Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 2 สหภาพฯ CAT TOT ช จัดประชุมใหญ่ 10 ส.ค.ต้านหักคอแปรรูป ปัญหาหลักพนักงานที่ใกล้เกษียณคงไม่รู้สึกอะไร เพราะรายได้ยังอยู่ได้ไปจนถึงเกษียณ แต่คนรุ่นใหม่จะทำยังไง เขาจะอยู่ได้อย่างไรเมื่อสัญญาตรงนี้หมด

ประเด็นหลัก





หากถามว่า แก้ปัญหาไม่ตรงจุดหรือไม่ ต้องบอกว่าที่ผ่านมา ปัญหาของทั้ง 2 องค์กรสะสมมาอย่างยาวนาน อย่างทีโอที ก็มีปัญหาการบริหารงาน ซึ่งจะให้กระทรวงไอซีทีไปแก้ ก็ไม่รู้ว่าปัญหาจุดไหนที่จะแก้ได้แท้จริง ดังนั้น จึงคิดว่าทางออกในการแยกทรัพย์สินออกมาตั้งองค์กรใหม่จะช่วยให้การทำงานคล่องตัวขึ้น ส่วนปัญหาที่ยังคงอยู่กับองค์กรเก่าจะได้แก้ไขง่ายขึ้น เรื่องจะได้ไม่ผูกกันไปมา จะได้มีธงในการทำงานชัดเจน เพราะที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าทั้ง ทีโอที และ กสท จะทำอะไรแต่ละอย่างก็ติดปัญหา กฎระเบียบ ต้องระวังเรื่องการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) การลงทุนก็ต้องของบประมาณต้องโปร่งใส เรื่องเหล่านี้หากยังปล่อยให้ทั้ง 2 องค์กรทำงานอย่างนี้ต่อไป ก็จะทำให้องค์กรตายไปเรื่อยๆ

นายพันธ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า ทีโอทีเป็นอย่างไร ตั้งแต่หมดสัญญาสัมปทาน ขณะที่ กสท เอง ก็เหลือแต่คลื่น 850 MHz ที่ทำสัญญากับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นรายได้มากกว่า 50% ซึ่งก็จะหมดภายในปี 2568 ซึ่งพนักงานที่ใกล้เกษียณคงไม่รู้สึกอะไร เพราะรายได้ยังอยู่ได้ไปจนถึงเกษียณ แต่คนรุ่นใหม่จะทำยังไง เขาจะอยู่ได้อย่างไรเมื่อสัญญาตรงนี้หมด




__________________________________________________________________




2 สหภาพฯ จัดประชุมใหญ่ 10 ส.ค.ต้านหักคอแปรรูป


ไม่แสดงพลังตอนนี้ก็งอมือรับการแปรรูป “2 สหภาพฯ ทีโอที-กสท” เมินคำชี้แจงมติ คนร.จับมือนัดประชุมใหญ่สหภาพฯ ล่ารายชื่อคัดค้าน ยื่นต่อ รมว.ไอซีที 10 ส.ค.นี้ ด้าน “พันธ์ศักดิ์” ยันต้องเดินหน้าตามมติ คนร. (คือ ตั้งบริษัทลูก ไม่เหมือนที่ นายอุตตม สาวนายน รมว.ไอซีทีให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้) หากปล่อยไว้นานองค์กรจะตาย เผยหากไม่เห็นด้วยต้องเสนอแผนที่ทำได้ และมีกำไรถึงจะช่วยได้ นัดเคลียร์ฝ่ายบริหาร 29 ก.ค. เพื่อเดินหน้าทำแผนก่อนเสนอ คนร.ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
วันนี้ (28 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำโดย นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ กสท พร้อมคณะ และสหภาพฯ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน ) นำโดย นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพฯ ทีโอที พร้อมคณะ เข้าพบ นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที และทีมคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหาของทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจ ที่ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ซึ่งนอกจากทั้ง 2 สหภาพฯ ได้ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมประชุมแล้ว ยังได้พาพนักงานจำนวนหนึ่งเดินทางมารอฟังผลการประชุมที่บริเวณหน้าห้องประชุมด้วย

2 สหภาพฯ จัดประชุมใหญ่ 10 ส.ค.ต้านหักคอแปรรูป

จนกระทั่งเวลา 11.00 น.ประธานสหภาพฯ กสท ได้โทรศัพท์ออกมาแจ้งแกนนำที่รออยู่ด้านนอก ให้นำพนักงานกลับไปรอที่ลานหน้าธนาคารกรุงไทย เพื่อรอชุมนุมในเวลา 12.00 น.ต่อไป ต่อมาในเวลา 11.44 น. นายสังวรณ์ และทีมงานได้เดินออกมาจากห้องพร้อมกับกล่าวว่า การมารับฟังครั้งนี้ตนเองไม่ถือว่าเป็นการรับฟังคำชี้แจงตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ต้องการให้กระทรวงไอซีทีมาทำความเข้าใจ แต่ถือว่าการมาประชุมครั้งนี้คือการเข้ามาชี้แจงข้อมูลของฝั่งสหภาพฯ เอง ดังนั้น สหภาพฯ จะเดินหน้าคัดค้านการนำทรัพย์สินของ กสท ไปจัดตั้งบริษัท 3 บริษัทต่อไป เพราะสหภาพฯ มีความเห็นว่าการแก้ปัญหาของคณะทำงานฯ ชุดดังกล่าวแก้ไม่ตรงจุด แม้ว่า นายพันธ์ศักดิ์ จะมีเจตนาดีในการแก้ปัญหาก็ตาม
หลังจากนั้น ประธานสหภาพฯ ทีโอที ก็ออกมาจากที่ประชุมในเวลาใกล้เคียงกัน โดย นายพงศ์ฐิติ กล่าวสอดคล้องต่อประธานสหภาพฯ กสท ว่าไม่เห็นด้วย และไม่รับฟังการอธิบายของ นายพันธ์ศักดิ์ โดยจากนี้ไปสหภาพฯ ทีโอทีจะเคลื่อนไหวด้วยการจัดชุมนุมเพื่อล่ารายชื่อผู้ไม่เห็นด้วย โดยจะจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีในวันที่ 10 ส.ค.2559 จากนั้นจะนำรายชื่อคัดค้านเสนอต่อ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที พร้อมกับ กสท ในวันเดียวกัน
ด้าน นายพันธ์ศักดิ์ กล่าวยืนยันว่า ยังคงเดินหน้าตามมติ คนร. คือ จัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของทีโอที และ กสท ได้แก่ 1.บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ (NBN CO) 2.บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ (NGN CO) และ 3.บริษัทศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC CO) โดย เบื้องต้น ทั้ง 3 บริษัทจะเป็นรัฐวิสาหกิจ 100% ยกเว้นบริษัทไอดีซีที่อนาคตจะต้องเป็นเอกชนเพื่อให้มีความคล่องตัวในการแข่งขัน เพราะก่อนหน้านี้ คนร.เห็นว่าการแก้ปัญหาด้วยการตั้งกลุ่มหน่วยธุรกิจของทั้ง 2 บริษัท เพื่อนำมาบริหารจัดการร่วมกันไม่มีความคืบหน้า ตั้งแต่ คนร.มีคำสั่งมากว่า 2 ปีแล้ว

2 สหภาพฯ จัดประชุมใหญ่ 10 ส.ค.ต้านหักคอแปรรูป

แต่สิ่งที่สหภาพฯ เสนอคือ ต้องการให้ทำงานคล่องตัวขึ้น ซึ่งตนเองก็คิดว่าหากจะทำเช่นนั้นก็มี 2 แนวทาง คือ นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และขายหุ้นให้เอกชน ซึ่งก็จะถูกกล่าวหาอีกว่าขายสมบัติชาติ หรือจะให้แก้กฎหมายเฉพาะให้แก่ 2 รัฐวิสาหกิจเพื่อให้ทำงานคล่องตัวขึ้นก็ไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว เอกชนจะว่ายังไง หรือรัฐวิสาหกิจอื่นจะรู้สึกยังไง
หากถามว่า แก้ปัญหาไม่ตรงจุดหรือไม่ ต้องบอกว่าที่ผ่านมา ปัญหาของทั้ง 2 องค์กรสะสมมาอย่างยาวนาน อย่างทีโอที ก็มีปัญหาการบริหารงาน ซึ่งจะให้กระทรวงไอซีทีไปแก้ ก็ไม่รู้ว่าปัญหาจุดไหนที่จะแก้ได้แท้จริง ดังนั้น จึงคิดว่าทางออกในการแยกทรัพย์สินออกมาตั้งองค์กรใหม่จะช่วยให้การทำงานคล่องตัวขึ้น ส่วนปัญหาที่ยังคงอยู่กับองค์กรเก่าจะได้แก้ไขง่ายขึ้น เรื่องจะได้ไม่ผูกกันไปมา จะได้มีธงในการทำงานชัดเจน เพราะที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าทั้ง ทีโอที และ กสท จะทำอะไรแต่ละอย่างก็ติดปัญหา กฎระเบียบ ต้องระวังเรื่องการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) การลงทุนก็ต้องของบประมาณต้องโปร่งใส เรื่องเหล่านี้หากยังปล่อยให้ทั้ง 2 องค์กรทำงานอย่างนี้ต่อไป ก็จะทำให้องค์กรตายไปเรื่อยๆ
นายพันธ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า ทีโอทีเป็นอย่างไร ตั้งแต่หมดสัญญาสัมปทาน ขณะที่ กสท เอง ก็เหลือแต่คลื่น 850 MHz ที่ทำสัญญากับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นรายได้มากกว่า 50% ซึ่งก็จะหมดภายในปี 2568 ซึ่งพนักงานที่ใกล้เกษียณคงไม่รู้สึกอะไร เพราะรายได้ยังอยู่ได้ไปจนถึงเกษียณ แต่คนรุ่นใหม่จะทำยังไง เขาจะอยู่ได้อย่างไรเมื่อสัญญาตรงนี้หมด
หากสหภาพฯ ไม่เห็นด้วยก็ควรนำเสนอแผนการทำธุรกิจที่ทำได้จริง และมีกำไรมาเสนอ ไม่ปิดกั้นอยู่แล้ว ไม่ใช่มาบอกให้แก้ปัญหาในองค์กรให้ เพราะที่ผ่านมากว่าจะมาสรุปที่ทางเลือกนี้ คนร.ได้เสนอหลายทางเลือกแล้ว ทั้งให้ตั้งกลุ่มธุรกิจเพื่อโอนทรัพย์สิน หรือให้มาทำงานร่วมกัน แต่ก็ไม่คืบหน้า และทางเลือกนี้ก็ได้มีการหารือร่วมกับฝ่ายบริหารของทีโอที และ กสท แล้ว อีกทั้งยังมีดีลอยท์มานั่งเป็นที่ปรึกษาด้วย ซึ่งดีลอยท์ก็บอกเองว่าเคสการตั้งบริษัทใหม่นี้ประเทศไทยไม่ใช่ที่แรก และที่เดียวในโลกที่ทำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตั้งบริษัทใหม่ทั้ง 3 บริษัทแล้ว บริษัทเดิม คือ กสท และ ทีโอที ก็ต้องคิดใหม่ทำใหม่เพื่อให้องค์กรอยู่รอด เพราะคงเหลือแค่ธุรกิจโมบายให้ทำ ซึ่งหากหมดสัญญาสัมปทานจะมีศักยภาพในการประมูลคลื่นแข่งกับเอกชนหรือไม่ ดังนั้น ก็ต้องหาทางรอดด้วยการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ และดูแลทรัพย์สินที่เหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคารต่างๆ มาทำให้เกิดรายได้
“วันที่ 29 ก.ค.เราจะเชิญผู้บริหารทั้ง 2 บริษัทมาหารือร่วมกันในประเด็นดังกล่าวด้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นให้ครบ และคณะทำงานจะเดินหน้าทำงานตามโจทย์ที่ได้มา ซึ่งปกติมีการประชุมทุกสัปดาห์อยู่แล้ว เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนนำเข้าที่ประชุม คนร.ในครั้งต่อไป” นายพันธ์ศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075012&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+29-7-59&utm_campaign=20160728_m133208157_MGR+Morning+Brief+29-7-59&utm_term=2_E0_B8_AA_E0_B8_AB_E0_B8_A0_E0_B8_B2_E0_B8_9E_E0_B8_AF+_E0_B8_88_E0_B8_B1_E0_B8_94_E0_B8_9B_E0_B8_A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.