Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กรกฎาคม 2559 บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด ร้องกรณีกสทช.กรณีจ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย ระบุ สำหรับบริษัทที่ต้องถอนการติดตั้ง การพาดสายเดิมที่มีอยู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร จึงต้องการให้สำนักงานใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มาสนับสนุนส่วนนี้

ประเด็นหลัก
นายพิบูลย์ จงเลิศวณิชกุล ตัวแทนบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า สำหรับบริษัทที่ต้องถอนการติดตั้ง การพาดสายเดิมที่มีอยู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร จึงต้องการให้สำนักงานใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มาสนับสนุนส่วนนี้ เพราะบริษัทต่างๆ ก็จ่ายค่าธรรมเนียมให้กองทุนอยู่แล้วทุกปี
ส่วนกรณีเกิดความผิดพลาดและเสียหายนั้น ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบ ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ตนมองว่าไม่สมควร อาจทำให้ไม่มีใครต้องการเข้าร่วม เนื่องจากสายโทรคมนาคมที่พาดอยู่เดิม มีมากกว่า 3 สาย ความสับสนในการรื้อถอนอาจเกิดขึ้นได้ กสทช.ต้องระบุวิธีการแก้ไขที่ชัดเจนในประกาศ
ด้านนางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถอนสายพาดเดิม ต้องการให้กสทช.มองถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย อาจเป็นการช่วยเหลือในรูปแบบการลดหย่อนอัตราค่าธรรมเนียมรายปีจากเดิมที่จ่ายอยู่แล้ว 2% ต่อปีลง เพราะการเข้าร่วมจัดระเบียบสายมีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย
_______________________________________ ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย


ผู้ประกอบการพาดสายโทรคมนาคม เสนอ กสทช.ดึงงบจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) พร้อมลดค่าธรรมเนียมรายปี หนุนค่าใช้จ่าย
เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัสกรุ๊ป (Focus Group) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ของกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หลังจากกฎหมายฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลากว่า 6 ปีตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.2552
โดยบรรยากาศการประชุมคึกคักมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และ 3 หน่วยงานรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งประเด็นในร่างประกาศฉบับนี้ คือ หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามภายใต้บังคับแห่งมาตรา 39 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2554 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดระเบียบหรือบริหารจัดการเกี่ยวกับการเดินสายมิให้รก รุงรังทั้งสายที่ใช้งานและไม่ได้ใช้งาน ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย

อีกทั้งต้องจัดทำแผนปฏิบัติการในการตรวจสอบ แก้ไขการเดินสายที่ไม่เรียบร้อยให้เป็นไปตามมาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใดดำเนินการฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่งตามประกาศนี้ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม
นายพิบูลย์ จงเลิศวณิชกุล ตัวแทนบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า สำหรับบริษัทที่ต้องถอนการติดตั้ง การพาดสายเดิมที่มีอยู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร จึงต้องการให้สำนักงานใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มาสนับสนุนส่วนนี้ เพราะบริษัทต่างๆ ก็จ่ายค่าธรรมเนียมให้กองทุนอยู่แล้วทุกปี
ส่วนกรณีเกิดความผิดพลาดและเสียหายนั้น ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบ ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ตนมองว่าไม่สมควร อาจทำให้ไม่มีใครต้องการเข้าร่วม เนื่องจากสายโทรคมนาคมที่พาดอยู่เดิม มีมากกว่า 3 สาย ความสับสนในการรื้อถอนอาจเกิดขึ้นได้ กสทช.ต้องระบุวิธีการแก้ไขที่ชัดเจนในประกาศ
ด้านนางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถอนสายพาดเดิม ต้องการให้กสทช.มองถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย อาจเป็นการช่วยเหลือในรูปแบบการลดหย่อนอัตราค่าธรรมเนียมรายปีจากเดิมที่จ่ายอยู่แล้ว 2% ต่อปีลง เพราะการเข้าร่วมจัดระเบียบสายมีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย

ผู้พาดสายโทรคมร้องกสทช.จ่ายเงินค่าจัดระเบียบสาย

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หากต้องพาดสายผ่านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัทต่างๆ พาดสายกับเสาไฟฟ้า กว่า 20 บริษัท แต่ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทบางราย ลักลอบพาดสาย และตรวจสอบไม่ได้ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา คือ บริษัทที่จะพาดสาย จะต้องนำลงใต้ดิน แต่ถ้าจะพาดกับเสาไฟฟ้า จะต้องมีแนวทางอนุญาตให้ผู้ประกอบการพาดสาย ซึ่งจะต้องไม่เกิน 3 บริษัท ต่อเสา 1ต้น จากเดิมที่ กสทช.ไม่เคยกำหนดไว้ ขณะที่มีรายงานว่า เบื้องต้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงดิน อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาทต่อ 1 เส้น ต่อ 1กิโลเมตร
สำหรับขั้นตอนจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะสรุปความคิดเห็นทั้งหมด ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสทช. พิจารณา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2เดือน หรือมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในเดือนก.ย2559 นี้ ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงให้มีประกาศฉบับที่สมบูรณ์ขึ้น เพื่อการตั้งเสา และติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และมีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะนำข้อเสนอและความคิดเห็นต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสทช. ต่อไป



http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067773&Keyword=%a1%ca%b7%aa

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.