย่อมเพิ่มขึ้นภายหลังจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ทำให้มีผลกำไรจากหลายทาง !!!

ไม่มีใครบอกได้ว่า สไตล์การทำธุรกิจที่มุ่ง (หวังผลเลิศ) ที่เคยเกิดกับทีทีแอนด์ที และธุรกิจอื่น ๆ คือเหตุผลที่ทำให้จัสมินฯกล้าที่จะส่ง "แจส" โดดเข้าร่วมประมูล 4 จีในครั้งนี้หรือไม่

ทีทีแอนด์ทีออกสตาร์ตธุรกิจได้อย่างเลิศหรู บวกกับทีโอทีเพิ่มเนื้องานให้อีก 5 แสนเลขหมาย แต่ทีทีแอนด์ทีต้องมาสะดุดอย่างจังเมื่อเกิดวิกฤตปี 2540 ต้นทุนเงินกู้ที่เป็นสกุลต่างประเทศเพิ่มขึ้นมหาศาล ถูกเจ้าหนี้บังคับให้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ประกอบเข้ากับโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูกิจการของทีทีแอนด์ทีไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คาด และเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย กลุ่มโพธารามิก

เมื่อไม่มีบทบาทในทีทีแอนด์ที กลุ่มโพธารามิกได้หันกลับไปทุ่มเทกับกลุ่มจัสมินของตัวเอง และพลิกฟื้นสถานการณ์ขึ้นมา ภายหลังจากธุรกิจบรอดแบนด์ (3BB) และโมโนกรุ๊ปประสบความสำเร็จ กลายเป็นธุรกิจที่เข้มแข็ง มีเงินทุนเป็นหมื่นล้าน

มากพอจะย้อนกลับมาประมูลคลื่น 900 เพื่อหวังพลิกตัวเป็นเจ้าธุรกิจมือถือ

แต่แล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ทีทีแอนด์ทีต้องปิดฉากลงหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทเด็ดขาด ห้ามทำธุรกรรมใด ๆ

ฟังเรื่องนี้จบ ไม่อยากคิดต่อว่า หาก "แจส" สู้ !!! ไม่ยอมยกธงขาว ถอนตัวออกจากการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตคลื่น 900

จะเกิดอะไรตามมา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ กับทีทีแอนด์ทีจะมีโอกาสซ้ำรอยอีกครั้งหรือไม่

น่าสนใจจริงๆ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1459154106

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.