Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 DTAC การรีเฟรชแบรนด์ ไม่ใช่รีแบรนด์ แต่ทำเพื่อให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพขึ้น จากนี้จะได้เห็นโปรดักต์ใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น บริการ voice over wifi เราก็เป็นรายแรกในไทย

ประเด็นหลัก


"ดีแทค" เตรียมรีเฟรชแบรนด์ใหม่เพิ่มสปีดการทำตลาดสร้างภาพลักษณ์บริการ "ดิจิทัล" ปรับโครงสร้างการทำงานเพิ่มโฟกัส "โพสต์เพด-ไฟแนนเชียล" เต็มสูบปูพรมติดอุปกรณ์ 4G บนเสาทุกต้น พรึ่บภายในกลางปี อัพเกรดคลื่น 1800 MHz ขึ้น 4G เป็น 20 MHz รองรับลูกค้าเปลี่ยนมาใช้ 3G และ 4G ทั้งกระทุ้งรัฐคลอดแผนจัดสรรความถี่ภายในสิ้นปี

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เร็ว ๆ นี้ บริษัทจะรีเฟรชแบนด์ทั้งหมดเพื่อย้ำจุดยืนความเป็นผู้นำบริการดิจิทัลให้ชัดเจนขึ้น และให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพขึ้นในจังหวะที่บริษัทเข้าสู่การให้บริการระยะที่ 3 หรือยุคดิจิทัล จากระยะแรกที่เน้นบริการเสียง ระยะที่สองบริการข้อมูล (ดาต้า)



"การรีเฟรชแบรนด์ ไม่ใช่รีแบรนด์ แต่ทำเพื่อให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพขึ้น จากนี้จะได้เห็นโปรดักต์ใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น บริการ voice over wifi เราก็เป็นรายแรกในไทย ทั้งการพัฒนาบริการใหม่ ๆ และการรีเฟรชแบรนด์มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้ดีแทคเป็นผู้นำบริการดิจิทัลและช่วยยกระดับไทยเข้าสู่ผู้นำด้านดิจิทัล"


________________________________



"ดีแทค"ขยับรีเฟรชแบรนด์มุ่ง"ดิจิทัล"-เพิ่มสปีดลุยตลาด


"ดีแทค" เตรียมรีเฟรชแบรนด์ใหม่เพิ่มสปีดการทำตลาดสร้างภาพลักษณ์บริการ "ดิจิทัล" ปรับโครงสร้างการทำงานเพิ่มโฟกัส "โพสต์เพด-ไฟแนนเชียล" เต็มสูบปูพรมติดอุปกรณ์ 4G บนเสาทุกต้น พรึ่บภายในกลางปี อัพเกรดคลื่น 1800 MHz ขึ้น 4G เป็น 20 MHz รองรับลูกค้าเปลี่ยนมาใช้ 3G และ 4G ทั้งกระทุ้งรัฐคลอดแผนจัดสรรความถี่ภายในสิ้นปี

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เร็ว ๆ นี้ บริษัทจะรีเฟรชแบนด์ทั้งหมดเพื่อย้ำจุดยืนความเป็นผู้นำบริการดิจิทัลให้ชัดเจนขึ้น และให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพขึ้นในจังหวะที่บริษัทเข้าสู่การให้บริการระยะที่ 3 หรือยุคดิจิทัล จากระยะแรกที่เน้นบริการเสียง ระยะที่สองบริการข้อมูล (ดาต้า)

"การรีเฟรชแบรนด์ ไม่ใช่รีแบรนด์ แต่ทำเพื่อให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพขึ้น จากนี้จะได้เห็นโปรดักต์ใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น บริการ voice over wifi เราก็เป็นรายแรกในไทย ทั้งการพัฒนาบริการใหม่ ๆ และการรีเฟรชแบรนด์มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้ดีแทคเป็นผู้นำบริการดิจิทัลและช่วยยกระดับไทยเข้าสู่ผู้นำด้านดิจิทัล"

และบริษัทได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอีกครั้งเพื่อให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่บริการโพสต์เพด(รายเดือน) กลับมาเติบโตอย่างรวดเร็ว และดีแทคต้องการกลับเข้ามาทำตลาดจริงจัง โดยการปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องปกติขององค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องปรับตัวให้ทันตลาด รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีขึ้น

"เราไม่มีการตัดคนออก และจะพยายามเปลี่ยนผ่านให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด บริการด้านการเงินถือเป็นบริการที่สำคัญรองรับการเติบโตที่รวดเร็วของตลาดอีเพย์เมนต์ในไทย ซึ่งเราเตรียมเปิดตัวบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีวอลเลตอีกครั้งเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้บริการบิลเพย์เมนต์ และการเติมเงินพรีเพดทำได้ดีกว่าเดิม และเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐที่กำลังผลักดันเรื่องอีเพย์เมนต์"

โดยดีแทคสนับสนุนนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีเต็มที่และเชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ได้แม้ปัจจุบันจะตามหลังมาเลเซีย และสิงคโปร์เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมาก จากการที่โอเปอเรเตอร์เปิดตัว 3G และ 4G จริงจัง กระตุ้นให้เกิดการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญของไทย คือ การปลดล็อกกฎระเบียบเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมดิจิทัลอีโคโนมีอย่างแท้จริง อาทิ กฎระเบียบที่อนุญาตให้มีระบบ e-Tax e-Invoice e-Receipt e-Signature รองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ

รวมถึงการมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคตที่ชัดเจนว่าจะมีย่านคลื่นใดนำมาจัดสรรด้วยวิธีการใดในช่วงเวลาใดบ้างเพราะความถี่เป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นด้วยจึงควรมีความชัดเจน อย่างช้าที่สุดในสิ้นปีนี้

โดยดีแทคได้ทำข้อเสนอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลพิจารณาแล้ว รวมถึง กสทช.

"สเป็กตรัมโรดแมปเป็นสิ่งที่ดีแทคผลักดันมานานแล้ว ยอมรับว่าส่วนหนึ่งเพราะดีแทคสัมปทานกำลังจะหมด แต่คลื่นความถี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีแทคต้องการเพียงรายเดียว ทั้งอุตสาหกรรมต้องการทราบความชัดเจนว่า แต่ละย่านความถี่จะดำเนินการอย่างไร อย่างคลื่น 850 MHz และ 1800 MHzที่จะหมดสัมปทานจะนำออกประมูลปีไหน หรือคลื่น 700 MHz ที่จะว่างลงจากการเปลี่ยนผ่านทีวีสู่ระบบดิจิทัล คลื่น 2300 และ 2600 MHz ที่ยังอยู่กับหน่วยงานราชการ และไม่ได้ใช้งาน จะมีการจัดสรรใหม่เมื่อไร"

เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้งานดาต้าสูงมาก รวมเข้ากับการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการจัดสรรคลื่น ขณะที่ประเทศอื่นไปเร็วมาก เช่น มาเลเซีย ปล่อยคลื่นให้เอกชนทั้ง 850, 900, 1800 และ 2600 MHz แล้ว

"การมีโรดแมปที่ชัดเจนทำให้เอกชนมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ที่ผ่านมายังไม่ได้มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความล่าช้าของการมีแผนดังกล่าว แต่ถึงแม้จะมีหรือไม่มีแผนสเป็กตรัม ดีแทคก็ต้องมีแผนรองรับทุกสถานการณ์ เพราะไม่ว่าจะมีคลื่นมากหรือน้อยก็สามารถออกแบบเพื่อให้คลื่นที่มีอยู่ให้บริการลูกค้าได้เต็มที่ เช่น สร้างเน็ตเวิร์กให้มีเสาถี่ขึ้น ฉะนั้นต่อให้ไม่มีคลื่นย่านใหม่ ดีแทคก็ไม่ถึงกับมีปัญหา เพียงแต่การมีสเป็กตรัมโรดแมปเป็นผลดีกับทั้งประเทศ"

ปัจจุบันดีแทคใช้คลื่นความถี่ 50 MHz เต็มที่ ประกอบด้วย 850 MHz จำนวน 10 MHz สำหรับขยายบริการ 3G ครอบคลุม 90% ของประเทศแล้ว คลื่น 2100 MHz อีก 15 MHz แบ่งใช้สำหรับ 3G จำนวน10 MHz และ 4G จำนวน 5 MHz ซึ่งภายในไตรมาส 3 จะติดตั้งระบบ 4G ครบเสาทุกต้นที่มี และอีก 25 MHz บนคลื่น 1800 MHz ถือเป็นแบนด์วิดท์ที่กว้างที่สุด ใช้งานระบบ 2G อยู่ 10 MHz และบริการ 4G อีก 15 MHz แต่ภายในกลางปีนี้จะขยาย 4G เป็น 20 MHz เนื่องจากการใช้ 2G เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ทั้งไม่จำเป็นต้องเตรียมคลื่นไว้สำหรับโรมมิ่งลูกค้า 2G ของเอไอเอสแล้ว

ส่วนการเจรจากับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่ออัพเกรดคลื่น 1800 MHz ในส่วน UpperBand 20 MHz สำหรับให้บริการ 4G อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากรัฐบาล แต่ไม่ว่าจะได้คลื่น Upper Band มาหรือไม่ก็มีบริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz ที่มีแถบคลื่นกว้างกว่าโอเปอเรเตอร์อื่น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462359343

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.