Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2559 บทสรุปจาการงานแถลงช่าว Ericsson จุดสำคัญ เรากำลังก้าวเข้าสู่ สังคมแห่งเครือข่าย หรือ Networked Society ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์หรือ Digital Economy












บทสรุปจาการงานแถลงช่าว Ericsson วันที่ 22 เมษายน 2559


ความสำเร็จจากงาน Mobile World Congress ไม่เพียงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเท่านั้นแต่จะส่งผลให้เกือบจะทุกๆอุตสาหกรรมต้องมีปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์ การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ และระบบคลาวด์ โดยทั้งสามส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและใช้บริการต่างๆจากระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์แบบบรอดแบนด์ได้ในทุกๆที่ทั่วโลก นั้นหมายความว่า รูปแบบของบริการรวมถึงลูกค้าและผู้ให้บริการจะไม่ได้ถูกจำกัดภายใต้ปัจจัยธุรกิจแบบเดิมๆเช่น การตลาด การขาย การส่งสินค้า สถานที่และเวลาอีกต่อไป เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่ สังคมแห่งเครือข่าย หรือ Networked Society ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์หรือ Digital Economy

มุมมองสำคัญจากงาน MWC 2016 ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมประเทศไทย

· งาน Mobile World Congress เป็นงานที่แสดงความนวัตกรรม ความร่วมมือ และกลุ่มพันธมิตร โดยจุดประสงค์เพื่อปลดล็อกผลประโยชน์ของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตโดยเฉพาะจาก นวัตกรรม 5G Internet of Things และคลาวด์ นั้นเอง

· การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตและการใช้งานโซเชียลมีเดียจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย

· ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเองก็มีแนวโน้มสอดคล้องและยอมรับกับเทรนด์และแนวโน้มดิจิตอลทั่วโลก โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

o การเข้าถึงอุปกรณ์ Connected Device กว่าร้อยละ 56 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าหนึ่งชิ้นและมีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 82

o การเข้าถึงอุปกรณ์ เครือข่ายโซเชียลมีเดีย กว่าร้อยละ 50 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทย มีใช้งานมากว่าหนึ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดีย โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 55

o การเข้าถึงSharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน กว่าร้อยละ 33 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทย มีการใช้ Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 34

§ Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน ซึ่งเป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นในเรื่องของการแบ่งปัน และกำลังเป็นกระแสแรงในโลกธุรกิจ โดยSharing Economy ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการบริโภคสินค้าเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการแบ่งปันและการใช้ทรัพยากรร่วมกันตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มสร้างสรรค์ ไอเดีย การผลิต การกระจายสินค้า ไปจนการบริโภค

· การเปลี่ยนแปลงด้านไอซีที หรือ ICT Transformation กลายหัวข้อสำคัญเร่งด่วนสำหรับทุกๆองค์กร ทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ ของ ประเทศไทย

o โมบิลิตี้ คลาวด์ และบรอดแบนด์เป็นตัวผลักดันสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society โดยสังคมเครือข่ายนั้นนั้นจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของคนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมธุรกิจ และภาครัฐ อย่างในวงกว้าง

o ปัจจุบันในประเทศไทย เราได้เห็นแล้วว่า บริการ 4G LTE ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของคนไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์และการกระจายเสียง โดยเราได้เห็นผู้ให้บริการใหม่ๆ เข้าแข่งขันและให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การรับชม VDO streaming on demand แข่งขันกับผู้ให้บริการ Digital Free TV และ และ Cable TV รวมถึง ผู้ขายและให้เช่าสื่อต่างๆ

o ดังนั้นภาคอุตสหกรรมต่างๆจำต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงด้านไอซีที หรือ ICT Transformation ที่กำลังเกิดขึ้น

o สังคมเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เนตและเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์

o สิ่งที่จะกีดขวางไม่ให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของ Internet Economy คือ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของภาคอุตสาหกรรม ข้อมูล

o ภาครัฐควรที่จะสร้างการเข้าถึงให้กับทุกคน ด้วยการสร้างบทบาทที่ชัดเจนในการวางแผนและการใช้งานสเปกตรัม ตลอดจนมีมุมมองระยะยาวและการดำเนินการแผนเครือข่าบบรอดแบนด์แห่งชาติร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ



· อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยควรที่จะมีสเปกตรัมเพิ่มขึ้นเพื่อการใช้งานโมบายบรอดแบนด์ในราคาที่ถูกลง พร้อมทั้งสร้างการแข่งขันและความน่าดึงดูดจากในภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยความสามารถของเครือข่ายที่ก้าวหน้าจะช่วยให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศจะได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ digital economy

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.