Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 กสทช. ระบุ ยคลื่น 1800 MHz ที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ใช้งานอยู่ โดยเบื้องต้นจะประมูลก่อนสิ้นสุดสัมปทานปี 2561 เป็นเวลา 6 เดือน

ประเด็นหลัก



สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. จะมีราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 152 ล้านบาท ระยะเวลาระหว่างเคาะที่ 20 นาที ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 5% ของมูลค่าราคาเริ่มต้น หรือราว 3,000 ล้านบาท และหลังจากการประมูลคลื่น 900 MHz คลื่นถัดไปที่จะประมูลคือคลื่น 2600 MHz ที่ปัจจุบันอยู่กับบมจ.อสมท ประมูลภายในปี 2560 และต่อด้วยคลื่น 1800 MHz ที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ใช้งานอยู่ โดยเบื้องต้นจะประมูลก่อนสิ้นสุดสัมปทานปี 2561 เป็นเวลา 6 เดือน



________________________________



กสทช. ยืนยัน "เอไอเอส" เข้าประมูล 4G 27 พ.ค. นี้ แต่ "ทรู" ยังไม่คอนเฟิร์ม


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2559 ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนา "ถอดรหัสบทเรียนประมูล 4G The Series" โดยมีนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เข้าร่วมเสวนาด้วย

โดยเลขาธิการ กสทช. ยืนยันว่า ขณะนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) ของบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ได้ประชุมกันเกี่ยวกับเรื่องการเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. เรียบร้อยแล้ว และได้แจ้งอย่างไม่เป็นทางการกลับมาแล้วว่า พร้อมเข้าร่วมประมูล ส่วนทางฝั่งทรูยังมีแค่สัญญาณดีที่จะเข้าร่วม เพราะช่วงรับฟังข้อชี้แจงเกี่ยวกับการประมูล ทางบริษัทนั้นส่งผู้บริหารรับสูง และทีมเข้ามาฟังหลักเกณฑ์ด้วยตนเอง

"ตอนนี้มีคนมารับซองแล้ว 2 รายคือ เอไอเอส กับทรู ซึ่งเอไอเอสแจ้งมาที่ผมแล้วว่าบอร์ดอนุมัติให้เข้าร่วม แต่ก็ไม่ขอพูดมากกว่านี้ เพราะยังเหลือเวลารับซองจนถึงวันที่ 18 พ.ค. ซึ่งเป็นทั้งวันสุดท้ายของการรับ และวันที่ยื่นซองประมูลด้วย ก่อนที่จะให้สื่อมวลชลเข้าไปที่ห้องประมูลระหว่างวันที่ 25 - 26 พ.ค. และ 27 ถึงเป็นวันประมูลจริง ซึ่งตอนนี้สำนักงานกสทช. ได้เตรียมห้องประมูลไว้สองห้องก่อน เผื่อมีผู้เข้าประมูล 2 ราย และถึงเข้าประมูลรายเดียว การประมูลนี้ก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี เพราะราคามันสูงที่สุดจากครั้งก่อนแล้ว คนเข้าร่วมเคาะครั้งเดียวก็เป็นผู้ชนะ"

สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. จะมีราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 152 ล้านบาท ระยะเวลาระหว่างเคาะที่ 20 นาที ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 5% ของมูลค่าราคาเริ่มต้น หรือราว 3,000 ล้านบาท และหลังจากการประมูลคลื่น 900 MHz คลื่นถัดไปที่จะประมูลคือคลื่น 2600 MHz ที่ปัจจุบันอยู่กับบมจ.อสมท ประมูลภายในปี 2560 และต่อด้วยคลื่น 1800 MHz ที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ใช้งานอยู่ โดยเบื้องต้นจะประมูลก่อนสิ้นสุดสัมปทานปี 2561 เป็นเวลา 6 เดือน

อย่างไรก็ตามจากการที่บริษัท แจสโมบาย บรอดแบนด์ จำกัด หรือแจส ไม่มาชำระค่าใบอนุญาตยังมีข้อดีจากเหตุการณ์นี้คือ เป็นการทลายกำแพงการฮั้วโดยสถาบันการเงิน เพราะก่อนหน้านี้การเข้าประมูลโครงการขนาดใหญ่ต้องมีธนาคารปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแต่ละธนาคารก็ให้แต่ละบริษัทไม่เท่ากัน แต่จากการประมูลนั้น "แจส" กลับเคาะราคาเกินกว่าที่ธนาคารกรุงเทพให้ไว้คือ 40,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และช่วยลดการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดจากการฮั้วโดยสถาบันการเงินอีกด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462880912

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.