Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 แจ็ก หม่า ซีอีโอผู้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ Alibaba ล่าสุดมีการยืนยันแล้วว่าบริษัทในเครือ Alibaba จะซื้อหุ้น 20% ของบริษัทต้นสังกัด TRUE มันนี่ ถือเป็นการใช้ประเทศไทยเบิกทางเข้าสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในอาเซียน

ประเด็นหลัก
แจ็ก หม่า ซีอีโอผู้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ Alibaba ล่าสุดมีการยืนยันแล้วว่าบริษัทในเครือ Alibaba จะซื้อหุ้น 20% ของบริษัทต้นสังกัดทรูมันนี่ ถือเป็นการใช้ประเทศไทยเบิกทางเข้าสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในอาเซียน

นักวิเคราะห์ฟันธง อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนกำลังถูกยกระดับสู่การแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการยืนยันแล้วว่า อาลีบาบา (Alibaba) เจ้าพ่อแดนมังกรจะซื้อหุ้นบริษัทต้นสังกัด “ทรูมันนี่” เพื่อเบิกทางสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในไทยก่อนขยายไปยังประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก (Facebook) และไลน์ (Line) ที่ลุยทดสอบบริการชำระเงิน และส่งสินค้าเพื่อปูทางสู่บริการอีคอมเมิร์ซในประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้านอเมซอน (Amazon) ก็มีข่าวว่าเตรียมบุกอินโดนีเซีย ซึ่งอาจจะขยายบริการคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นในอนาคต
__________________________________________________
4 ยักษ์รุมตอมอีคอมเมิร์ซอาเซียน เนื้อหอมรับข่าวอาลีบาบาซื้อหุ้นบริษัทไทย

แจ็ก หม่า ซีอีโอผู้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ Alibaba ล่าสุดมีการยืนยันแล้วว่าบริษัทในเครือ Alibaba จะซื้อหุ้น 20% ของบริษัทต้นสังกัดทรูมันนี่ ถือเป็นการใช้ประเทศไทยเบิกทางเข้าสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในอาเซียน

นักวิเคราะห์ฟันธง อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนกำลังถูกยกระดับสู่การแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการยืนยันแล้วว่า อาลีบาบา (Alibaba) เจ้าพ่อแดนมังกรจะซื้อหุ้นบริษัทต้นสังกัด “ทรูมันนี่” เพื่อเบิกทางสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในไทยก่อนขยายไปยังประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก (Facebook) และไลน์ (Line) ที่ลุยทดสอบบริการชำระเงิน และส่งสินค้าเพื่อปูทางสู่บริการอีคอมเมิร์ซในประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้านอเมซอน (Amazon) ก็มีข่าวว่าเตรียมบุกอินโดนีเซีย ซึ่งอาจจะขยายบริการคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นในอนาคต
อาลีบาบา ผนึกต้นสังกัดทรูมันนี่
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ระบุว่า บริษัทแอนท์ไฟแนนเชียล (Ant Financial) บริษัทด้านการเงินในเครืออาลีบาบา มีแผนซื้อหุ้น 20% ของบริษัทสัญชาติไทยชื่อ “แอสเซนด์มันนี่” (Ascend Money) เพราะต้องการแทรกตัวเข้ามาเป็นผู้ท้าชิงในตลาดบริการการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดนี้รายงานระบุว่า อาลีบาบายอมจ่ายเงินซื้อหุ้น Ascend Money ผู้ให้บริการ True Money และ Ascend Nano เพื่อเป็นใบเบิกทางในการให้บริการชำระเงินออนไลน์ และสินเชื่อรายย่อยในอาเซียน
ข่าวนี้ถือเป็นพลุชุดใหญ่ที่ทำให้ภาพของอีคอมเมิร์ซอาเซียนมีทิศทางการเติบโตที่ร้อนแรงสุดขีด ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตอกย้ำให้นักวิเคราะห์ฟันธงว่า ไทยแลนด์แดนออฟสไมล์ คือ ตลาดที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ หากมีบริษัทใดคิดจะเข้ามาสร้างอาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนหน้านี้ เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก ก็เปิดทดสอบให้ผู้ใช้ในไทยสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ปรากฏบนเพจเฟซบุ๊ก (Facebook Pages) ก่อนจะลุยเฟสสองขยายไปให้บริการยังประเทศอื่นในอาเซียนต่อไป จุดนี้สำนักข่าวเทคครันช์ รายงานว่า เฟซบุ๊กเลือกไทยเป็นพื้นที่ทดสอบแห่งแรก เพราะ “ขนาดตลาดซื้อขายสินค้าบนโลกโซเชียลมีเดียที่ใหญ่มาก”
ไม่เพียงตลาดชำระเงินออนไลน์ไทยที่มีแนวโน้มเติบโตน่าสนใจ แต่ยังมีบริการด้านการขนส่งที่บริษัทอีคอมเมิร์ซข้ามชาติจดจ้องใช้ไทยเป็นประตูสู่อีคอมเมิร์ซอาเซียนด้วย ที่เห็นชัดเจน คือ บริการไลน์แมน (Line Man) บริการส่งสินค้าเพื่อผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ซึ่งไลน์ทดลองประเดิมให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯเป็นแห่งแรก จุดนี้ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแชตอย่างไลน์ยอมรับว่า เลือกทดสอบบริการที่ไทยก่อน เพราะไทย คือ หนึ่งในตลาดที่มีชาวไลน์จำนวนมาก
อิเหนาเตรียมเจออเมซอน
แม้ไทยจะเป็นตลาดที่ทุกคนยกว่ายิ่งใหญ่ และน่าสนใจ แต่ตลาดอินโดนีเซียถือเป็นเบอร์ 1 ในทางพฤตินัย เมื่อพูดถึงการชอปปิ้งออนไลน์ในสมรภูมิอาเซียน ขนาดตลาดที่ใหญ่ทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กรายใหญ่ทั้งร็อคเก็ตอินเทอร์เน็ต (Rocket Internet) และโทโกพีเดีย (Tokopedia) พยายามอาสาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การจ่ายเงิน และการซื้อสินค้าออนไลน์ของทุกคน

4 ยักษ์รุมตอมอีคอมเมิร์ซอาเซียน เนื้อหอมรับข่าวอาลีบาบาซื้อหุ้นบริษัทไทย
แฟ้มภาพ เจฟ เบโซส ซีอีโออเมซอน ที่มีข่าวว่าจะเปิดสาขาในอินโดนีเซียพร้อมเงินถัง 600 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก

อย่างไรก็ตาม แม้ในบางประเทศ Rocket Internet จะทยอยถอดทัพในนามลาซาดา (Lazada) และซาโรลา (Zalora) ที่เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2012 เพราะเงินทุนเริ่มขาดแคลน แต่ทั้ง 2 บริการก็ยังมีผู้สนใจซื้อ และพร้อมเข้ามาวางเดิมพันในตลาดอาเซียนแทน โดยล่าสุดมีข่าวว่า อเมซอนจะหันมาเปิดให้บริการในอินโดนีเซียพร้อมเงินทุนมากกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
อเมซอนยังไม่เปิดเผยรายละเอียการลงทุนครั้งนี้ มีเพียง แดเนียล ทูมิวา (Daniel Tumiwa) นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซอินโดนีเซีย หรือ Indonesia’s ecommerce association (iDEA) ที่ให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่า อเมซอนจะเปิดสาขาที่อินโดนีเซีย แต่ไม่เปิดเผยกรอบเวลาที่ชัดเจน.

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000061541&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+21-6-59&utm_campaign=20160620_m132253969_MGR+Morning+Brief+21-6-59&utm_term=4+_E0_B8_A2_E0_B8_B1_E0_B8_81_E0_B8_A9_E0_B9_8C_E0_B8_A3_E0_B8_B8_E0_B8_A1_E0_B8_95_E0_B8_AD_E0_B8_A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.