Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กันยายน 2559 ซิป้า เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับปี 2558 มูลค่าตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ปี 2559 มีการเติบโตขึ้น 4.4% ถือเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากปี 2558 มีปัญหาทางการเมือง

ประเด็นหลัก



"สุวิมล เทวะศิลชัยกุล" รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับปี 2558 มูลค่าตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ปี 2559 มีการเติบโตขึ้น 4.4% ถือเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากปี 2558 มีปัญหาทางการเมือง ประกอบกับเศรษฐกิจทั้งใน และต่างประเทศหดตัว ทำให้การลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์มีมูลค่า 52,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 เพียง 1.2% จากเดิมที่เติบโตเกือบ 10% มาโดยตลอด


"ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจหดตัวจริง ๆ หลายองค์กรมีการเติบโตทางธุรกิจเพียง 1-2% ประกอบกับการเข้ามามีบทบาทของ Software as a Service หรือการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ ทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถจ่ายตามใช้จริง แทนที่จะซื้อซอฟต์แวร์มูลค่ามหาศาลเพื่อใช้ทั้งองค์กร เทรนด์นี้เป็นกันทั่วโลก"




_______________________________



ตลาดซอฟต์แวร์ไทย โต 4.4% คนไอทีขาด-เรียนไม่ตอบโจทย์ธุรกิจ


หลังภาครัฐมีการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการขับเคลื่อนบริการต่าง ๆ เช่น "พร้อมเพย์" แพลตฟอร์มธุรกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ รวมถึงจะมีงบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัพให้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และจะส่งผลถึงภาพรวมตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยในปีนี้ด้วย โดยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 54,893 ล้านบาท

"สุวิมล เทวะศิลชัยกุล" รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับปี 2558 มูลค่าตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ปี 2559 มีการเติบโตขึ้น 4.4% ถือเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากปี 2558 มีปัญหาทางการเมือง ประกอบกับเศรษฐกิจทั้งใน และต่างประเทศหดตัว ทำให้การลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์มีมูลค่า 52,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 เพียง 1.2% จากเดิมที่เติบโตเกือบ 10% มาโดยตลอด

"ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจหดตัวจริง ๆ หลายองค์กรมีการเติบโตทางธุรกิจเพียง 1-2% ประกอบกับการเข้ามามีบทบาทของ Software as a Service หรือการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ ทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถจ่ายตามใช้จริง แทนที่จะซื้อซอฟต์แวร์มูลค่ามหาศาลเพื่อใช้ทั้งองค์กร เทรนด์นี้เป็นกันทั่วโลก"

นอกจากนี้การที่บริษัทซอฟต์แวร์ไทยเริ่มหันมาพัฒนา Software Enable Service หรือการให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี และไปสร้างรายได้จากยอดทรานแซ็กชั่นที่องค์กรต่าง ๆ ใช้งานทำให้รายได้ไม่ได้เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยตรง ยกตัวอย่าง เช่น Builk และ Ookbee

อย่างไรก็ตามในปี 2558 ที่ผ่านมา ตลาดการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ ที่มีมูลค่า 52,561 ล้านบาท แบ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ 49,231 ล้านบาท และส่งออก 3,330 ล้านบาท ถ้าแบ่งตามลักษณะซอฟต์แวร์จะมาจากซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 14,068 ล้านบาท บริการซอฟต์แวร์ 38,493 ล้านบาท โดยผู้ซื้อซอฟต์แวร์ที่ผลิตภายในประเทศมากที่สุด คือ ธุรกิจเอกชน คิดเป็น 70% ของมูลค่าทั้งหมด รองลงมาเป็นหน่วยงานราชการ 22% และรัฐวิสาหกิจ รวมกับบุคคลทั่วไป ไม่ถึง 10% ส่วนอุตสาหกรรมที่ลงทุนมากที่สุด คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน

ในทางกลับกันกลุ่มซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว หรือ Embedded Software ปี 2558 ที่ผ่านมา เติบโตมากกว่าการผลิต และบริการซอฟต์แวร์ เพราะเมื่อเทียบกับปี 2557 เพิ่มขึ้นถึง 3.5% คิดเป็นมูลค่า 6,039 ล้านบาท แบ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ 3,719 ล้านบาท ส่งออกซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว 2,320 ล้านบาท โดยเหตุผลที่เติบโตมาจากการที่อุปกรณ์ไอโอที (Internet of Things) มีการผลิตมากขึ้นจากการที่โครงข่ายอินเทอร์เน็ตครอบคลุมทั่วประเทศ, ความเร็วของเทคโนโลยี 4G และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาเข้าถึงได้มากขึ้น

สำหรับปี 2559 มีโอกาสที่ตลาดซอฟต์แวร์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว สังเกตจากการลงทุนของหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลต่าง ๆ ส่งผลถึงการลงทุนของภาคเอกชนที่จะลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ รวมถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ โดยการลงทุนต่าง ๆ ยังคงเป็นไปในรูปแบบ Software as a Service เพราะคุ้มค่ามากกว่า เมื่อเงินลงทุนมีจำนวนต่ำกว่าการซื้อซอฟต์แวร์แบบเดิม การเติบโตจึงไม่หวือหวาเหมือนก่อน

"ปีนี้ตลาดผลิต และบริการซอฟต์แวร์คงโตได้แค่ 4.4% แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้น และสัญญาณการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงกลุ่มสตาร์ตอัพจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น เพราะตัวแปรหลักคือ การซื้อ Software as a Service ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต้องปรับตัว เพื่อสร้างวิธีหารายได้รูปแบบใหม่ด้วย ส่วนในปี 2560 ซิป้าคาดการณ์ว่าจะเติบโตจากปี 2559 ที่ 4.3% คิดเป็นมูลค่า 57,257 ล้านบาท ไม่แตกต่างจากเดิมนัก เพราะเทรนด์การใช้งานยังคงเน้นไปที่ Software as a Service"

ด้าน "ธนชาติ นุ่มนนท์" ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี เสริมว่า การพัฒนาบุคลากรด้านไอทีมีการเติบโตอย่างช้า ๆ เช่นกัน เมื่อเทียบกับความต้องการของอุตสาหกรรมจึงถือว่าค่อนข้างขาดแคลน โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา มีบุคลากรด้านนี้ 55,873 คน เพิ่มจากปี 2557 เพียง 9.7% และปี 2559 นี้ มีโอกาสเติบโตในอัตราเดิม ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะจำนวนผู้เข้าศึกษาคณะเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ลดลง ขณะที่จำนวนบัณฑิตที่จบมามีเพียงครึ่งเดียว นอกจากนี้ภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเมื่อจบออกมายังไม่ตอบโจทย์เทคโนโลยีปัจจุบันด้วย

"ไม่ใช่แค่เรียนจบไม่จบ และภาควิชาไม่ตอบโจทย์ แต่ยังมีเรื่องสตาร์ตอัพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กลุ่มบัณฑิตเก่ง ๆ จบออกมาต่างมีความฝันเป็นของตนเอง และหันไปทำสตาร์ตอัพกันมากขึ้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการคนไอทีต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่สตาร์ตอัพน่าจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทางภาครัฐต้องช่วยหาวิธีการเพิ่มบุคลากรด้านนี้ เพื่อช่วยเหลือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันองค์กรต่าง ๆ ให้ดิจิไทซ์ตัวเองได้เร็วที่สุด"

ดังนั้นการเปิดสอนภาควิชาเกี่ยวกับ Emerging Technologies เช่น Embedded System, Cloud Technology, Internet of Things (IoT) และ Big Data เพิ่มขึ้น ถือเป็นเรื่องจำเป็น หากต้องการพัฒนาบุคลากรด้านไอที ซึ่งปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเริ่มให้ความสำคัญบ้างแล้ว

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1473064256

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.