Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 เมษายน 2559 ศาลยกฟ้อง TOT ขอใช้คลื่น 470 MHz เหตุผลโดยสรุปว่า กสทช. มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ซึ่งการกำหนดให้คืนคลื่นความถี่ถือเป็นการคืนโดยผลของกฎหมาย

ประเด็นหลัก



“ที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้ ด้วยเหตุผลโดยสรุปว่า กสทช. มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ซึ่งการกำหนดให้คืนคลื่นความถี่ถือเป็นการคืนโดยผลของกฎหมาย ดังนั้นการที่ กสทช. ไม่ขยายระยะเวลาการใช้คลื่นย่าน 470 MHz จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และมติดังกล่าวยังคงมีผลโดยสมบูรณ์ต่อไป”

สำหรับคดีนี้อาจจะมีการรายงานให้บอร์ด กทค.ทราบในวันที่ 12 เม.ย. 2559 นี้ และคำพิพากษานี้จึงนับว่าเป็นการวางบรรทัดฐานเรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่สำคัญอีกวาระหนึ่ง



____________________________



มีรายงานจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แจ้งว่า ตามที่ กทค. เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2554 ไม่อนุมัติให้ บมจ. ทีโอที ขยายระยะเวลาใช้คลื่นความถี่ย่าน 470 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการโทรศัพท์ประจำที่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ต่อมา บมจ.ทีโอที อ้างสิทธิว่าได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 470 MHz ตั้งแต่สมัยที่ยังมีสถานะเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ดังนั้นจึงฟ้องร้องต่อ ศาลปกครองกลางเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติ กทค. ดังกล่าว

“ที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้ ด้วยเหตุผลโดยสรุปว่า กสทช. มีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ซึ่งการกำหนดให้คืนคลื่นความถี่ถือเป็นการคืนโดยผลของกฎหมาย ดังนั้นการที่ กสทช. ไม่ขยายระยะเวลาการใช้คลื่นย่าน 470 MHz จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และมติดังกล่าวยังคงมีผลโดยสมบูรณ์ต่อไป”

สำหรับคดีนี้อาจจะมีการรายงานให้บอร์ด กทค.ทราบในวันที่ 12 เม.ย. 2559 นี้ และคำพิพากษานี้จึงนับว่าเป็นการวางบรรทัดฐานเรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่สำคัญอีกวาระหนึ่ง

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ส่วนเรื่องรายงานเกี่ยวกับการครอบงำกิจการโทรคมนาคม โดยคนต่างด้าวประจำปี 2558นี้ ผลตรวจสอบพบว่า มีผู้รับใบอนุญาตที่ต้องปฏิบัติตามทั้งสิ้น 71 ใบอนุญาต ผลในเบื้องต้นไม่พบว่ามีผู้รับใบอนุญาตที่มีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงว่าอาจก่อให้เกิดการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว และไม่ปรากฏหลักฐานโดยมีเหตุอันสมควรว่าผู้รับใบอนุญาตรายใดมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่กำหนดไว้ในประกาศ

อย่างไรก็ดี สำนักงาน กสทช. ก็ได้นำเสนอถึงปัญหาอุปสรรคในการตรวจสอบไว้ด้วยว่า ที่ผ่านมาผู้รับใบอนุญาตมักจัดส่งข้อมูลเอกสารไม่เพียงพอต่อการพิจารณาของสำนักงาน กสทช. และบางรายก็ไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศอย่างครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันสำนักงาน กสทช. ก็อยู่ในระหว่างการยกร่างประกาศฉบับใหม่ขึ้นมา โดยหวังจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว

http://www.naewna.com/business/210907

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.