Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มีนาคม 2559 (บทความ) ศึกมือถือดับฝันรายใหม่ "ทรู" ข้ามรุ่นไล่บี้ "AIS" หวังขึ้นเบอร์ 2 // AIS เร่งแจกเครื่องหลังแพ้ประมูล เพื่อ ลูกค้าที่ย้ายมาจะได้มีคลื่นใหม่ มีเน็ตเวิร์กที่ใช้ได้ดีขึ้น

ประเด็นหลัก
- จะส่งผลถึงดีลที่ทำกับทีโอทีหรือไม่

ไม่ครับ เรื่องนี้เราชัดเจนว่าแยกเป็นสองส่วน เรื่องทีโอที เป็นบิสซิเนสโมเดลที่เราเข้าไปทำ ส่วนการประมูลอย่าว่าแต่คลื่น 900 MHz สมมุติมีคลื่น 2600 MHz ออกมาก็จะประมูลด้วย ทำคู่ขนานกันไป

จริง ๆ แผนกับทีโอทีเสร็จนานแล้ว อยู่ที่ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา คุยก่อนประมูลคลื่น 900 ด้วยตอนนี้กำลังทดสอบระบบร่วมกันอยู่

- เร่งแจกเครื่องหลังแพ้ประมูล

เรื่องแจกเครื่อง เรื่องการลงทุนเน็ตเวิร์กเพิ่มเป็นมาตรการที่เราต้องการดูแลลูกค้า เพราะวันนั้นเราไม่ได้คลื่นมา เราก็ต้องดูแลลูกค้าของเรา แต่ท้ายที่สุดพอได้คลื่นมาใหม่ สมมุติแจกเครื่องไปหมดแล้ว ลูกค้าได้อัพเกรดจาก 2 จี มา 3 จี ถือเป็นประโยชน์กับลูกค้า เป็นสิ่งที่ดี ต่อมาถ้าได้คลื่น 900 MHz ก็จะไม่นำมาทำ 2 จี จะเอามาทำ 3 จี ลูกค้าที่ย้ายมาจะได้มีคลื่นใหม่ มีเน็ตเวิร์กที่ใช้ได้ดีขึ้น
________________________________________________ ศึกมือถือดับฝันรายใหม่ "ทรู" ข้ามรุ่นไล่บี้ "AIS" หวังขึ้นเบอร์ 2


สัมภาษณ์

กลุ่มทรูเปิดเกมรุกอย่างหนัก ตั้งแต่ชิงซีนเป็นผู้นำในการให้บริการ 3G ในเมืองไทยได้สำเร็จ ก็เล่นเกมใหญ่มาตลอด แต่ที่ใหญ่และใจถึงจริง คงหนีไม่พ้นจังหวะก้าวล่าสุดกับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่เคาะราคาสู้ยิบตาชนิดไม่เกรงกลัวใคร จนเอาชนะ "เอไอเอส" มาได้ จะด้วยต้นทุนแสนแพง ทำให้ "ทรู" ต้องเล่นเกมเร็ว หรืออะไรก็แล้วแต่ "เอไอเอส และทรูมูฟ เอช" กลายเป็นคู่แข่งที่เปิดหน้าชกกันเต็มตัว แม้ว่าวันนี้จะแน่ชัดแล้วว่าคงไม่มีผู้เล่นรายที่ 4 หลัง "แจส" ทิ้งไลเซนส์ 4G คลื่น 900 MHz อีกใบไปเรียบร้อยแล้ว

สงครามมือถือจากนี้จะเป็นเช่นไร การประมูลรอบใหม่ใน มิ.ย.นี้ ทั้ง "เอไอเอสและทรู" จะลงสนามแข่งอีกครั้งหรือไม่ฟังคำตอบได้จาก 2 ซีอีโอ ดังนี้



สมชัย เลิศสุทธิวงค์ (ขวา) ศุภชัย เจียรวนนท์ (ซ้าย)




สมชัย เลิศสุทธิวงค์

- การประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่

ถือเป็นโอกาสสำหรับเรา เรื่องราคาตั้งต้นขึ้นอยู่กับ กสทช. เราสนใจแน่ในการที่จะได้คลื่นใหม่มาใช้ แต่ต้องดูเงื่อนไขของ กสทช.เช่น ถ้าเริ่มต้นที่ 7.5 หมื่นล้านก็ต้องเสนอให้คณะกรรมการบริหารบริษัทพิจารณาว่า คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร การประมูลครั้งที่แล้ว เราไม่ได้สนใจแถบคลื่นลอตที่หนึ่ง จึงต้องมานั่งวิเคราะห์กันใหม่

- จะส่งผลถึงดีลที่ทำกับทีโอทีหรือไม่

ไม่ครับ เรื่องนี้เราชัดเจนว่าแยกเป็นสองส่วน เรื่องทีโอที เป็นบิสซิเนสโมเดลที่เราเข้าไปทำ ส่วนการประมูลอย่าว่าแต่คลื่น 900 MHz สมมุติมีคลื่น 2600 MHz ออกมาก็จะประมูลด้วย ทำคู่ขนานกันไป

จริง ๆ แผนกับทีโอทีเสร็จนานแล้ว อยู่ที่ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา คุยก่อนประมูลคลื่น 900 ด้วยตอนนี้กำลังทดสอบระบบร่วมกันอยู่

- เร่งแจกเครื่องหลังแพ้ประมูล

เรื่องแจกเครื่อง เรื่องการลงทุนเน็ตเวิร์กเพิ่มเป็นมาตรการที่เราต้องการดูแลลูกค้า เพราะวันนั้นเราไม่ได้คลื่นมา เราก็ต้องดูแลลูกค้าของเรา แต่ท้ายที่สุดพอได้คลื่นมาใหม่ สมมุติแจกเครื่องไปหมดแล้ว ลูกค้าได้อัพเกรดจาก 2 จี มา 3 จี ถือเป็นประโยชน์กับลูกค้า เป็นสิ่งที่ดี ต่อมาถ้าได้คลื่น 900 MHz ก็จะไม่นำมาทำ 2 จี จะเอามาทำ 3 จี ลูกค้าที่ย้ายมาจะได้มีคลื่นใหม่ มีเน็ตเวิร์กที่ใช้ได้ดีขึ้น

- ไม่เป็นการลงทุนซ้ำซ้อน

ไม่ครับ เรื่องลูกค้าจาก 2 จี ไป 3 จี ยังไงวันหนึ่งก็ต้องย้ายแน่นอน เหมือนมีซีดีกับดีวีดี วันหนึ่งไม่มีใครใช้ซีดี แต่พอเราไม่ได้คลื่นก็เร่งโปรแกรมให้ย้ายเร็วขึ้น

- เป็นตัวเร่ง

ต้องบอกว่าต้องทำเพื่อที่จะดูแลลูกค้ามากกว่า แต่ทำไปไม่เสียหลาย ไม่ซ้ำซ้อน วันหนึ่งก็ต้องทำ เพียงแต่อาจจะค่อย ๆ ทำได้ แต่ในจังหวะที่ไม่ได้คลื่น เน็ตเวิร์กจะปิด ต้องรีบมากขึ้น

- ประกาศว่าจะลงทุน 4 หมื่น ล. ถ้าต้องประมูลล่ะ

4 หมื่นล้าน คือเงินลงทุนเน็ตเวิร์ก ไม่เกี่ยวกับคลื่นความถี่ ถ้าได้คลื่นมา แทนที่จะเอาเงินไปซื้ออุปกรณ์ ไปทำคลื่น 2100 MHz ที่เคยบอกว่าหมื่นล้านบาท ก็ต้องไปปรับแผน

- จะเสนอบอร์ดเมื่อไร

รอให้ กสทช.ประกาศเงื่อนไขที่ชัดเจนก่อน

- 7.5 หมื่น ล.แพงไหม

ต้องดูข้อสรุปที่เป็นทางการแล้วค่อยนำไปเสนอบอร์ดบริหาร ขึ้นอยู่กับบอร์ด

- ถ้าเก็บคลื่นไว้ 1 ปี แล้วประมูลดีกว่าไหม

อย่างที่บอก มีโซลูชั่นหลากหลาย ถ้าเราไม่ได้คลื่น 900 เราก็ลงทุน 3 จี คลื่น 2100 ผมบริหารคลื่นสั้นแล้วไปได้ไกลก็ได้ หรือบริหารคลื่นยาวไปได้สั้นก็ได้ เหมือนคลื่นวิทยุ ถ้าเป็นเอเอ็ม ก็ลงทุนสถานีน้อย และวิ่งไปได้ไกล แต่คุณภาพไม่ดี วันนี้ผมลงทุนเยอะหน่อยเป็นเอฟเอ็ม วิ่งได้ใกล้ คุณภาพดี

- ถ้าประมูลช้า ทรูจะนำไปก่อน

การที่ทรูได้ไปก่อน เอไอเอสก็มีแผนรองรับอยู่แล้ว หาก กสทช.บอกจะเร่งประมูลเราประมูลได้มาก็ปรับแผนกลับมาตรงนี้ได้

- บทเรียนในกรณีของแจส

ภาพรวมเกี่ยวกับการประมูล ที่ผ่านมาได้ให้บทเรียนว่า 1.วิธีประมูลเพื่อให้ได้ราคาสูงมาก ไม่ใช่สิ่งที่ดีกับประเทศ อย่าไปมองเงินได้จากการประมูล แต่กระทบภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกมาก เช่น ตลาดทุนสะท้อนชัด อะไรที่เอ็กซ์สตรีมไม่สมเหตุสมผล ต่างชาติ นักลงทุนไม่ยอมรับ หุ้นตก มาร์เก็ตแคปหาย 2.ที่แจสไม่มาจ่ายไม่ใช่ไม่อยากได้ อยากได้ แต่เมื่อไม่สมเหตุสมผลทางธุรกิจ แบงก์ หรือพาร์ตเนอร์จะมาก็ยาก เขาอาจมองไม่ทะลุ เพราะไม่เคยทำธุรกิจมือถือมาก่อน

- ถือว่าโล่งอก เพราะไม่มีรายที่ 4

ที่ผ่านมาผมโอเพ่น นักลงทุนแพนิกว่า พอมีรายที่ 4 จะเข้ามากินมาร์เก็ตแชร์ แต่ผมมองว่า ประเทศไทยวันนี้มีมากกว่า 3 รายอยู่แล้ว เช่น ทีโอที และแคท จะไปบอกว่าเขาไม่แข็งแรงก็ไม่ใช่ ในอดีตมีรายที่ 4 อย่างฮัทชิสันมาแล้ว คงต้องบอกว่าการลงทุนโทรคมนาคม ไม่ใช่ว่าต้องมีกี่รายแต่ต้องมีรายที่มีความพร้อมทั้งการลงทุนโครงข่ายและการบริหารธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องง่าย

- คิดว่าจะมีรายใหม่ไหม

ยาก ตลาดบ้านเรา 3 รายที่มีอยู่แข็งแรงมาก ไม่ใช่ทำกันเล่น ๆ หลอก ๆ แต่ตั้งใจจริง คนใหม่เข้ามาได้ แต่ไม่ง่ายที่จะเข้ามาแทรกซึม หรือกินตลาดได้เยอะแยะ

- แจสทำให้โอเวอร์ไพรซ์

ขึ้นอยู่กับผู้กำกับดูแล ถามว่าวันนี้ 7 หมื่นล้านบาทแพงไหม ไม่แพงถ้าทุกคนเข้ามาที่ราคานี้ เหมือนรถยนต์ในบ้านเรา ใครมาต้องเสียภาษีเท่ากันก็ไม่แพง

- ไลเซนส์ใหม่ต่ำกว่าทรูไม่ได้

ใจผมอยากให้ผู้กำกับดูแลกล้า ๆ เช่น ถ้าประมูลใหม่แล้วได้ที่ 4 หมื่นล้านบาท ก็ให้ลดราคาให้ทรูไปเลย ยอมรับได้ว่าต้องแฟร์ ถ้าอยากให้อุตสาหกรรมดี นี่คือข้อเสนอผม ต้องลดให้เขา เพราะเราอยากให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม

การประมูลที่ผ่านมา วิธีมีเจตนาดี แต่เมื่อออกมาแล้วจะเห็นว่า ไม่ดี ตลาดหุ้นเสียและทำไม่ได้จริง ถ้ามีโอกาสทำใหม่ ทำราคาถูกลดให้เขาก็มีเหตุผลอธิบายได้ ไม่ได้โกงชาติ และเป็นแฟร์เพลย์

- แต่ให้จ่ายเท่าทรูไม่จ่าย

อย่างที่บอกว่า ขึ้นอยู่กับ กสทช. และเราต้องไปปรึกษาบอร์ดบริษัท ถ้าเอาเราก็เข้าประมูล ถ้าบอกว่าราคานี้ไม่เอา ก็ไม่เข้า

- ตอนนี้เหมือนเอไอเอสแข่งกับทรู

เราเองมีหน้าที่ทำสองอย่าง อย่างแรกดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด ใช้เงินเท่าไรเราก็ทำ สองเมื่อได้ 4 จีมา เป็นประโยชน์ก็ต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้




ศุภชัย เจียรวนนท์

- จะเข้าประมูลรอบใหม่ด้วยไหม

ต้องขอรอดูเงื่อนไขและต้องหารือบอร์ดบริษัท การประมูลต้องใช้เงินเยอะ

- ใช้เงินไปเยอะแล้ว

ก็เป็นข้อจำกัด เพราะใช้เงินไปหลายหมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องหารือกับบอร์ดก่อน

- กลายเป็นทรูจ่ายแพงไป

คงไม่ เงื่อนไข กสทช.ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประมูลชนะเชื่อว่าจะให้ความเป็นธรรมกับเรา

- คลื่นที่ได้ไปจะเบรกอีเวนต์เมื่อไร

ธุรกิจไม่ได้แบ่งเป็นคลื่นมองเป็นธุรกิจมือถือปีนี้อาจหนักแต่ปีหน้าน่าจะกลับมากำไร

-การแข่งขันรุนแรงขึ้น

คิดว่าเป็นสเต็ปที่ดีการแข่งขัน การสร้างนวัตกรรม การดึงตลาดเข้าสู่ยุคที่ทันต่อการพัฒนาโลก เป็นเรื่องดีกับสังคมและเศรษฐกิจไทย เรามองระยะยาว และดำเนินการตามแผนไม่มีหยุด ไม่มีชะลอ เรามองลูกค้า มองตลาด มองความต้องการของประเทศเป็นหลัก อยากแสดงความมั่นใจให้นักลงทุน ธนาคาร และนานาประเทศว่า ประเทศไทยเดินต่อเนื่องในเรื่อง 4 จี ตามครรลองที่ถูกต้อง เมื่อกติกาเป็นอย่างนี้ ประมูลได้ไม่มา ก็ประมูลใหม่ และเราเองประมูลได้แล้วก็เดินหน้าเต็มที่

- ถ้าราคาตั้งต้นต่ำกว่าราคาที่แจสได้

กสทช.คอนเฟิร์มว่า เป็นราคาที่แจส ได้ไป (75,650 ล้านบาท) เราได้รับการตอบจาก กสทช.เป็นลายลักษณ์อักษรแบบนั้น

- ถ้ามีการปรับเปลี่ยนไป

ถ้าปรับลดก็ต้องปรับของเราด้วย ให้เป็นธรรม เราขอแค่นั้น เชื่อว่า กสทช.จะให้ความเป็นธรรมกับเรา รวมทั้งรัฐบาลด้วย

- มีข้อเสนออะไรไหม แจสไม่จ่าย แต่เราจ่าย

ยังตอบอะไรไม่ได้ เราหวังว่าจะได้ความเป็นธรรม และเสมอภาค เพราะมีความตั้งใจจริงในการเข้าประมูล และดำเนินการตามที่ได้คอมมิตไว้ เชื่อว่าสิ่งที่ทำนำมาซึ่งประโยชน์ในการใช้คลื่นของผู้บริโภค และประเทศด้วย

การประมูลครั้งนี้ทั่วโลกติดตาม เราก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นในฐานะโอเปอเรเตอร์ไทย ทั้งต่อ กสทช. และรัฐบาลไทย

- คิดว่าได้บทเรียนอะไรบ้าง

เป็นบทเรียนที่สำคัญในเรื่องคุณสมบัติผู้ประมูลที่ต้องมีทั้งศักยภาพทุนและประสบการณ์ที่จะเข้ามาทำได้จริงตั้งใจจริงและมีศักยภาพเพียงพอ

กรณีเพิ่มเงินค้ำประกัน ก็ต้องมีมาตรการที่ดี ถ้าเป็นบริษัทตัวเปล่า ปิดบริษัทไปเฉย ๆก็ไม่รู้จะไปเอาเงินจากใคร กระบวนการจึงต้องลึกซึ้งกว่าเพิ่มเงินมัดจำ

- ต้องปรับแผนอะไรไหมจากกรณีนี้

ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความชัดเจนเกิดขึ้น เพราะตลาด และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมสะเทือนเยอะ กับการที่จะมีรายที่สี่ แต่ในแง่เราไม่ได้อะไรมาก เพราะตั้งอยู่บนคุณภาพ และการนำมาซึ่งบริการที่ดีต่อตลาด

เรามีความเชื่อมั่นต่อตลาด ต่อหน่วยงานกำกับดูแล การประมูลคลื่น 900 มาได้ทำให้เราให้บริการ 4 จี LTE แอดวานซ์ได้อย่างมีคุณภาพ เพราะจะทำได้จริงเต็มประสิทธิภาพต้องมีคลื่นถึง 40 MHz แต่เรามีรวมกันทุกคลื่น 55 MHz เป็นรายเดียวที่มีศักยภาพในการให้บริการ

ที่ผ่านมาเรานำคนไทยเข้าสู่ 3 จีมาแล้ว จากนี้จะนำไปสู่ 4 จี ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่จะดึงราคาลงมาทั้งค่าบริการ ทั้งมือถือแท็บเลต และอุปกรณ์ไอโอทีต่าง ๆ

- มาร์เก็ตแชร์จะขยับมากขึ้น

เพิ่มแน่นอน เพราะลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ความเร็ว หรือโทรศัพท์อีกต่อไป แต่ต้องการชีวิตที่ดีขึ้น

เราเติบโตได้ในช่วง 2 เดือนแรก เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ กำลังเร่งติดตั้งเครือข่าย 2 จี คลื่น 900 MHz กลางเม.ย.จะมี 1.6 หมื่นสถานีฐานเท่า 2 จีเดิม พอดีกับที่การยืดอายุการใช้ 2 จี จะสิ้นสุดประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ใช้คลื่น 900 และเครือข่ายดีแทคไม่ครอบคลุมก็จะไม่เดือดร้อน เปลี่ยนซิมมาใช้ของเราได้ทันที

- ลูกค้า 4 จี และเป้าสิ้นปี

น่าจะมี 4 ล้านเลขหมาย จากฐาน 20-21 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 23% เป้าปีนี้อยากได้เกิน 30% หรือ 6 ล้านขึ้นไป

- มีลูกค้า 900 ย้ายมาเยอะไหม

เน็ตเวิร์กเรากำลังค่อย ๆ ขึ้น ยังไม่ได้โปรโมตเต็มที่จะเสร็จทั่วประเทศกลาง เม.ย. ตั้งแต่ ม.ค.มีคนขอย้ายค่ายกว่า 1 ล้านคน แต่ต้องพูดตรง ๆ ว่า ที่บอกว่าคงสิทธิเลขหมายแล้วจะย้ายมานั้นโดนดึงจากบริษัทที่ลูกค้าต้องการย้ายมา เป็นเรื่องที่เราต้องต่อสู้ต่อไป

- ภาพการแข่งขันจะเปลี่ยนไปอย่างไร

จะไปสู่ยุคไอโอที (Internet of Things) ที่ทุกอย่างเชื่อมสู่อินเทอร์เน็ต มีอุปกรณ์สวมใส่ต่าง ๆ เช่น นาฬิกาที่มีจีพีเอสในตัว และเรื่องสุขภาพ ต่อไปคนยุคใหม่จะเอาใจใส่กับสุขภาพเยอะมาก มีอีกหลายเรื่อง ธุรกิจต้องการเวิร์กฟอร์ซแมเนจเมนต์ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงสมาร์ทฟาร์มมิ่งทำให้ซัพพลายกับดีมานด์ตรงกัน ของที่ต้องทิ้งลดลง ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ

- จะแซงดีแทคเป็นที่สองเมื่อไร

เร็ว ๆ นี้ครับ เอาเป็นว่า ปีนี้มีสิทธิ์ลุ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1459148532

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.