Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 (บทความ) การใช้โทรศัพท์มือถือกับพร้อมเพย์ ไทยพร้อมหรือยัง ? // ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใคร เราไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์เลยก็ได้ เพราะเราก็ยังโอนเงินไปยังคนที่สมัครพร้อมเพย์ได้ ให้เราตรวจสอบว่าตรงกับบุคคลที่เราจะโอนเงินให้หรือไม่ด้วย

ประเด็นหลัก



ดังนั้น ข้อพึงสังวรณ์เกี่ยวกับพร้อมเพย์สำหรับผู้ใช้งานมือถือ ก็คือ 1.ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใคร เราไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์เลยก็ได้ เพราะเราก็ยังโอนเงินไปยังคนที่สมัครพร้อมเพย์ได้ แต่การโอนเงินทุกครั้งเมื่อเรากรอกหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลขมือถือของผู้รับโอนแล้ว จะปรากฏชื่อเจ้าของบัญชีผู้รับโอน ให้เราตรวจสอบว่าตรงกับบุคคลที่เราจะโอนเงินให้หรือไม่ด้วย
2.คนไม่มีมือถือก็สมัครพร้อมเพย์ได้ โดยเลือกผูกกับเลขประจำตัวประชาชนอย่างเดียว ในทางกลับกัน คนที่มีมือถือจะผูกเฉพาะหมายเลขมือถือ โดยไม่ใช้เลขประจำตัวประชาชนผูกก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีการรับโอนเงินจากรัฐ รัฐจะโอนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่หมายเลขมือถือ
3.แม้ว่าผู้รับโอนอาจจะมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี แต่เนื่องจากการโอนเงินแต่ละครั้งจะเข้าไปยังบัญชีใดบัญชีหนึ่งเท่านั้น เลขประจำตัวประชาชนจึงใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เช่นกันเลขมือถือ 1 เลขหมายก็ใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เราจะนำแต่ละเลขหมายไปผูกกับหลายบัญชีพร้อมกันไม่ได้ แต่เราสามารถยกเลิกการผูกบัญชีพร้อมเพย์ หรือสามารถเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่จะผูกกับระบบพร้อมเพย์ได้ 4.ในทางกลับกัน คนที่มีเลขมือถือหลายเบอร์ แต่มีบัญชีธนาคารบัญชีเดียว จะผูกมือถือหลายเบอร์กับบัญชีธนาคารบัญชีเดียวก็ได้ เพื่อให้การโอนทุกครั้ง ไม่ว่าผ่านหมายเลขมือถือใด เงินก็จะเข้ามาที่บัญชีเดียว

5.เราแต่ละคนจึงสามารถมีบัญชีพร้อมเพย์ได้หลายบัญชี ตัวอย่างเช่น บัญชีแรกผูกกับเลขประจำตัวประชาชน บัญชีที่สอง ผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องแรก บัญชีที่สาม ผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องที่สอง แต่ถ้าเป็นเงินที่รัฐโอนให้จะโอนเข้าบัญชีแรกเท่านั้น 6.ส่วนใหญ่การแฮกบัญชีธุรกรรมออนไลน์อาจเกิดจากการที่เราหลงเข้าไปในเว็บปลอมที่หลอกให้เรากรอกชื่อผู้ใช้พร้อมรหัสผ่าน หรืออาจเกิดจากการติดมัลแวร์ ทำให้มีโปรแกรมลับแอบส่งชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านให้มิจฉาชีพโดยที่เราไม่รู้ตัว ทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ ผู้ใช้งานมือถือจึงควรตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ธนาคารจริงๆ และไม่ควรติดตั้งโปรแกรม หรือแอปใดๆ โดยไม่ระมัดระวัง และไม่กดลิงก์แปลกๆ ที่มีคนส่งให้ทางอีเมล หรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เพราะอาจมีมัลแวร์แฝงมาฝังตัวในอุปกรณ์ของเรา และหากเป็นไปได้ควรตรวจหามัลแวร์ หรือไวรัสที่แอบฝังตัวในอุปกรณ์ของเราอย่างสม่ำเสมอ






__________________________________________________________________






การใช้โทรศัพท์มือถือกับพร้อมเพย์ ไทยพร้อมหรือยัง ?

โดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลายท่านที่ใช้งาน online banking หรือ mobile banking หรือแม้แต่ท่านที่กดตู้ ATM อาจจะพบข้อความเชิญชวนของธนาคารให้สมัครพร้อมเพย์ โดยให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือหมายเลขมือถือเพื่อผูกกับบัญชีธนาคาร บางท่านก็งุนงงว่ามันคืออะไร บางท่านอาจเคยได้ยินข่าวมาบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะสมัครดีไหม แล้วจะผูกกับบัญชีอะไรดี ผูกแล้วมันดีหรือไม่ดีอย่างไร
แต่ที่แน่ๆ การสมัครพร้อมเพย์เป็นเรื่องความสมัครใจ เหมือนกับการออกบัตร ATM เราจะเปิดบัญชีธนาคารโดยไม่สมัคร ATM เลยก็ได้ ดังนั้น ถ้ายังไม่รู้จักพร้อมเพย์ ก็ยังไม่ต้องรีบร้อนสมัคร การสมัครบริการทางการเงินอะไรที่เราไม่รู้จักดีพออาจสร้างปัญหาตามมาในอนาคต
แนวคิดพื้นฐานของพร้อมเพย์ คือ โดยปกติถ้าเราจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ใคร เราต้องกรอก หรือระบุเลขบัญชีธนาคารของเขาเป็นหลัก ธนาคารจึงจะโอนเงินเข้าได้ถูกบัญชี แต่ในระบบพร้อมเพย์ ถ้าคนที่เราจะโอนเงินให้มีการผูกบัญชีธนาคารที่จะรับโอนเงินกับเลขประจำตัวประชาชนห รือหมายเลขมือถือ เราก็สามารถระบุเลขเหล่านั้นได้เลย โดยไม่ต้องรู้ หรือไม่ต้องใช้เลขบัญชีธนาคารของเขา ระบบก็จะโอนเงินได้ถูกบัญชี แต่เดิมระบบนี้จึงถูกเรียกว่า Any ID เพราะแทนที่จะใช้แต่เพียงเลขบัญชีธนาคารเป็น ID ในการรับโอนเงิน เราสามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขมือถือเป็น ID ในการรับโอนเงินด้วยก็ได้
การใช้เลขประจำตัวประชาชนแม้อาจจะจำยาก แต่มีข้อดีคือ เป็นเลขที่แต่ละคนมีชุดเดียวตลอดชีวิต ของใครของมัน ไม่มีใครซ้ำ และไม่มีการเปลี่ยนเลขไปๆ มาๆ ดังนั้น ถ้าเราโอนเงินให้ใครที่ผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีธนาคาร การโอนเงินก็จะไม่ผิดตัวแน่ ส่วนข้อดีของหมายเลขมือถือก็คือ เป็นเลขที่จดจำง่าย และส่วนใหญ่เรามักจะบันทึกหมายเลขมือถือของใครต่อใครลงในโทรศัพท์เราอยู่แล้ว จึงค้นหาได้ง่าย ถ้าหมายเลขยังไม่ถูกยกเลิกบริการ และยังไม่เปลี่ยนมือ การโอนเงินก็จะไม่ผิดตัวเช่นกัน
การลงทะเบียนพร้อมเพย์จึงเป็นประโยชน์สำหรับการรับโอนเป็นหลัก โดยคนโอนเพียงแต่ไปที่ตู้ ATM หรือโอนผ่านมือถือ ถ้าปลายทางลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้ ก็โอนไปที่เลขประจำตัว หรือเลขมือถือนั้นได้เลย โดยที่ฝ่ายผู้โอนไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์ก็ได้ ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใครก็ไม่จำเป็นต้องสมัครพร้อมเพย์เลย
ทั้งนี้ ในอนาคต รัฐจะโอนเงินสวัสดิการหรือเงินต่างๆ ให้แก่ประชาชน โดยเข้าบัญชีธนาคาร ผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก รวมถึงเงินคืนภาษี ดังนั้น หากใครที่ต้องรับเงินจากรัฐก็ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นหลัก จะไม่มีมือถือห รือไม่เคยใช้มือถือเลยก็ลงทะเบียนได้ และจะใช้พร้อมเพย์ของธนาคารใดก็ได้ แล้วแต่สะดวก แล้วแต่ความชอบความเชื่อมั่น ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารของรัฐเท่านั้น
ส่วนใครที่ประกอบธุรกิจ และมักจะให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของตน การลงทะเบียนพร้อมเพย์โดยใช้หมายเลขมือถือจะทำให้ลูกค้าจดจำง่าย ไม่จำเป็นต้องผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเลยก็ได้ เพราะจำยาก และหลายคนกังวลว่าเลขประจำตัวประชาชนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่อยากเปิดเผยก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยแต่อย่างใด
แนวคิดเรื่องพร้อมเพย์จึงดูเหมือนจะดี และเหมาะต่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของทางรัฐบาล แต่หลายคนก็ยังกังวลเรื่องความเสี่ยง หรือความไม่ปลอดภัยของระบบ เลยยังลังเลว่าจะสมัครดีหรือไม่
จะเห็นได้ว่า ระบบพร้อมเพย์เป็นเพียงกลไกที่ใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขมือถือมาแทนเลขบัญชีธนาคารเท่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า ระบบพร้อมเพย์ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการแฮ็คผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังมีคำถามว่า ปัญหาการถูกแฮกบัญชี ถูกหลอกให้โอนเงินจะดีขึ้น หรือแย่ลงในยุคพร้อมเพย์ ก็ต้องสรุปว่าจุดมุ่งหมายหลักของพร้อมเพย์คือ การรับโอนเงินเข้าบัญชี ไม่เกี่ยวอะไรกับการแฮกบัญชีเพื่อนำเงินออก และไม่เกี่ยวต่อการหลอกให้โอนเงินด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้น ปัญหาเหล่านั้นก็จะยังอยู่ของมันตามเรื่องตามราว
ปัญหาความเสี่ยง หรือความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้งานมือถือในการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ได้อยู่ที่ระบบพร้อมเพย์ แต่อยู่ที่ระบบรักษาความปลอดภัยของ ATM, online banking หรือ mobile banking ของแต่ละธนาคาร และปัญหาใหญ่อีกจุดหนึ่งก็คือ ตัวเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ตลอดจนตัวเครื่องมือถือของเราที่เป็นจุดเปราะบางในการแฮก
ดังนั้น ข้อพึงสังวรณ์เกี่ยวกับพร้อมเพย์สำหรับผู้ใช้งานมือถือ ก็คือ 1.ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใคร เราไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์เลยก็ได้ เพราะเราก็ยังโอนเงินไปยังคนที่สมัครพร้อมเพย์ได้ แต่การโอนเงินทุกครั้งเมื่อเรากรอกหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลขมือถือของผู้รับโอนแล้ว จะปรากฏชื่อเจ้าของบัญชีผู้รับโอน ให้เราตรวจสอบว่าตรงกับบุคคลที่เราจะโอนเงินให้หรือไม่ด้วย
2.คนไม่มีมือถือก็สมัครพร้อมเพย์ได้ โดยเลือกผูกกับเลขประจำตัวประชาชนอย่างเดียว ในทางกลับกัน คนที่มีมือถือจะผูกเฉพาะหมายเลขมือถือ โดยไม่ใช้เลขประจำตัวประชาชนผูกก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีการรับโอนเงินจากรัฐ รัฐจะโอนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่หมายเลขมือถือ
3.แม้ว่าผู้รับโอนอาจจะมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี แต่เนื่องจากการโอนเงินแต่ละครั้งจะเข้าไปยังบัญชีใดบัญชีหนึ่งเท่านั้น เลขประจำตัวประชาชนจึงใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เช่นกันเลขมือถือ 1 เลขหมายก็ใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เราจะนำแต่ละเลขหมายไปผูกกับหลายบัญชีพร้อมกันไม่ได้ แต่เราสามารถยกเลิกการผูกบัญชีพร้อมเพย์ หรือสามารถเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่จะผูกกับระบบพร้อมเพย์ได้ 4.ในทางกลับกัน คนที่มีเลขมือถือหลายเบอร์ แต่มีบัญชีธนาคารบัญชีเดียว จะผูกมือถือหลายเบอร์กับบัญชีธนาคารบัญชีเดียวก็ได้ เพื่อให้การโอนทุกครั้ง ไม่ว่าผ่านหมายเลขมือถือใด เงินก็จะเข้ามาที่บัญชีเดียว
5.เราแต่ละคนจึงสามารถมีบัญชีพร้อมเพย์ได้หลายบัญชี ตัวอย่างเช่น บัญชีแรกผูกกับเลขประจำตัวประชาชน บัญชีที่สอง ผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องแรก บัญชีที่สาม ผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องที่สอง แต่ถ้าเป็นเงินที่รัฐโอนให้จะโอนเข้าบัญชีแรกเท่านั้น 6.ส่วนใหญ่การแฮกบัญชีธุรกรรมออนไลน์อาจเกิดจากการที่เราหลงเข้าไปในเว็บปลอมที่หลอกให้เรากรอกชื่อผู้ใช้พร้อมรหัสผ่าน หรืออาจเกิดจากการติดมัลแวร์ ทำให้มีโปรแกรมลับแอบส่งชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านให้มิจฉาชีพโดยที่เราไม่รู้ตัว ทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ ผู้ใช้งานมือถือจึงควรตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ธนาคารจริงๆ และไม่ควรติดตั้งโปรแกรม หรือแอปใดๆ โดยไม่ระมัดระวัง และไม่กดลิงก์แปลกๆ ที่มีคนส่งให้ทางอีเมล หรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เพราะอาจมีมัลแวร์แฝงมาฝังตัวในอุปกรณ์ของเรา และหากเป็นไปได้ควรตรวจหามัลแวร์ หรือไวรัสที่แอบฝังตัวในอุปกรณ์ของเราอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ อย่าเชื่อข้อความใดๆ ไม่ว่าจากใครก็ตามที่ขอให้เราเปิดเผย หรือส่งชื่อผู้ใช้งานพร้อมรหัสผ่านให้เขา คิดง่ายๆ ไม่เคยมีธนาคารใดขอให้เราบอกรหัส ATM ให้เขารู้ ถ้าบัตรมีปัญหาก็ขอออกบัตร ATM ใหม่เท่านั้น โดยไม่ต้องมีการเปิดเผยรหัสเก่าให้รู้แต่อย่างใด
7.นอกจากนี้ มิจฉาชีพอาจใช้วิธีการดูดรหัสพร้อมชื่อบัญชีออนไลน์ผ่านระบบ Wi-Fi ที่เขาเปิดล่อให้คนไปใช้งาน โดยอาจทำเป็น Wi-Fi ฟรี หรืออาจตั้งชื่อให้เหมือนกับ Wi-Fi ของค่ายมือถือที่เราใช้บริการ ทำให้เราหลงไปใช้งาน และถูกดูดข้อมูลส่วนบุคคล ในการทำธุรกรรมออนไลน์จึงควรทำผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่ว่าจะเป็นระบบ 3G หรือ 4G ก็ตาม แต่หากจะใช้ Wi-Fi ก็ต้องมั่นใจก่อนว่าเป็น Wi-Fi ที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น ของที่บ้าน หรือที่ทำงานที่เราไว้ใจ หรือตรวจสอบว่า Wi-Fi ฟรีที่จะใช้งานมีระบบการเข้ารหัสเพื่อปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลมิให้ถูกแอบดูดไปได้
8.สำหรับผู้สมัครพร้อมเพย์ เราต้องเข้าใจว่า เมื่อใครจะโอนเงินให้เราผ่านระบบพร้อมเพย์ หลังเขากรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขมือถือที่เราผูกไว้กับบัญชีธนาคารเข้าระบบ จะปรากฏชื่อตัวเราเป็นเจ้าของบัญชีผู้รับโอน ชื่อและเลขหมายของเราจึงไม่เป็นความลับแต่อย่างใด หากเราจะเปิดบัญชีธุรกรรมออนไลน์จึงไม่ควรตั้งรหัสผ่านใดๆ โดยใช้เลขมือถือ หรือเลขประจำตัวดังกล่าว หรือแม้แต่เลขที่บ้าน หรือวันเดือนปีเกิด เพราะมิจฉาชีพอาจไปค้นข้อมูลเหล่านี้มา และใช้วิธีเดารหัสผ่านจากกลุ่มเลขดังกล่าวเพื่อแฮกบัญชีออนไลน์ของเราได้ และคำแนะนำมาตรฐานสำหรับทุกคนคือเราควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนใครก็ตามที่ไม่อยากเปิดเผยเลขหมายมือถือ หรือเลขประจำตัวประชาชนก็ไม่ควรนำเลขที่ต้องการปกปิดนั้นไปผูกกับพร้อมเพย์
9.ในอนาคต มือถือ และเลขหมายมือถือจะกลายมาเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือเป็นเสมือนหนึ่งเคาน์เตอร์ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ เราจึงควรดูแลรักษาอุปกรณ์มือถือ และหมายเลขมือถือให้ดี ในปัจจุบันร้านค้าบางร้านมีอุปกรณ์รับชำระเงินโดยเพียงแต่ลูกค้านำเครื่องมือถือมาแตะ หรือเพียงแต่ยื่นอุปกรณ์มือถือเข้าใกล้ เครื่องหักเงินก็หักเงินจากบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เหมือนเวลาผู้โดยสารรถไฟฟ้านำบัตรรถไฟฟ้าไปแตะทางเข้าสถานี หรือลูกค้าร้านสะดวกซื้อนำบัตรสมาชิกไปแตะที่เครื่องหักเงินตรงหน้าแคชเชียร์ แต่ในอนาคตเราไม่จำเป็นต้องใช้บัตร แต่ใช้เครื่องมือถือที่ผูกกับบัญชี หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แทนบัตรได้เลย เราจึงไม่ควรให้ใครยืมมือถือเราไปใช้งาน และเราควรตั้งรหัสเปิดปิด หรือรหัสเปิดหน้าจอมือถือ เพื่อป้องกันมิให้ใครแอบมาใช้งานมือถือโดยที่เราไม่ยินยอม
นอกจากนี้ สำหรับผู้ใช้งานมือถือแบบเติมเงิน ซึ่งมักจะมีการจำกัดวันใช้งาน หากเราปล่อยให้วันหมด และไม่เพิ่มวันใช้งาน โดยปกติประมาณ 2สัปดาห์ ค่ายมือถือจะยกเลิกบริการ และยึดเบอร์มือถือคืนไป ผู้ใช้งานมือถือทุกคนจึงควรลงทะเบียนหมายเลขมือถือ และเก็บหลักฐานไว้ไม่ให้ใครมาขโมยหมายเลขเราได้ และควรดูแลวันใช้งานไม่ให้หมดอายุ ส่วนในกรณีที่ต้องการเลิกใช้เบอร์นั้นจริงๆ ก็ไปยกเลิกการผูกหมายเลขมือถือกับพร้อมเพย์ได้
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทุกคนตรวจสอบดูว่า เราพร้อมหรือไม่พร้อมในการสมัครพร้อมเพย์

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067711&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+8-7-59&utm_campaign=20160707_m132733658_MGR+Morning+Brief+8-7-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_B2_E0_B8_A3_E0_B9_83_E0_B8_8A_E0_B9_89_E0_B9_82_E0_B8_97_E0_B8_A3_E0_B8_A8_E0_B8_B1_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.