Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เหมือนเป็นการเอาสิ่งที่เป็นของประชาชนโดยชอบธรรมไปเป็นของรัฐ เพราะมีการกำหนดให้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของประชาชน เอากรรมการสรรหาที่ประชาชนเคยมีส่วนร่วมออกไป เ

ประเด็นหลัก



ภาค ปชช.ร้อง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ไม่เห็นหัวประชาชน

ส่วน นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เหมือนเป็นการเอาสิ่งที่เป็นของประชาชนโดยชอบธรรมไปเป็นของรัฐ เพราะมีการกำหนดให้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของประชาชน เอากรรมการสรรหาที่ประชาชนเคยมีส่วนร่วมออกไป เอากรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภคออกไป เอาเงินกองทุนที่ควรนำไปช่วยผู้บริโภคและคนพิการออกไป เอากระบวนการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลออกไป และการให้อำนาจสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีในการจัดการสรรหา กสทช. อาจจะทำให้ได้ กสทช.ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือสนใจด้านคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น ขอเรียกร้องให้กรรมการ กสทช.ควรมีตัวแทนของภาคประชาชนด้วย
นอกจากนี้ การกำหนดให้เอาเงินกองทุนวิจัย และ พัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ไปลงทุนได้ เป็นการใช้เงินกองทุนอย่างไม่ถูกวัตถุประสงค์ ที่ผ่านมา กทปส.ไม่ได้ส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรม หรือสื่อมวลชนได้เลย เงินกองทุนควรใช้ในการสร้างคนไม่ใช่ใช้ไปลงทุนให้ได้ เงินเพิ่มขึ้นซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของ กทปส.
อย่างไรก็ตาม นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม กล่าวว่า การกำหนดคุณสมบัติ กสทช.ในแง่ ของประสบการณ์ไม่ได้สะท้อนความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การปรับยศของข้าราชการทหาร และตำรวจ ที่ต้องมียศ พลโท ขึ้นไป และหากกำหนดให้พลเรือนที่จะเข้ามารับตำแหน่งต้องมีอายุ 45 ปีขึ้นไป สเปกของ กสทช.ชุดใหม่ที่ได้จะเป็นทหาร ตำรวจสูงวัย หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนกรรมการที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคกำนดให้มีประสบการณ์มากถึง 10 ปี ซึ่งบอกได้เลยว่าน้อยมาก จนอาจทำให้ตัวแทนจากผู้บริโภคไม่มีเลยใน กสทช.ชุดใหม่ นอกจากนี้ ควรมีคณะกรรมการในการติดตาม และประเมินผลการทำงานของ กสทช.โดยให้รายงานผลต่อสาธารณะ และเป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ข้อเสนอแนะในการทำงานคือ การทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช.และหน่วยงานรัฐต้องไม่ใช่การดึงอำนาจอันควรเป็นอิสระจาการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองไปจาก กสทช. นอกจากนี้ รัฐควรกำหนดนโยบายออก Statement of expectation และองค์กรกำกับดูแลควรออก Statement of intent ที่ระบุถึงวิธีในการบรรรลุเป้าหมายในแง่นโนบาย รวมถึงมีการระบุอำนาจกระบวนการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐและองค์กรกำกับดูแลให้ชัดเจน
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่ววว่า สิ่งที่ตนเคยทำความเห็นเสนอ สนช.เกี่ยวกับการปรับปรุงร่างฯ ได้เสนอความเห็นเรื่องการเงินการงบประมาณของ กสทช.การอนุมัติไม่ควรอยู่ในอำนาจของ กสทช.ทั้งหมด ควรมีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคณะกรรมการคนกลางมาอนุมัติงบประมาณเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตนอยากเห็น กสทช.ยุคหน้ามาทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าจะมาอนุมัติเงินงบประมาณเท่านั้น

ปัจจุบัน เงินกองทุนของ กสทช.มีอยู่ถึง 28,000 ล้านบาท แต่ยังอนุมัติไม่ได้เนื่องจากรัฐบาลให้ชะลอการอนุมัติไว้ โดยรัฐบาลมองว่าไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้เงินที่สอดคล้องต่อนโยบายของรัฐ สำนักงาน กสทช.พร้อมให้หน่วยงานที่โปร่งใสทั้งภาครัฐ และเอกชนมาเป็นกรรมการเพื่ออนุมัติเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนความชัดเจนเรื่องการกำกับกิจการดาวเทียมนั้น สำนักงาน กสทช.ไม่ขัดข้องที่จะให้เป็นอำนาจของกระทรวงไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่จะเกิดขึ้นใหม่ สำหรับการแต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการ กสทช.นั้น ตนเสนอให้มีการถ่วงดุลอำนาจในการถอดถอนโดยให้เป็นอำนาจของ กสทช. และวุฒิสภาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ส่วนเรื่องการแก้ กม.ฉบับนี้นั้น ตนเองยอมรับว่ายังต้องมีการแก้อีกหลายจุดตามที่ภาคประชาชนให้ความเห็น ทั้งนี้ คาดว่า กม.ดังกล่าวจะต้องแก้ให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้














________________________________________


ภาค ปชช.ร้อง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ไม่เห็นหัวประชาชน


ภาคประชาชน ย้ำ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ควรลดความเป็นอิสระในการทำงาน กสทช. และควรเพิ่มบทบาทภาคประชาชนมากกว่านี้ ส่วนนักวิชาการเห็นว่า โครงสร้างและคุณสมบัติ กสทช.ชุดใหม่ อาจได้คนไม่ตรงกับงาน ด้าน “ฐากร” ยอมรับ กม.ยังต้องแก้อีกมาก เผย สนช.ต้องแก้ให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค. ด้านปลัดไอซีที แจง ขณะนี้ พ.ร.บ.กสทช.อยู่ในวาระ 2 ต้องฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ส่วนงานเลขานุการ กสทช.ของตนเอง และส่วนงาน กสทช.น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ จัดเวทีเสวนา มุมมองภาคประชาชนต่อแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กสทช. เพื่อรวบรวมความเห็นภาคประชาชน เกี่ยวกับการจัดทำร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... (พ.ร.บ.กสทช.) ซึ่งเป็นการปรับปรุง พ.ร.บ.กสทช.พ.ศ.2553 เพื่อรวบรวมความเห็นส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ทั้งนี้ การพูดคุยเรื่องกฎหมายฉบับนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากร่างได้รับหลักการจาก สนช.แล้ว และอยู่ในชั้นกรรมาธิการ เชื่อว่าการแก้ไขร่างฯ จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยทางการเมืองที่จะส่งผลต่อร่างกฎหมาย คือ อนาคตของร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเข้าสู่ขั้นตอนลงประชามติ หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ อาจต้องยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่เกี่ยวกับองค์กรกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากบทบัญญัติตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ แต่ไม่ได้ระบุถึงการจัดสรรคลื่นความถี่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องทบทวนกฎหมายฉบับนี้ใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การจัดทำกฎหมายควรกำหนดประเด็นด้วยว่ามีจุดไหนที่จะทำให้ กสทช.ทำงานได้ดีขึ้นจริง มีประสิทธิภาพจริง ใช้จ่ายงบประมาณได้มีประสิทธิภาพจริง ทุกภาคส่วนตรวจสอบการใช้งบประมาณได้ เพราะหากทำได้จะทำให้การทำงานของ กสทช.เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น

ภาค ปชช.ร้อง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ไม่เห็นหัวประชาชน
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ขณะที่ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กสทช.เกิดขึ้นเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ ความท้าทายของ กสทช.ชุดต่อไปที่เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ คือ การตอบสนองความต้องการใช้คลื่นในอนาคต เพื่อรองรับบริการ 5G และ Internet of Thing ครอบคลุมการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และคลื่นความถี่ย่านความถี่สูง โดยเฉพาะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้น ในการปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนนี้ขอเสนอให้การจัดสรรคลื่นความถี่ยังคงใช้วิธีการประมูล รวมถึงควรจำกัดรูปแบบการใช้คลื่นความถี่ร่วมกันโดยต้องไม่เป็นการจำกัดการแข่งขัน หรือทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์
ในส่วนโครงสร้าง กสทช.ชุดใหม่ไม่ได้กำหนดจำนวนกรรรมการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน แต่ให้อำนาจกรรมการสรรหากำหนดเอง ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะได้กรรมการที่มีความเชี่ยวชาญที่ไม่ครบด้าน โดยภารกิจที่ไม่มีกรรมการรับผิดชอบจะถูกละเลย นอกจากนี้ การกำหนดให้คุณสมบัติของ กสทช.ใหม่ จะทำให้โครงสร้างของ กสทช.ที่มาจากข้าราช ทหาร ตำรวจ 4 คน ข้าราชการประจำ 1 คน อาจารย์มหาวิทยาลัย 1 คน และที่มาอื่น 1 คน ในส่วนนี้ขอให้เสนอให้ทำโครงสร้าง กสทช.ให้รองรับนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย กสทช.ต้องทำงานอย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้ ควรมีคณะกรรมการในการติดตาม และประเมินผลการทำงานของ กสทช.โดยให้รายงานผลต่อสาธารณะ
ด้าน นางสุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อสารมวลชน สถาบันอิศรา กล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.ในครั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากการทำงานของ กสทช.ที่ผ่านมาทั้งสิ้น เมื่อศึกษาร่างฯ แล้วเห็นว่าร่างฯ ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่า โดยมีประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตในส่วนหลักความเป็นอิสระของหน่วยงานซึ่งมีการกำหนดให้ กสทช.ต้องทำแผนแม่บทให้สอดคล้องต่อแผนและนโยบายระดับชาติ และการให้มีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาว่าด้วยการดำเนินการของ กสทช.สอดคล้องต่อแผนระดับชาติหรือไม่ ในส่วนนี้ถือเป็นการขัดต่อหลักความเป็นอิสระของหน่วยงานกำกับดูแลอย่างร้ายแรง หลักการในส่วนนี้ควรกลับไปใช้หลักการของร่างฯ เดิมจะเหมาะสมกว่า ในส่วนกระบวนการสรรกำหนดให้หน่วยงานธุรการทำหน้าที่สรรหาเปลี่ยนจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงต่อการเสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ นอกจากนี้ กรรมการสรรหาซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายตุลาการไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคม

ภาค ปชช.ร้อง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ไม่เห็นหัวประชาชน

ส่วน นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เหมือนเป็นการเอาสิ่งที่เป็นของประชาชนโดยชอบธรรมไปเป็นของรัฐ เพราะมีการกำหนดให้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของประชาชน เอากรรมการสรรหาที่ประชาชนเคยมีส่วนร่วมออกไป เอากรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภคออกไป เอาเงินกองทุนที่ควรนำไปช่วยผู้บริโภคและคนพิการออกไป เอากระบวนการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลออกไป และการให้อำนาจสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีในการจัดการสรรหา กสทช. อาจจะทำให้ได้ กสทช.ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือสนใจด้านคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น ขอเรียกร้องให้กรรมการ กสทช.ควรมีตัวแทนของภาคประชาชนด้วย
นอกจากนี้ การกำหนดให้เอาเงินกองทุนวิจัย และ พัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ไปลงทุนได้ เป็นการใช้เงินกองทุนอย่างไม่ถูกวัตถุประสงค์ ที่ผ่านมา กทปส.ไม่ได้ส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรม หรือสื่อมวลชนได้เลย เงินกองทุนควรใช้ในการสร้างคนไม่ใช่ใช้ไปลงทุนให้ได้ เงินเพิ่มขึ้นซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของ กทปส.
อย่างไรก็ตาม นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม กล่าวว่า การกำหนดคุณสมบัติ กสทช.ในแง่ ของประสบการณ์ไม่ได้สะท้อนความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การปรับยศของข้าราชการทหาร และตำรวจ ที่ต้องมียศ พลโท ขึ้นไป และหากกำหนดให้พลเรือนที่จะเข้ามารับตำแหน่งต้องมีอายุ 45 ปีขึ้นไป สเปกของ กสทช.ชุดใหม่ที่ได้จะเป็นทหาร ตำรวจสูงวัย หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนกรรมการที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคกำนดให้มีประสบการณ์มากถึง 10 ปี ซึ่งบอกได้เลยว่าน้อยมาก จนอาจทำให้ตัวแทนจากผู้บริโภคไม่มีเลยใน กสทช.ชุดใหม่ นอกจากนี้ ควรมีคณะกรรมการในการติดตาม และประเมินผลการทำงานของ กสทช.โดยให้รายงานผลต่อสาธารณะ และเป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ข้อเสนอแนะในการทำงานคือ การทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช.และหน่วยงานรัฐต้องไม่ใช่การดึงอำนาจอันควรเป็นอิสระจาการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองไปจาก กสทช. นอกจากนี้ รัฐควรกำหนดนโยบายออก Statement of expectation และองค์กรกำกับดูแลควรออก Statement of intent ที่ระบุถึงวิธีในการบรรรลุเป้าหมายในแง่นโนบาย รวมถึงมีการระบุอำนาจกระบวนการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐและองค์กรกำกับดูแลให้ชัดเจน
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่ววว่า สิ่งที่ตนเคยทำความเห็นเสนอ สนช.เกี่ยวกับการปรับปรุงร่างฯ ได้เสนอความเห็นเรื่องการเงินการงบประมาณของ กสทช.การอนุมัติไม่ควรอยู่ในอำนาจของ กสทช.ทั้งหมด ควรมีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคณะกรรมการคนกลางมาอนุมัติงบประมาณเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตนอยากเห็น กสทช.ยุคหน้ามาทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าจะมาอนุมัติเงินงบประมาณเท่านั้น
ปัจจุบัน เงินกองทุนของ กสทช.มีอยู่ถึง 28,000 ล้านบาท แต่ยังอนุมัติไม่ได้เนื่องจากรัฐบาลให้ชะลอการอนุมัติไว้ โดยรัฐบาลมองว่าไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้เงินที่สอดคล้องต่อนโยบายของรัฐ สำนักงาน กสทช.พร้อมให้หน่วยงานที่โปร่งใสทั้งภาครัฐ และเอกชนมาเป็นกรรมการเพื่ออนุมัติเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนความชัดเจนเรื่องการกำกับกิจการดาวเทียมนั้น สำนักงาน กสทช.ไม่ขัดข้องที่จะให้เป็นอำนาจของกระทรวงไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่จะเกิดขึ้นใหม่ สำหรับการแต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการ กสทช.นั้น ตนเสนอให้มีการถ่วงดุลอำนาจในการถอดถอนโดยให้เป็นอำนาจของ กสทช. และวุฒิสภาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ส่วนเรื่องการแก้ กม.ฉบับนี้นั้น ตนเองยอมรับว่ายังต้องมีการแก้อีกหลายจุดตามที่ภาคประชาชนให้ความเห็น ทั้งนี้ คาดว่า กม.ดังกล่าวจะต้องแก้ให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้
ด้าน นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ขณะนี้ กม.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่วาระ 2 ของ สนช.แล้ว กำลังอยู่ระหว่างการเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไข



http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074608&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+28-7-59&utm_campaign=20160727_m133187065_MGR+Morning+Brief+28-7-59&utm_term=_E0_B8_A0_E0_B8_B2_E0_B8_84+_E0_B8_9B_E0_B8_8A_E0_B8_8A__E0_B8_A3_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_87+_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.