Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 สุภาพร โพธิ์แก้ว ระบุ การร้องเรียนที่บอกว่าสะดวกรวดเร็ว ต้องวิเคราะห์ว่าสะดวกสำหรับผู้บริโภคจริงหรือไม่ และได้ถูกนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายหรือไม่ ตัวเลขร้องเรียน 200 กว่าเคสก็น่าสะดุดใจว่ามีการตื่นตัวจริงหรือเปล่า เพราะถือว่าน้อยมาก

ประเด็นหลัก


ด้าน "สุภาพร โพธิ์แก้ว" หัวหน้าภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้บริโภคยังถูกละเมิดและถูกละเลย กลไกการคุ้มครองของ กสทช.ยังมีปัญหา แม้จะมีการออกแบบระบบรับเรื่องร้องเรียน แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าดำเนินการได้ดี

"การร้องเรียนที่บอกว่าสะดวกรวดเร็ว ต้องวิเคราะห์ว่าสะดวกสำหรับผู้บริโภคจริงหรือไม่ และได้ถูกนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายหรือไม่ ตัวเลขร้องเรียน 200 กว่าเคสก็น่าสะดุดใจว่ามีการตื่นตัวจริงหรือเปล่า เพราะถือว่าน้อยมาก ทั้งยังไม่เห็นผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม จะเห็นเป็นแค่ในกรณีใหญ่ ๆ เท่านั้น"

ในแง่ของการคุ้มครองสื่อ การกำหนดลักษณะความควบรวม การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ หรือการครอบงำกิจการ อาจนำไปสู่การปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กสทช.ก็ยังไม่ได้วางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรคลื่นให้ชุมชน


"ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์" กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา กล่าวว่า ในส่วนการประเมินผลด้านบุคลากรของ กสทช. รายงานการประเมินผลที่จัดทำขึ้นยังไม่ได้แสดงบทบาทของพนักงานกว่าพันคนที่มีอยู่ ว่ามีความเชี่ยวชาญ มีแผนพัฒนา รวมถึงประสบปัญหาอุปสรรคใดในการปฏิบัติงานหรือไม่


____________________________






ชำแหละ แผนบรอดแคสต์ "กสทช." สอบตกเรียกคืนคลื่น



เป็นปีสุดท้ายตามระยะเวลาของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงได้ฤกษ์ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน โดยได้ว่าจ้างให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้ประเมิน พร้อมเปิดเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านได้วิพากษ์ผลการศึกษาดังกล่าวด้วย

"ผศ.ดร.รักษ์พงศ์วงศาโรจน์"อาจารย์ประจำคณะการจัดการการท่องเที่ยว นิด้า ในฐานะหัวหน้าโครงการได้ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทเปิดเผยว่า แผนแม่บทฉบับนี้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2555 โดยประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่, กำกับดูแลผู้ประกอบกิจการ, คุ้มครองผู้บริโภค, ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, พัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการ, เปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และพัฒนาระบบบริหารจัดการ

โดยในการประเมินผลตามตัวชี้วัดในแต่ละยุทธศาสตร์พบว่า ส่วนใหญ่ได้บรรลุตามตัวชี้วัดแล้วหรือกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ มีบางส่วนที่ยังไม่บรรลุผลเท่านั้น อาทิ การกำหนดเกณฑ์การใช้ประโยชน์คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการชุมชนอย่างน้อย 20% ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้นในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 6 การใช้คลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ

"ปัญหาที่บางส่วนยังไม่ผ่านการประเมินตัวชี้วัด เนื่องจากในแผนแม่บทมีความไม่ชัดเจนเรื่องนิยามและเกณฑ์ประเมิน ทั้งยังมีส่วนที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อที่เปลี่ยนไป ส่วนการขับเคลื่อนนั้นยังมีความไม่ชัดเจนของนโยบายในบางด้าน ความไม่ต่อเนื่องของกลไกการขับเคลื่อน กระบวนการดำเนินการที่มีขั้นตอนมากและมีคอขวดในบางจุด ขาดบุคลากรที่ชำนาญ รวมถึงจัดสรรทรัพยากรที่ไม่อิงกับยุทธศาสตร์ ทั้งยังมีการต่อต้านจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ความไม่พร้อม ไม่เข้าใจของผู้ประกอบกิจการหรือหน่วยงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และระบบฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องไม่เป็นปัจจุบัน"

กำหนดเวลาคืนคลื่นค้างเติ่ง

ขณะที่มุมมองของนักวิชาการอย่าง"ดร.สมเกียรติตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า การติดตามประเมินผลการทำงานตามแผนแม่บทของ กสทช.นั้น ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการดำเนินงานของ กสทช.ว่าได้รับมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่การประเมินว่ามีการจัดการไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาทิ การจัดการปัญหาข้อร้องเรียนของ กสทช. ที่ต้องดูว่ามีการแก้ไขทั้งระบบแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ดูแค่จำนวนปัญหาที่แก้ไขได้

สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ยังพบหลายปัญหาที่ยังไม่ได้ดำเนินตามแผนแม่บทกำหนดไว้ รวมถึงแนวทางปฏิรูปสื่อ ตั้งแต่การพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการใช้คลื่นของหน่วยงานรัฐ รวมถึงกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของแต่ละหน่วยงานในการถือครองคลื่น ซึ่งทั้งแผนแม่บทและ พ.ร.บ.หลักก็ได้ระบุไว้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน มีเพียงระบุว่า "อยู่ระหว่างการจัดทำ" ทั้งที่ควรจะรีบทำ

วัตถุประสงค์หลักที่ให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ เพื่อต้องการให้มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาในตลาด เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จากการแข่งขัน และความหลากหลายทางการแสดงความคิดเห็น แต่ปัจจุบันยังมีหน่วยงานรัฐที่ไม่จำเป็นต้องถือครองคลื่นไม่ได้คืนคลื่นเพื่อให้รายใหม่ได้เข้าสู่ตลาด

"สัมปทานเป็นทรัพย์สินที่เอกชนได้รับจากรัฐเป็นสิทธิ์ผูกขาดในการใช้ทรัพยากรสาธารณะ ซึ่งเราก็ได้ยินกันหนาหูว่าสัมปทานนั้นอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ในรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 จะรับรองสัมปทานที่เอกชนทำกับรัฐก่อนหน้านี้ไว้ แต่กระบวนการตรวจสอบว่าสัมปทานใดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสิ่งจำเป็น และกฎหมายระบุเป็นหน้าที่ กสทช.ไว้ แต่ดูเหมือนว่า การตรวจความชอบด้วยกฎหมายก็เหมือนไม่ได้ทำ การพิสูจน์ความจำเป็นก็เหมือนไม่ได้ทำ"

ขณะที่ในการประเมินผลของนิด้าระบุว่า กสทช.ทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์คลื่นและความจำเป็นในการใช้คลื่นเสร็จสิ้นแล้ว แต่สาธารณะไม่เคยได้เห็นว่า ใครใช้คลื่นใดในประเทศไทยเพื่อดำเนินการใด

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการคุ้มครองคลื่นไม่ให้ถูกรบกวน จึงมีหน่วยงานกำกับดูแลขึ้นมาป้องกันปัญหาโดยกำหนดให้การใช้คลื่นโดยไม่รับอนุญาตมีความผิด แต่ปรากฏว่าคลื่นส่วนใหญ่ถูกปิดด้วยคำสั่งของ คสช. จึงเกิดคำถามว่าแล้วจริง ๆ หน่วยงานกำกับดูแลนั้นทำหน้าที่ตามปกติไม่ได้หรือไม่ จึงต้องรออำนาจพิเศษมาสั่ง

คลื่นเพื่อชุมชนไม่คืบหน้า

ส่วนการใช้คลื่นสำหรับกิจการชุมชนด้านกระจายเสียงร้อยละ20 ที่ถูกระบุไว้ในกฎหมายก็ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยตามรายงานระบุว่า กสทช.ยังเรียกคืนคลื่นกลับมาหมดไม่ได้ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงบอกไม่ได้ว่ามีคลื่นเหลือเท่าไหร่และไม่รู้ว่า ร้อยละ 20 คือเท่าไหร่ ทั้งที่อย่างน้อยควรจะเริ่มดำเนินการใด ๆ บ้าง เพื่อให้เห็นเจตนา ทั้งในส่วนของกิจการโทรทัศน์ที่ได้เริ่มมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลแล้ว ก็ยังมีความล่าช้าในการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบกิจการบริการชุมชน

เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลยังทำไม่ครบ

"เรื่องวิทยุดิจิทัล พ.ร.บ.หลักไม่ได้กำหนดให้ กสทช. แต่ กสทช.กำหนดในแผนแม่บทเอง แต่ก็ยังไม่ได้ทำ เข้าใจว่าก็หนักใจกับวิทยุชุมชนอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านตรงนี้ก็เหมือนการสนับสนุนวิทยุชุมชนหรือวิทยุท้องถิ่น คือหากยังไม่ดำเนินการก็ต้องทำหน้าที่ในการปิดสถานีวิทยุที่ไม่ได้รับการอนุญาต เพราะผิดกฎหมายร้ายแรง"

ขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล แม้จะถือว่า กสทช.ทำสำเร็จ แต่ปัญหาคือเน้นการประมูลอย่างเดียว แต่การออกกฎกติกากำกับดูแลยังไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น

"ถ้าช่องทีวีดิจิทัลมีความเสี่ยงเหมือนธุรกิจทั่วไป คงไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาเกิดคือส่วนที่ กสทช.ยังไม่ได้ทำหน้าที่ตัวเองให้เต็มที่ เช่น การแจกคูปองล่าช้า การขยายและกำกับคุณภาพโครงข่าย (MUX)"



"ผศ.ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การประมูลช่องด้วยราคาค่อนข้างสูง น่าจะมาจากการคาดการณ์ตลาด แต่ปัญหาคือข้อมูลที่ผู้ประกอบการและผู้กำกับดูแลมีไม่ครบถ้วน ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน เช่น ราคาค่าเช่า MUX ภาระค่าใช้จ่ายในการนำสัญญาณส่งขึ้นดาวเทียมตามกฎมัสต์แคร์รี่

"การเปลี่ยนผ่านของไทยไปได้เร็ว เพราะมีการระดมแจกคูปอง และกฎมัสต์แคร์รี่ ทำให้ทีวีทุกแพลตฟอร์มต้องไปออกอากาศ ทีวีดิจิทัลจึงเข้าถึงผู้บริโภคอย่างครอบคลุม โดย 76% ชมผ่านเคเบิลและดาวเทียม และ 15% ชมผ่านภาคพื้นดิน แต่ความครอบคลุมกับการถูกได้รับชมนั้นไม่เหมือนกัน สิ่งที่ผู้ประกอบการได้รับคือความครอบคลุมเท่านั้น แต่การถูกได้รับชมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ กสทช.ต้องพิจารณา ในต่างประเทศศกฎมัสต์แคร์รี่จะใช้ตามความจำเป็นของสังคม คือเลือกบังคับบางช่องเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียง แต่ของไทยใช้เพื่อให้ทีวีดิจิทัลอยู่รอดเป็นหลัก การให้ทุกช่องได้สิทธิ์มัสต์แคร์รี่ทั้งหมดอาจส่งเสริมการแข่งขัน แต่จริง ๆ แล้วการแข่งขันควรเกิดจากการแข่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อผู้บริโภค"

ขณะที่ช่องทีวีดิจิทัลสามารถดึงงบฯโฆษณามาได้27%ส่วนช่องทีวีรายเดิมอยู่ที่ 73% นั้นคงสัดส่วนนี้มานานแล้ว ทั้งในบรรดาช่องใหม่ยังมีการกระจายของรายได้ค่าโฆษณาที่ไม่เท่ากัน สะท้อนว่าจะมีผู้ประกอบการรายที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว แม้ปัจจัยหลักจะมาจากเนื้อหา แต่ส่วนหนึ่งก็เกิดจาก กสทช.

ผศ.ดร.พรเทพกล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัลของไทยมีอุปสรรคพอสมควร ทั้งการแจกคูปอง โครงข่าย กฎระเบียบของ กสทช. ซึ่งล้วนเกิดจากการที่ กสทช.ไม่มีแผนที่ชัดเจนแน่นอน และใช้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ และประเด็นสำคัญคือยังไม่ได้กำหนดวันปิดระบบแอนะล็อก ทั้งในส่วนของโครงข่ายที่มีผู้ให้บริการเพียง 4 ราย จึงทำให้อำนาจต่อรองสูง เจ้าของช่องไม่มีทางเลือก กสทช.จึงควรเข้ามากำกับดูแล

เช่นเดียวกับการเรียกคืนคลื่นที่ยังไม่มีความคืบหน้า แม้แต่คลื่น 1 ปณ. ของ กสทช.เอง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า กสทช.ไม่จริงจังในการจัดการคลื่นด้านกิจการกระจายเสียง จนเหมือนเป็นการรักษาคลื่นให้หน่วยงานที่ถือครองคลื่นเดิม โดยเฉพาะกองทัพที่ถืออยู่ถึง 201 คลื่นทั่วประเทศ

ผู้บริโภคถูกละเลย

ด้าน "สุภาพร โพธิ์แก้ว" หัวหน้าภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้บริโภคยังถูกละเมิดและถูกละเลย กลไกการคุ้มครองของ กสทช.ยังมีปัญหา แม้จะมีการออกแบบระบบรับเรื่องร้องเรียน แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าดำเนินการได้ดี

"การร้องเรียนที่บอกว่าสะดวกรวดเร็ว ต้องวิเคราะห์ว่าสะดวกสำหรับผู้บริโภคจริงหรือไม่ และได้ถูกนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายหรือไม่ ตัวเลขร้องเรียน 200 กว่าเคสก็น่าสะดุดใจว่ามีการตื่นตัวจริงหรือเปล่า เพราะถือว่าน้อยมาก ทั้งยังไม่เห็นผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม จะเห็นเป็นแค่ในกรณีใหญ่ ๆ เท่านั้น"

ในแง่ของการคุ้มครองสื่อ การกำหนดลักษณะความควบรวม การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ หรือการครอบงำกิจการ อาจนำไปสู่การปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กสทช.ก็ยังไม่ได้วางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรคลื่นให้ชุมชน

"ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์" กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา กล่าวว่า ในส่วนการประเมินผลด้านบุคลากรของ กสทช. รายงานการประเมินผลที่จัดทำขึ้นยังไม่ได้แสดงบทบาทของพนักงานกว่าพันคนที่มีอยู่ ว่ามีความเชี่ยวชาญ มีแผนพัฒนา รวมถึงประสบปัญหาอุปสรรคใดในการปฏิบัติงานหรือไม่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1463380812

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.