Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2559 Ivan Kwiatkowski คือ นักวิจัยซีเคียวริตีคนดังกล่าว ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เหล่านักต้มตุ๋นบนอินเทอร์เน็ตมักหารายได้ด้วยการสร้างหน้าเพจปลอม โฆษณาปลอม หรืออีเมลหลอกลวง

ประเด็นหลัก

Ivan Kwiatkowski คือ นักวิจัยซีเคียวริตีคนดังกล่าว ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เหล่านักต้มตุ๋นบนอินเทอร์เน็ตมักหารายได้ด้วยการสร้างหน้าเพจปลอม โฆษณาปลอม หรืออีเมลหลอกลวง เช่น บอกว่าไฟล์ของเหยื่อกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ขอให้ติดต่อฝ่าย Technical support ผ่านการโทรศัพท์ หรืออีเมลแอดเดรส เพื่อทำการแก้ไข
“เหยื่อที่กำลังตกใจ เมื่อโทรเข้าไปก็มักจะติดกับนักต้มตุ๋นเหล่านั้น หลายคนเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ซีเคียวริตีตามที่นักต้มตุ๋นกล่าวอ้าง เพื่อหวังว่าคอมพิวเตอร์ของตัวเองจะหายจากอาการดังกล่าว” Kwiatkowski กล่าว
กรณีของ Kwiatkowski นั้น เป็นพ่อแม่ของเขาที่หลงกลนักต้มตุ๋น เขาจึงตัดสินใจโทรไปยังหมายเลขที่ระบุไว้ และอ้างตัวเองว่า เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว ซึ่งเขาเผยว่า เจ้าหน้าที่ปลายสายพยายามจะทำให้เขาสับสนด้วยการพูดโดยใช้ศัพท์เฉพาะด้านเทคนิคยากๆ จากนั้นก็ชักชวนให้เขาซื้อบริการปกป้องข้อมูลแบบรายปีที่ราคา 300 ยูโร



________________________________


หลอกผิดคน นักตุ๋นออนไลน์เจอดี เหยื่อส่ง Ransomware แทนข้อมูลบัตรเครดิต


ตอบโต้กลับได้สมน้ำสมเนื้อจริงๆ สำหรับนักวิจัยด้านซีเคียวริตีสัญชาติฝรั่งเศสรายหนึ่งที่พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่บ้าน ซึ่งพ่อแม่ของเขาใช้งานนั้น ถูกเล่นงานโดยนักต้มตุ๋นที่มาหลอกพ่อแม่เขาว่า เครื่องมีปัญหาด้านความปลอดภัย แต่แทนที่จะเขาจะส่งข้อมูลบัตรเครดิตไปให้โดยดุษฎี เขายังแถม Ransomware หรือไฟล์เรียกค่าไถ่กลับไปให้ 18 มงกุฎรายนั้นด้วย
Ivan Kwiatkowski คือ นักวิจัยซีเคียวริตีคนดังกล่าว ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เหล่านักต้มตุ๋นบนอินเทอร์เน็ตมักหารายได้ด้วยการสร้างหน้าเพจปลอม โฆษณาปลอม หรืออีเมลหลอกลวง เช่น บอกว่าไฟล์ของเหยื่อกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ขอให้ติดต่อฝ่าย Technical support ผ่านการโทรศัพท์ หรืออีเมลแอดเดรส เพื่อทำการแก้ไข
“เหยื่อที่กำลังตกใจ เมื่อโทรเข้าไปก็มักจะติดกับนักต้มตุ๋นเหล่านั้น หลายคนเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ซีเคียวริตีตามที่นักต้มตุ๋นกล่าวอ้าง เพื่อหวังว่าคอมพิวเตอร์ของตัวเองจะหายจากอาการดังกล่าว” Kwiatkowski กล่าว
กรณีของ Kwiatkowski นั้น เป็นพ่อแม่ของเขาที่หลงกลนักต้มตุ๋น เขาจึงตัดสินใจโทรไปยังหมายเลขที่ระบุไว้ และอ้างตัวเองว่า เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว ซึ่งเขาเผยว่า เจ้าหน้าที่ปลายสายพยายามจะทำให้เขาสับสนด้วยการพูดโดยใช้ศัพท์เฉพาะด้านเทคนิคยากๆ จากนั้นก็ชักชวนให้เขาซื้อบริการปกป้องข้อมูลแบบรายปีที่ราคา 300 ยูโร
แต่ Kwiatkowski บอกกับนักต้มตุ๋นไปว่า เขามองรายละเอียดบนบัตรเครดิตได้ไม่ถนัด และเสนอว่าเขาจะส่งภาพถ่ายของบัตรเครดิตไปให้แทน แต่แทนที่จะทำตามนั้น เขากลับส่งไฟล์เรียกค่าไถ่ไปให้ยังปลายทาง และปลอมตัวให้ไฟล์นั้น ดูเหมือนไฟล์ภาพที่บีบอัดมา เมื่อทางปลายสายบอกว่า เขาได้เปิดไฟล์นั้นๆ แล้ว แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็เท่ากับว่าติดกับของ Kwiatkowski เข้าอย่างจัง
อย่างไรก็ดี Kwiatkowski เผยว่า เขาไม่สามารถยืนยันได้ว่า คอมพิวเตอร์ของนักตุ๋นรายนี้ติดไวรัสที่เขาส่งเข้าไปหรือไม่ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรตอบโต้กลับไปเลย
“เขาไม่ได้เปิดเผยว่า เกิดอะไรขึ้นกับคอมพิวเตอร์ของเขาบ้าง ผมจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่า ไวรัสนั้นติดลงบนเครื่องเขาแล้วหรือไม่ แต่เป็นไปได้ว่าการเข้ารหัสไฟล์ทั้งเครื่อง (ก่อนจะปรากฏหน้าจอเรียกค่าไถ่) นั้น อาจต้องใช้เวลาอยู่บ้างเช่นกัน” Kwiatkowski กล่าวติดตลก
ด้านศาสตราจารย์อลัน วูดเวิร์ด จากมหาวิทยาลัย Surrey เตือนว่า การตอบโต้ด้วยการแฮกกลับคืนนั้น อาจเกิดผลกระทบตามมา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นกัน
แต่สำหรับ Kwiatkowski ที่ได้โพสต์เรื่องนี้ลงในบล็อกส่วนตัวของเขานั้น ผลตอบรับจากผู้อ่านเป็นไปในทางบวก และมองว่าเขาทำได้สุดยอดมากที่ตอบโต้กลับไปเช่นนั้น

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000081492&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+17-8-59&utm_campaign=20160816_m133549381_MGR+Morning+Brief+17-8-59&utm_term=_E0_B8_AB_E0_B8_A5_E0_B8_AD_E0_B8_81_E0_B8_9C_E0_B8_B4_E0_B8_94_E0_B8_84_E0_B8_99+_E0_B8_99_E0_B8_B1

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.