Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กันยายน 2559 เลื่อนอีก! 18 ก.ย. กทค.ไม่สรุปปัญหาเยียวยาสัมปทาน TRUEMOVE 2G และ AIS GSM 1800 จับตา 18 ก.ย. หมดอายุความ โดย TRUEจำนวน 1,069.98 ล้านบาท AIS GSM 1800 627.64 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้

ประเด็นหลัก







รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อ 7 กันยายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอวาระการประชุม ให้บอร์ดพิจารณาแนวทางการดำเนินการกรณีการเรียกให้ผู้ให้บริการนำส่งเงินรายได้แผ่นดินจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ)


โดยก่อนหน้านี้ สำนักงาน กสทช.ได้มอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดฟ้องเป็นคดีปกครองเรียกให้ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด นำส่งเงินรายได้จากการให้บริการภายใต้ประกาศเยียวยาฯ ช่วงที่ 1 คือตั้งแต่สัมปทานสิ้นสุด 16 ก.ย. 2556 จนถึง 17 ก.ค. 2557 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 1,069.98 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้


แต่ฟากทรูมูฟและดีพีซีคัดค้านตัวเลขที่คณะทำงานได้สรุปขึ้น ทั้งปฏิเสธการชำระเงินหลังจาก กทค.เคยมีมติเมื่อ 13 ส.ค. 2558 เห็นชอบให้ทรูมูฟนำส่งรายได้ช่วงที่ 1 ราว 1,069.98 ล้านบาท ดีพีซี 627.64 ล้านบาท โดยขอให้มีการทบทวนใหม่เนื่องจากพิจารณาค่าใช้จ่ายไม่สะท้อนความจริง พร้อมทำเอกสารชี้แจงรายได้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาให้

_______________________________



เลื่อนอีก! กทค.ไม่สรุปปัญหาเยียวยาสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี" จับตา 18 ก.ย. หมดอายุความ



เลื่อนอีก! กทค.ไม่สรุปปัญหาเยียวยาสัมปทาน"ทรูมูฟ-ดีพีซี"รอเลขาธิการกลับจากพักร้อน จับตา 18 ก.ย. หมดอายุความ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อ 7 กันยายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอวาระการประชุม ให้บอร์ดพิจารณาแนวทางการดำเนินการกรณีการเรียกให้ผู้ให้บริการนำส่งเงินรายได้แผ่นดินจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ)

โดยก่อนหน้านี้ สำนักงาน กสทช.ได้มอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดฟ้องเป็นคดีปกครองเรียกให้ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด นำส่งเงินรายได้จากการให้บริการภายใต้ประกาศเยียวยาฯ ช่วงที่ 1 คือตั้งแต่สัมปทานสิ้นสุด 16 ก.ย. 2556 จนถึง 17 ก.ค. 2557 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 1,069.98 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้

อย่างไรก็ดี เมื่อ 17 สิงหาคม 2559 ศาลปกครองกลางมีหมายแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีไปให้ถ้อยคำในประเด็นเกี่ยวกับผู้มีอำนาจเรียกให้ทรูมูฟ นำส่งรายได้จากการให้บริการ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ตุลาการเจ้าของสำนวนเห็นว่า ข้อกฎหมายตามประกาศมาตรการเยียวยาไม่มีความชัดเจนว่า สำนักงาน กสทช. ซึ่งจะเป็นผู้ฟ้องคดี เป็นผู้มีอำนาจเรียกให้ ทรูมูฟ นำส่งรายได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ใช่ ศาลปกครองกลางก็อาจจะมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน กสทช. จึงเสนอเรื่องให้ที่ประชุมพิจารณาเพื่อแก้ไขคำฟ้องให้ กทค. เข้าเป็นผู้ฟ้องคดีร่วมกับสำนักงาน กสทช. ในคดีดังกล่าวด้วย

โดยในที่ประชุม กทค.ในครั้งนี้ได้ใช้เวลาพิจารณาเรื่องดังกล่าวประมาณเกือบหนึ่งชั่วโมง แต่ไม่อาจมีมติได้ สุดท้ายที่ประชุมจึงมีมติให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไป โดยรอจนกว่าเลขาธิการ กสทช. กลับมาปฏิบัติหน้าที่เสียก่อน เนื่องจากขณะนี้อยู่ในระหว่างการลาพักร้อน

ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กทค.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า เห็นด้วยกับแนวทางที่สำนักงาน กสทช. นำเสนอให้ กทค. เป็นผู้ฟ้องคดีร่วม เนื่องจากจะลดความเสี่ยงจากการที่ศาลปกครองกลางจะไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยสำนักงาน กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบด้วยว่า คดีดังกล่าวมีอายุความ 1 ปี และกำลังจะหมดอายุความลงในวันที่ 18 กันยายน 2559 นี้ ดังนั้น กทค. จึงควรเร่งตัดสินใจในเรื่องนี้ เพราะหากดำเนินการล่าช้าทำให้คดีขาดอายุความ ก็จะเกิดความเสียหายกับรัฐได้ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ บจ. ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ต้องนำส่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ประกาศมาตรการเยียวยาฯ ด้วยเช่นกัน จำนวน 879.59 ล้านบาท แต่ปัจจุบันยังไม่มีการฟ้องคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักงาน กสทช. ก็ต้องเร่งดำเนินการ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1473248565





ยื้อสรุปยอดเยียวยาสัมปทาน"ทรูมูฟ-ดีพีซี"



3 ปียังไม่ฟันธง ! สำนักงาน กสทช.เลื่อนสรุปยอดเงินเยียวยาหลังหมดสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี" อีกครั้ง โอดค้างอยู่คณะทำงาน 2 ปี จะให้เลขาฯสรุปภายใน 8 วันทำไม่ได้ ขณะที่ยอดตัวเลขจากฝั่งคณะทำงานประเมิน-ค่ายมือถือยังต่างกัน 10,000 ล้านบาท ฟาก สตง.ไล่บี้ต่อเนื่อง

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ล่าสุด (1 ก.ย. 2559) ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับยอดเงินที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) จะต้องนำส่งเข้ารัฐ ตามประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556

เนื่องจากทางสำนักงาน กสทช.ได้เพิ่งส่งรายงานความเห็นและตัวเลขยอดเงินที่ประเมินได้ จึงอยากให้เวลาคณะกรรมการทั้งหมดได้พิจารณารายละเอียดอีกครั้งก่อนตัดสินใจ จึงได้ขอเลื่อนวาระออกไปพิจารณาในการประชุมสัปดาห์หน้าแทน

"ตอนนี้แต่ละฝั่ง คือทั้งบอร์ดและคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดินกับทางสำนักงาน กสทช. โดยเลขาธิการจะต้องทำรายงานสรุปตัวเลขตามความเห็นของตนเองเสนอให้บอร์ดพิจารณา ซึ่งทางสำนักงานเพิ่งประเมินเสร็จ เนื่องจากตัวเลขมีความซับซ้อนและอยากจะให้เป็นรายได้ที่เกิดจากการใช้งานคลื่นความถี่เท่านั้น รวมถึงต้องชี้แจงได้ในทุกประเด็นหากมีการฟ้องร้อง จึงใช้เวลานาน และอยากให้บอร์ดได้พิจารณารายงานที่เพิ่งส่งให้ละเอียดก่อน จึงขอเลื่อนไปเป็นวาระการประชุมหน้า แม้ว่าทาง สตง. (สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) จะเร่งมา แต่ต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้มันค้างอยู่ที่คณะทำงาน 2 ปี เพิ่งแจ้งมาให้เลขาธิการประเมินตัวเลขเมื่อ 8 วันก่อน ตัวเลขมันยุ่งมากทำไม่ทัน"

แหล่งข่าวภายใน กสทช. เปิดเผยว่า วาระการพิจารณาสรุปตัวเลขรายได้ช่วงเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทานค้างมานานแล้ว ทาง สตง.ได้ทวงถามถึงการนำเงินส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินมาหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ

โดยก่อนหน้านี้คณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน ได้แบ่งช่วงเวลาที่ต้องนำส่งรายได้ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.ตั้งแต่สัมปทานสิ้นสุด 16 ก.ย. 2556 จนถึง 17 ก.ค. 2557 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่น 1800 MHz ช่วงที่ 2 คือการให้บริการภายใต้คำสั่ง คสช. 17 ก.ค. 2557-17 ก.ค. 2558 และช่วงที่ 3 หลังสิ้นสุดคำสั่งชะลอการประมูลจนจัดสรรใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล 18 ก.ค.-3 ธ.ค. 2558

แต่ฟากทรูมูฟและดีพีซีคัดค้านตัวเลขที่คณะทำงานได้สรุปขึ้น ทั้งปฏิเสธการชำระเงินหลังจาก กทค.เคยมีมติเมื่อ 13 ส.ค. 2558 เห็นชอบให้ทรูมูฟนำส่งรายได้ช่วงที่ 1 ราว 1,069.98 ล้านบาท ดีพีซี 627.64 ล้านบาท โดยขอให้มีการทบทวนใหม่เนื่องจากพิจารณาค่าใช้จ่ายไม่สะท้อนความจริง พร้อมทำเอกสารชี้แจงรายได้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาให้

ขณะที่ทางสำนักงาน กสทช.ได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องทรูมูฟและดีพีซีต่อศาลปกครองเพื่อให้ชำระเงินเยียวยาช่วงที่ 1 ตามมติ กทค.เมื่อ ส.ค. 2558 ไปแล้ว โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวนก่อนที่ศาลจะพิจารณาว่าจะรับฟ้องหรือไม่

"ตอนนี้มีความพยายามที่จะขอถอนฟ้องโดยอ้างว่าจะได้รวบยอดเรียกให้เอกชนมาชำระเงินพร้อมกันทั้ง3งวดได้สะดวกขึ้น แต่มีประเด็นข้อกฎหมายต้องพิจารณา คือ เงื่อนไขในการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่จะเริ่มนับต่อเมื่อมีการทวงถาม หากมีการถอนฟ้องการเรียกชำระเงินงวดที่ 1 อาจส่งผลให้บริษัทไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในประเด็นนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเช่นกัน เพราะทางสำนักงาน กสทช.ถอนวาระการพิจารณาออกไปก่อน"

โดยตัวเลขรายได้ทั้ง 3 ช่วงเวลาของคณะทำงานตรวจสอบ ไม่รวมค่าใช้โครงข่ายของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (แคท) ที่ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องนำจ่ายแคทเอง ยอดเงินรายได้ที่ทรูมูฟ ต้องนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินจะอยู่ที่ 13,989.24 ล้านบาท ยอดของดีพีซีจะอยู่ที่ 879.59 ล้านบาท

ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการได้สรุปยอดเงินนำส่งเข้าคลังไว้แตกต่างออกไป คือ ทรูมูฟ ระบุยอดอยู่ที่ 3,088.42 ล้านบาท ส่วนดีพีซี สรุปยอดเงินต่างไปเล็กน้อยคือ 879.39 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบมูลค่าเงินรายได้ที่ต้องนำส่งเข้าคลังของ 2 แนวทาง แตกต่างกันราว 10,900.82 ล้านบาท

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้





http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1473063991

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.