Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2559 TRUE การซื้อลิขสิทธิ์ พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ครั้งนี้ต่างไปจากเดิม ลับเป็นเสมือนการซื้อลิขสิทธิ์ช่องจากบีอินสปอร์ต รวม 4 ช่องที่ถ่ายทอดสดพรีเมียร์อังกฤษ มาออกอากาศบนทรูวิชั่นส์เท่านั้น ดังนั้น รายได้จากการขายโฆษณาที่ทรูวิชั่นส์เคยได้ อาจจะตกเป็นของ บีอินสปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษในไทย

ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ตาม หากทรูวิชั่นส์สามารถขยายฐานจากสมาชิกกลุ่มนี้ เท่ากับว่า รายได้จะเพิ่มเข้ามาด้วย เนื่องจากรูปแบบการซื้อลิขสิทธิ์ พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ครั้งนี้ต่างไปจากเดิมที่ทรูวิชั่นส์เคยเป็นผู้ชนะประมูลและบริหารลิขสิทธิ์ทั้งหมด เช่น การขายลิขสิทธิ์บางแมตช์บนฟรีทีวี เป็นต้น

ขณะที่ครั้งนี้ กลับเป็นเสมือนการซื้อลิขสิทธิ์ช่องจากบีอินสปอร์ต รวม 4 ช่องที่ถ่ายทอดสดพรีเมียร์อังกฤษ มาออกอากาศบนทรูวิชั่นส์เท่านั้น ดังนั้น รายได้จากการขายโฆษณาที่ทรูวิชั่นส์เคยได้ อาจจะตกเป็นของ บีอินสปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษในไทย
_______________________________________________
ความท้าทายใหม่ "ทรูวิชั่นส์" พรีเมียร์ลีก...บนเงื่อนไขที่เปลี่ยน

กลับมาครั้งนี้ พร้อมแพ็กเกจยั่วใจ วางราคาต่ำกว่า "ซีทีเอช" สำหรับการรับชมบิ๊กคอนเทนต์ "พรีเมียร์ลีกอังกฤษ" ครั้งนี้ ไม่ใช่เฉพาะการเป็นคอนเทนต์แม่เหล็กสำหรับ "ทรูวิชั่นส์" ในการขยายฐานผู้ชมเพย์ทีวีเท่านั้น

แต่หมายรวมถึง กลุ่มทรูฯ ทั้งหมด สำหรับการปั้นรายได้จากคอนเทนต์แม่เหล็กนี้ให้มากที่สุด บนเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป

"สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์" รองหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่ม ด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายของคอนเทนต์แม่เหล็ก "พรีเมียร์ลีกอังกฤษ" คือ การเก็บฐานผู้ชมให้มากที่สุด ครอบคลุมทั้งการรับชมทุกแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์ คือ ทรูมูฟเอช และหน้าจอทีวีผ่านระบบโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ทรูวิชั่นส์




แม้จะไม่มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากได้ฐานผู้ชมเท่าไร แต่ "สุภกิจ" บอกว่า ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องการให้ผู้ใช้บริการทรูมูฟเอชทั้ง 29 ล้านราย เป็นสมาชิก พร้อมวางราคาจูงใจ 29 บาทต่อเดือน ครอบคลุมคอนเทนต์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ และถ่ายทอดสดกีฬายอดนิยมจากต่างประเทศอีก 6 ลีก รวมกว่า1,500 แมตช์

"สุภกิจ" กล่าวต่อว่า สำหรับเพย์ทีวี วางแพ็กเกจหลากหลาย เช่น แพ็กเกจเสริมเดือนละ 199 บาท แพ็กเกจแพลทินัมทั้งเก่าและใหม่รับชมฟรี 1 ฤดูกาล (ฤดูกาล 2016/2017) ถึง 30 กันยายน 60 และแพ็กเกจรายเดือนอื่น ๆ ก็ซื้อแพ็กเสริมได้เดือนละ 299 บาท

"ทิศทางธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) จากนี้ไปจะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับตลาดมือถือ คือ เติมเงิน เพื่อรับชมคอนเทนต์ที่สนใจ"

ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ภายใต้กลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ คือ เมื่อเปิดเบอร์ทรูมูฟเอช ฟรี กล่องทรูดิจิทัลเอชดี พร้อมแพ็กเกจ 390 บาทต่อเดือน

นั่นหมายถึงจะได้ขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากกลุ่มกล่องขายขาด (ทรูดิจิทัลเอชดี) ปัจจุบันมีฐานประมาณ 1.5-1.7 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม หากทรูวิชั่นส์สามารถขยายฐานจากสมาชิกกลุ่มนี้ เท่ากับว่า รายได้จะเพิ่มเข้ามาด้วย เนื่องจากรูปแบบการซื้อลิขสิทธิ์ พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ครั้งนี้ต่างไปจากเดิมที่ทรูวิชั่นส์เคยเป็นผู้ชนะประมูลและบริหารลิขสิทธิ์ทั้งหมด เช่น การขายลิขสิทธิ์บางแมตช์บนฟรีทีวี เป็นต้น

ขณะที่ครั้งนี้ กลับเป็นเสมือนการซื้อลิขสิทธิ์ช่องจากบีอินสปอร์ต รวม 4 ช่องที่ถ่ายทอดสดพรีเมียร์อังกฤษ มาออกอากาศบนทรูวิชั่นส์เท่านั้น ดังนั้น รายได้จากการขายโฆษณาที่ทรูวิชั่นส์เคยได้ อาจจะตกเป็นของ บีอินสปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษในไทย

"พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา" หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ลิขสิทธิ์เอ็กซ์คลูซีฟสำหรับช่องทางออนไลน์ คือ ทรูมูฟเอช รายเดียวในไทย ขณะที่ เพย์ทีวี แม้จะไม่ได้เอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์เฉพาะทรูวิชั่นส์ แต่ก็ไม่มีใครซื้อนอกจากบริษัท

"การได้พรีเมียร์ลีกอังกฤษกลับมาครั้งนี้ เท่ากับว่ากลุ่มทรูได้ฟุตบอลทุกลีกกลับมาทั้งหมด ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนกลยุทธ์ด้านราคาใหม่ วางราคาเบา ๆ ให้เข้าถึงผู้ชมกว้างขึ้น จากเดิมที่โฟกัสเฉพาะฐานสมาชิกกลุ่มพรีเมี่ยมเท่านั้น"

ความท้าทายครั้งนี้ คือ กลุ่มทรูฯ จะทำอย่างไร เพื่อสร้างรายได้ให้มากที่สุด ทางออก ณ ตอนนี้ คือ การขยายฐานผู้ชมให้มากที่สุด เพื่อสร้างรายได้จากค่าบริการการรับชมพรีเมียร์ลีกอังกฤษ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1470037072

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.