Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 กทค. เคยมีมติในการประชุมครั้งที่ 27/2558 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 อนุญาตให้ ทีโอที ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2400 MHz (ช่วง 2310 – 2370 MHz) จำนวน 60 MHz และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ติดตามแผนและผลการดำเนินการปรับปรุงคลื่นของ TOT เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ประเด็นหลัก






ทั้งนี้สืบเนื่องจาก กทค. เคยมีมติในการประชุมครั้งที่ 27/2558 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 อนุญาตให้ ทีโอที ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2400 MHz (ช่วง 2310 – 2370 MHz) จำนวน 60 MHz และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ติดตามแผนและผลการดำเนินการปรับปรุงคลื่นของ ทีโอที เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด



โดนทีโอที มีแผนขอปรับปรุงคลื่นย่านดังกล่าวเพื่อนำไปให้บริการด้านเสียง ข้อมูล และด้วยเทคโนโลยี LTE ในการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ (Mobile Wireless Broadband) ในรูปแบบบริการขายส่งและขายปลีก รวมทั้งบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สาย (Fixed Wireless Broadband) ด้วยเทคโนโลยี LTE โดยมีแผนการสร้างโครงข่าย (Roll Out Plan) ในปีแรก ด้วยการติดตั้งสถานีฐานหรือสถานีฐานขนาดเล็กให้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้อย่างน้อย 100,000 ราย และให้บริการขายส่งแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNOs) หลังจากนั้นมีแผนติดตั้งสถานีฐานหรือสถานีฐานขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปีที่ 5 หรือระยะสุดท้าย ตั้งเป้าว่าจะสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้อย่างน้อย 900,000 ราย รวมทั้งให้บริการขายส่งแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNOs) และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNOs)







____________________________________


23 ส.ค.59 นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด คณะกรรมกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ว่าที่ประชุมมีมติรับทราบแผนการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที แต่เนื่องจากแผนดังกล่าวยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงถึงความสามารถในการให้บริการ และการใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ กทค. ที่อนุมัติให้ทีโอทีปรับปรุงแผนการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม กทค.ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.มีหนังสือแจ้งไปยังทีโอทีเพื่อให้จัดทำแผนการดำเนินการปรับปรุงคลื่นความถี่2300 MHz แผนการสร้างโครงข่าย (Roll Out Plan) ให้เสร็จแล้วนำส่งภายใน 90 วัน

ขณะเดียวกันกทค.อาจพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา27(6) แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อทบทวนการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวของทีโอทีและนำไปจัดสรรใช้งานคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้สืบเนื่องจาก กทค. เคยมีมติในการประชุมครั้งที่ 27/2558 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 อนุญาตให้ ทีโอที ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2400 MHz (ช่วง 2310 – 2370 MHz) จำนวน 60 MHz และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ติดตามแผนและผลการดำเนินการปรับปรุงคลื่นของ ทีโอที เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

โดนทีโอที มีแผนขอปรับปรุงคลื่นย่านดังกล่าวเพื่อนำไปให้บริการด้านเสียง ข้อมูล และด้วยเทคโนโลยี LTE ในการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ (Mobile Wireless Broadband) ในรูปแบบบริการขายส่งและขายปลีก รวมทั้งบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สาย (Fixed Wireless Broadband) ด้วยเทคโนโลยี LTE โดยมีแผนการสร้างโครงข่าย (Roll Out Plan) ในปีแรก ด้วยการติดตั้งสถานีฐานหรือสถานีฐานขนาดเล็กให้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้อย่างน้อย 100,000 ราย และให้บริการขายส่งแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNOs) หลังจากนั้นมีแผนติดตั้งสถานีฐานหรือสถานีฐานขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปีที่ 5 หรือระยะสุดท้าย ตั้งเป้าว่าจะสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้อย่างน้อย 900,000 ราย รวมทั้งให้บริการขายส่งแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNOs) และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNOs)

นายแพทย์ประวิทย์ กล่าวว่า แผนการใช้งานคลื่นความถี่ที่ ทีโอที ส่งมาให้พิจารณานั้น เป็นเพียงบทสรุปผู้บริหารที่มีจำนวน 4 หน้าเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดเพียงพอว่าจะนำคลื่นไปใช้อย่างไร เริ่มต้นเมื่อใด มีเงื่อนไขว่าภายในระยะเวลาเท่าใด ที่สำคัญบทสรุปผู้บริหารจำนวน 4 หน้านี้ ไม่สะท้อนความมีประสิทธิภาพในการใช้งานคลื่นความถี่ว่ามีความจำเป็นที่ต้องใช้งานทั้ง 60 MHz เลยหรือไม่ หรือมีความจำเป็นตามความเหมาะสมปริมาณเท่าใด เพราะหากคลื่นส่วนใดที่ ทีโอที ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ที่ กสทช. จะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ส่วนนั้นกลับมาจัดสรรใหม่ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 84 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และมาตรา 83 ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ความจำเป็นของการประกอบกิจการและการใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่

นอกจากนี้ ในคราวการประชุม กทค. เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ บมจ. ทีโอที ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2400 MHz ครั้งที่ 27/2558 นั้น กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้ลงมติเสียงข้างน้อย โดยเห็นต่างว่าน่าที่จะมีการตรวจสอบสิทธิในการใช้คลื่นย่านนี้ของ ทีโอที ให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งสิทธิแต่เดิมนั้นมีการอนุญาตให้ ทีโอที ใช้ในกิจการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท ดังนั้นการจะอนุญาตให้ ทีโอที ปรับปรุงการใช้คลื่นเพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพฯ หรือเขตเมืองนั้น สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ประเภทบริการที่มีการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ก็ยังเป็นคนละประเภทบริการกับที่ ทีโอที ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิมด้วย

http://www.naewna.com/business/231781

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.