Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 สิงหาคม 2559 CAT ระบุ ปีนี้จะเน้นลูกค้าโฮมยูสมากขึ้น ยอดลูกค้าเพิ่ม 15% สูงกว่าตลาดที่โต 6% ถึงจะแข่งดุแต่ยังมีช่องว่างอีกมาก ปีนี้ทุกค่ายแข่งที่ 15 Mpbs. แต่ปีหน้าจะไปที่ 30 Mpbs.

ประเด็นหลัก


ด้านนายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ แคท เสริมว่า ตลาดบรอดแบนด์มีมูลค่าราว 50,000 ล้านบาท และมีการแข่งขันสูงทั้งจากการมีผู้ประกอบการรายใหม่และการใช้กลยุทธ์ตัดราคา ขณะที่รายเดิมที่เคยเป็นเจ้าตลาดมีอัตราการไหลออกของลูกค้ามากขึ้น ทำให้แต่ละรายต้องสร้างจุดเด่นดึงดูดลูกค้าให้มากที่สุดทั้งในกลุ่มองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป (โฮมยูส)

ปัจจุบันรายได้รวมจากบริการอินเทอร์เน็ตของแคท รวมวงจรเช่าและเกตเวย์อยู่ที่ราว 5,000 ล้านบาท หากแยกเฉพาะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กลุ่มองค์กรจะสร้างรายได้ราว 500 ล้านบาท ขณะที่ลูกค้าโฮมยูสมีอยู่ 1 แสนราย สร้างรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท แต่ในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 2 แสนราย ทำรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท


"ปีนี้จะเน้นลูกค้าโฮมยูสมากขึ้น ยอดลูกค้าเพิ่ม 15% สูงกว่าตลาดที่โต 6% ถึงจะแข่งดุแต่ยังมีช่องว่างอีกมาก ปีนี้ทุกค่ายแข่งที่ 15 Mpbs. แต่ปีหน้าจะไปที่ 30 Mpbs."





_________________________________________________







"แคท" ดิ้นหารายได้ใหม่-ขยับแชร์บรอดแบนด์


"แคท" เร่งหา New S-Curve เดินหน้าหาพันธมิตรเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน ลงทุนพันล้านอัพเกรด-ขยายโครงข่าย FTTX ขยับมาร์เก็ตแชร์ลูกค้าโฮมยูส ขณะที่โมเดลตั้งบริษัทร่วมทุน "ดีแทค" มีลุ้นไตรมาส 3

นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการและรักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) จะมีโมเดลพลิกฟื้น แคท และทีโอที ด้วยการรวมทรัพย์สินแล้วแยกตั้ง 3 บริษัทลูก แต่ยังมีความไม่ชัดเจนหลายประเด็น ในระหว่างนี้ แคทจึงเดินหน้าตามแผนธุรกิจเดิม และแสวงหาธุรกิจใหม่ ๆ (New S-Curve) ที่จะสร้างรายได้ใหม่

"เราต้องเร่งทดลองหาธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve โดยเฉพาะที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินของโครงข่ายเดิม อาทิ โครงการสมาร์ทซิตี้ ที่ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรม กำลังศึกษาโมเดลการใช้พื้นที่ 600 ไร่ ที่ศรีราชา พัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) เป็นต้น"

รวมถึงการพัฒนาบริการเดิมด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรและมีโซลูชั่นที่หลากหลาย ทั้งหาพันธมิตรเพิ่มเพื่อสร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้า อย่างบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง "C Internet" ล่าสุดร่วมกับบริษัท ไพร์มไทม์ โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ เปิดบริการ C nema ให้ลูกค้า C Internet ในแพ็กเกจ 30 Mbps. ค่าบริการ 1,500 บาท/เดือน ได้สิทธิ์รับชมทีวีออนไลน์แบบออนดีมานด์ (OTT) ของไพร์มไทม์ฯ 12 เดือนฟรี

ด้านนายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ แคท เสริมว่า ตลาดบรอดแบนด์มีมูลค่าราว 50,000 ล้านบาท และมีการแข่งขันสูงทั้งจากการมีผู้ประกอบการรายใหม่และการใช้กลยุทธ์ตัดราคา ขณะที่รายเดิมที่เคยเป็นเจ้าตลาดมีอัตราการไหลออกของลูกค้ามากขึ้น ทำให้แต่ละรายต้องสร้างจุดเด่นดึงดูดลูกค้าให้มากที่สุดทั้งในกลุ่มองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป (โฮมยูส)

ปัจจุบันรายได้รวมจากบริการอินเทอร์เน็ตของแคท รวมวงจรเช่าและเกตเวย์อยู่ที่ราว 5,000 ล้านบาท หากแยกเฉพาะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กลุ่มองค์กรจะสร้างรายได้ราว 500 ล้านบาท ขณะที่ลูกค้าโฮมยูสมีอยู่ 1 แสนราย สร้างรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท แต่ในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 2 แสนราย ทำรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท

"ปีนี้จะเน้นลูกค้าโฮมยูสมากขึ้น ยอดลูกค้าเพิ่ม 15% สูงกว่าตลาดที่โต 6% ถึงจะแข่งดุแต่ยังมีช่องว่างอีกมาก ปีนี้ทุกค่ายแข่งที่ 15 Mpbs. แต่ปีหน้าจะไปที่ 30 Mpbs."

และได้มีการปรับราคา C Internet ให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด และหาพันธมิตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของแพ็กเกจให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ามากที่สุด ในเดือน ต.ค.จะจัดแคมเปญใหญ่อีกรอบ โดยลูกค้า 80% อยู่ในต่างจังหวัด เพราะมีศูนย์บริการครอบคลุมเกือบทุกอำเภอ และมีทีมตลาดที่ลงพื้นที่สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมาตลอด แต่เพื่อสร้างความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้นจึงพัฒนาระบบผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ครอบคลุมที่สุด

"เรามองว่าลูกค้าที่อยากใช้บรอดแบนด์ คือคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว อย่างน้อยก็บนสมาร์ทโฟน การเพิ่มช่องทางบริการผ่านทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นน่าจะตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้ และแคทเอง ที่ในปีนี้จะมีงบประมาณด้านการตลาดสำหรับบริการอินเทอร์เน็ตราว 100 ล้านบาท ขณะที่คู่แข่งทุ่มกันเต็มที่ การเลือกใช้สื่อตรงกลุ่มน่าจะดีกว่า"

ปัจจุบันโครงข่ายบรอดแบนด์ของแคทเป็น FTTX ทั้งหมด ครอบคลุมทุกอำเภอ และลงถึงระดับตำบลราว 70% โดยในแต่ละปีใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายโครงข่ายรวมถึงอัพเกรดความเร็วให้เพิ่มขึ้นรองรับความต้องการใช้งานที่สูงขึ้นของผู้บริโภค โดยตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี บริการ C Internet จะชิงมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้น และติดอันดับ 1 ใน 4 ของตลาดได้

ส่วนความคืบหน้าในการตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างแคทกับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ แคท กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาโดยอัยการสูงสุด ก่อนที่จะเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ซึ่งกำลังพยายามจะผลักดันให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 3 เพราะหากยิ่งล่าช้า แคทก็ยิ่งเสียประโยชน์


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1471513016

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.