Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2559 CAT ขออัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G ได้ต้องเข้ากระบวนการ ครม. เช่นกัน น่าจะเสร็จได้ไล่เลี่ยกัน ซึ่งดีแทคจะมีสิทธิ์ใช้งานราว 85% ของความจุคลื่น อีก 15% แคท และ MVNO ของแคทจะได้ใช้ ถือว่า Win-Win

ประเด็นหลัก


"ถ้าทำได้เรียบร้อย ทรัพย์สินสัมปทานกับดีแทคก็ไม่ต้องมีปัญหาระหว่างกัน นำมาทำหารายได้เพิ่มได้หลักพันล้านบาท ส่วนการขออัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G ได้ต้องเข้ากระบวนการ ครม. เช่นกัน น่าจะเสร็จได้ไล่เลี่ยกัน ซึ่งดีแทคจะมีสิทธิ์ใช้งานราว 85% ของความจุคลื่น อีก 15% แคท และ MVNO ของแคทจะได้ใช้ ถือว่า Win-Win เพราะดีแทคจะได้คลื่น 4G เพิ่ม แคทจะมีคลื่น 4G ให้บริการทั้งกับลูกค้าตนเอง และ MNVO ถ้าโมเดลของดีแทคชัดเจน การเจรจาข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินสัมปทานระหว่างแคทกับทรู ก็จะเดินหน้าไปได้ด้วย ทรูก็ยังรอดูโมเดลนี้"

เปิด 4G ให้ลูกค้า my
ส่วนปัญหาการค้างชำระเงินตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างแคทกับกลุ่มทรูนั้น ล่าสุดในส่วนบริษัทเรียลฟิวเจอร์ ที่ค้างชำระหนี้อยู่ราว 9,000 ล้านบาท น่าจะเคลียร์ได้ภายในเดือน มิ.ย. ซึ่งจะทำให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้แบรนด์ "my" มีบริการ 4G ให้ลูกค้าได้ใช้ด้วย เนื่องจากทรูฯ จะใช้หนี้ให้เป็นเงินสดรวมกับการให้สิทธิ์แคทใช้ความจุคลื่น เพื่อให้บริการ 4G แต่ไม่อนุญาตให้ MNVO ของแคทใช้งานได้

ปัจจุบัน my มีฐานลูกค้า 1.4 ล้าน เลขหมาย และตั้งเป้าในสิ้นปีไว้ที่ 2 ล้านเลขหมาย ขณะที่รายได้ ณ สิ้นปี 2558 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,180 ล้านบาท ปัจจุบันมี MVNO 4 ราย ได้แก่ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ บริษัท ไวท์ สเปซ จำกัด และ บมจ. สามารถ ไอ-โมบาย คาดว่าเมื่อมีบริการ 4G และปรับปรุงบริการ รวมถึงเพิ่มช่องทาง จำหน่ายซิมเพิ่มจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
_________________________________
ดัน 'แคท' เร่งพลิกองค์กรหารายได้ กดปุ่ม My4G -ผุด 'อินโนเวชั่นพาร์ค' - ร่วมทุนดีแทค


"แคท" รุกหนักสมาร์ทซิตี้ ผุดโครงการอินโนเวชั่นพาร์คบนพื้นที่ศรีราชา 400 ไร่ จับมือบริษัทอสังหาฯปั้นเมืองใหม่เลียนแบบ "ซองโด" เกาหลีใต้ พร้อมเปิดตัวบริการ 4G เร็ว ๆ นี้ หลัง "ทรู" ยอมให้สิทธิ์ใช้คลื่นบางส่วนจ่ายหนี้เรียล ฟิวเจอร์ ขณะที่ดีลร่วมทุนกับดีแทค ใกล้คลอด คาดไม่เกิน ต.ค.ได้เห็น ทั้งเผยบอร์ดเตรียมให้ซีอีโอคนใหม่หา New s cure พลิกฟื้นองค์กร

นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการและรักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล แคทได้รับ มอบหมายงานในส่วนการผลักดันศูนย์ บ่มเพาะสตาร์ตอัพ โดยใช้โมเดลของเกาหลีใต้ที่จะให้บริษัทใหญ่ร่วมสร้างศูนย์บ่มเพาะและดึงสตาร์ตอัพมาร่วมธุรกิจด้วย

ทั้งนี้ แคทจะจัดสรรพื้นที่ตั้งศูนย์ บ่มเพาะที่เหมาะสมทั้งด้านสถานที่ตั้งและ โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เริ่มที่ตึกแคท บางรัก อย่างน้อย 3 ชั้น โดยเริ่มชั้นแรกแล้วด้วยการร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. พัฒนาให้เป็นดิจิทัลแมนูแฟกเจอริ่ง มีอุปกรณ์ห้องแล็บ อาทิ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สำหรับสร้างงานต้นแบบได้ที่นี่

อินโนเวชั่นพาร์ค 400 ไร่
และยังมีโครงการสมาร์ทซิตี้ จังหวัดภูเก็ต ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่โครงการใหญ่สุดคือจะใช้พื้นที่บริเวณศูนย์โทรคมนาคม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ราว 400 ไร่ จะสร้างเป็น "อินโนเวชั่น พาร์ค" ครบวงจร ซึ่งจะใช้เขตธุรกิจสากล เมืองซองโด ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้นแบบ โดยจะเปิดให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่มีประสบการณ์เข้ามาร่วมลงทุนด้วย

"เป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญ Next Generation ต่อไป ต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และแอปพลิเคชั่นต่อยอด ซึ่งการมีพื้นที่สำหรับทดสอบ ห้องแล็บทดลองสำคัญมาก จึงจะทำเป็นเมืองย่อม ๆ ที่มีทั้งแล็บ เป็นบิสซิเนสเซ็นเตอร์ และที่พักอาศัยแบบครบวงจร ศักยภาพด้าน ออโตโมบิลของไทยจะยิ่งเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่ได้จำกัดเฉพาะด้านยานยนต์"

ขณะนี้อยู่ระหว่างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษามืออาชีพมาวางแผนและประเมินมูลค่าโครงการ คาดว่าจะดีไซน์โครงการทั้งหมดและประกาศเงื่อนไขทางเทคนิค (TOR) เพื่อเปิดประมูลผู้บริหารโครงการได้ราวไตรมาส 3 ปีนี้ ทั้งจะพยายามให้เริ่มโครงการในต้นปีหน้า

ลุยคลาวด์โซลูชั่นสัญชาติไทย
นอกจากนี้ยังจะร่วมพัฒนาสตาร์ตอัพด้วยการดึงมาทำธุรกิจต่อยอดบนฐานของบริการเดิมที่แคทมี โดยกำลังจะเปิดตัวบริการคลาวด์โซลูชั่นรายแรกที่สร้างโดยคนไทย จากเดิมเน้นเอาต์ซอร์ซให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ของต่างประเทศดำเนินการ อาทิ Cloud Computing Service ของ Amazon หรือคลาวด์ของไมโครซอฟท์

"ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ต้องไปเช่าใช้ของต่างประเทศอีกต่อ เมื่อแคททำเอง ต้นทุนจะถูกลง ต่างจากบริการไอคลาวด์เดิมของแคทที่เป็นการจับมือกับพันธมิตรจาก ต่างประเทศ ซื้อหรือเช่ามาให้บริการต่อทำให้ราคาสูง สู้ในตลาดยาก ส่วนบริการใหม่น่าจะเปิดตัวได้ในเดือน มิ.ย.นี้ เพราะอินฟราสตรักเจอร์ทุกอย่างขึ้นหมดแล้ว จะเป็นบริการคลาวด์ครบวงจรที่เปิดให้ สตาร์ตอัพมาใช้งาน โดยมีปลั๊กอินให้พร้อม

ต่อยอดการพัฒนาได้เหมือนบริการคลาวด์ของ Amazon ยอมรับว่าในบริการล่าสุด เราอาจเป็นน้องใหม่ แต่ต้องเริ่มต้นทำ โดยเลือกใช้โมเดลสตาร์ตอัพมาจับเป็นการลองตลาดใหม่ไปพร้อมกันทั้งสตาร์ตอัพและแคท"

ลุ้นดีลร่วมทุนดีแทคผ่าน ครม.
สำหรับการพลิกฟื้นองค์กร และแก้ไขข้อพิพาทกับเอกชน นายสุรพันธ์กล่าวต่อว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อระงับข้อพิพาทตามสัมปทานและทำธุรกิจร่วมกันนั้น ในขณะนี้ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการตามมาตรา 43 พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แล้ว อยู่ระหว่างรอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณาเสนอเข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบไป คู่ขนานกันด้วย เชื่อว่าราว ก.ย.-ต.ค.นี้ จะเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด

"ถ้าทำได้เรียบร้อย ทรัพย์สินสัมปทานกับดีแทคก็ไม่ต้องมีปัญหาระหว่างกัน นำมาทำหารายได้เพิ่มได้หลักพันล้านบาท ส่วนการขออัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G ได้ต้องเข้ากระบวนการ ครม. เช่นกัน น่าจะเสร็จได้ไล่เลี่ยกัน ซึ่งดีแทคจะมีสิทธิ์ใช้งานราว 85% ของความจุคลื่น อีก 15% แคท และ MVNO ของแคทจะได้ใช้ ถือว่า Win-Win เพราะดีแทคจะได้คลื่น 4G เพิ่ม แคทจะมีคลื่น 4G ให้บริการทั้งกับลูกค้าตนเอง และ MNVO ถ้าโมเดลของดีแทคชัดเจน การเจรจาข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินสัมปทานระหว่างแคทกับทรู ก็จะเดินหน้าไปได้ด้วย ทรูก็ยังรอดูโมเดลนี้"

เปิด 4G ให้ลูกค้า my
ส่วนปัญหาการค้างชำระเงินตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่างแคทกับกลุ่มทรูนั้น ล่าสุดในส่วนบริษัทเรียลฟิวเจอร์ ที่ค้างชำระหนี้อยู่ราว 9,000 ล้านบาท น่าจะเคลียร์ได้ภายในเดือน มิ.ย. ซึ่งจะทำให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้แบรนด์ "my" มีบริการ 4G ให้ลูกค้าได้ใช้ด้วย เนื่องจากทรูฯ จะใช้หนี้ให้เป็นเงินสดรวมกับการให้สิทธิ์แคทใช้ความจุคลื่น เพื่อให้บริการ 4G แต่ไม่อนุญาตให้ MNVO ของแคทใช้งานได้

ปัจจุบัน my มีฐานลูกค้า 1.4 ล้าน เลขหมาย และตั้งเป้าในสิ้นปีไว้ที่ 2 ล้านเลขหมาย ขณะที่รายได้ ณ สิ้นปี 2558 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,180 ล้านบาท ปัจจุบันมี MVNO 4 ราย ได้แก่ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ บริษัท ไวท์ สเปซ จำกัด และ บมจ. สามารถ ไอ-โมบาย คาดว่าเมื่อมีบริการ 4G และปรับปรุงบริการ รวมถึงเพิ่มช่องทาง จำหน่ายซิมเพิ่มจะมีรายได้เพิ่มขึ้น

New s cure การบ้านซีอีโอใหม่
ส่วนการคัดเลือก กรรมการผู้จัดการใหญ่ คนใหม่ของบริษัทน่าจะใช้เวลาอีกราว 1 เดือนจะเรียบร้อย โดยบอร์ด แคทเตรียมแผนงานไว้ให้ซีอีโอคนใหม่เข้ามาทำงานได้ทันทีในหลายเรื่อง ซึ่งหลัก ๆ คือหาธุรกิจใหม่เพื่อให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ เป็นการหา New s cure ที่ต้องเร่งทำ เพราะธุรกิจปัจจุบันเป็นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกำไรจะน้อยลง เรื่อย ๆ ไม่พอเลี้ยงคนทั้งองค์กรใหญ่ และต้องมีการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ต่อเนื่องจึงต้องปรับเปลี่ยนตนเอง มีธุรกิจใหม่ on Top บนโครงสร้างพื้นฐานอีกชั้น ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทซิตี้โซลูชั่น, Internet of Thing (IoT)

"สมาร์ทซิตี้เป็นมุมที่เหมาะกับการทำธุรกิจขององค์กรกึ่ง ๆ รัฐ เพราะต้องไปคุยกับเมือง คุยกับการไฟฟ้าฯ ประปาต่าง ๆ เอกชนทั่วไปเข้าถึงลำบาก เป็นการใช้ จุดแข็งของแคท และแก้จุดอ่อนในเรื่องรีเทลที่ยังไม่คล่องตัวเท่าเอกชน นี่เป็นวิชั่นหนึ่งของแคท ที่จะผลักดันต่อไป"


แหล่งข่าว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 32,28)
http://pantip.com/topic/35221505

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.