Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 แหล่งข่าวจาก อสมท กล่าวว่า สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ยังไม่ ชำระค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิ ตอลภาคพื้นดิน มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี, สปริงนิวส์ และ วอยซ์ ทีวี โดยทั้ง 3 ช่อง ยังคงค้างชำระค่าบริการโครงข่ายจาก อสมท ตั้งแต่ปี 2557 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวนราว 500 ล้านบาท

ประเด็นหลัก





แหล่งข่าวจาก อสมท กล่าวว่า สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ยังไม่ ชำระค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิ ตอลภาคพื้นดิน มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี, สปริงนิวส์ และ วอยซ์ ทีวี โดยทั้ง 3 ช่อง ยังคงค้างชำระค่าบริการโครงข่ายจาก อสมท ตั้งแต่ปี 2557 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวนราว 500 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่ทั้ง 3 ช่อง ยังไม่ชำระเงินค่าโครงข่ายให้แก่ อสมท เนื่องจากเมื่อช่วงปี 2557 ที่โครงข่าย อสมท มีปัญหาด้านการให้บริการหรือสัญญาณล่มครั้งใหญ่ ทั้ง 3 ช่อง และ อสมท จึงได้มีการทำข้อตกลงในสัญญาระหว่างกันว่าจะยังไม่ชำระค่าบริการจนกว่าการให้บริการโครงข่ายของ อสมท จะมีความเสถียรในการให้บริการ ส่งผลให้จนถึงขณะทั้ง 3 ช่องยังคงไม่ยอมชำระค่าบริการให้ อสมท เนื่องจากอ้างว่า โครงข่าย อสมท ยังไม่เสถียร

ส่วนกรณีที่ บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม ขอให้ทบทวนคำสั่งทางปกครอง การออกอากาศช่องเวิร์คพ้อยท์ ที่มีลักษณะเอื้อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันนั้น ที่ประชุม กสท.มีมติ ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน เนื่องจากมองว่า ขั้นตอนการปรับปรุงให้มีมาตรฐานความคมชัดตามประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถทำได้ทันตามเวลาที่ กสท. กำหนดที่ระบุไว้ว่า ต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากฝ่าฝืนจะถูกปรับวันละ 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน








____________________________________


5 ก.ย.59 นายภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กสทฯ ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหนังสือของบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) หรือ MCOT ที่ทำหนังสือมาสอบถาม กสท. ว่า สามารถขอบอกเลิกสัญญาเช่าใช้ บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (มักซ์) ระหว่าง อสมท กับสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิตอล ช่องที่ใช้โครงข่ายของ อสมท ได้หรือไม่ เนื่องจากผู้ใช้บริการบางราย ยังไม่ชำระค่าบริการให้เป็ นไปตามเงื่อนไขของสัญญาตั้งแต่ กรกฎาคม 2557

โดยบอร์ด กสท. ได้พิจารณาแล้วได้มีมติให้แจ้งกลับ อสมท ไปว่า หากจะดำเนินการยกเลิกขอให้แจ้งการตัดสินใจมายัง กสท. ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ซึ่ง กสท. จะมีการพิจารณาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เบื้องต้น กสท.หวังว่า ทางคู่กรณี จะสามารถตกลงกันได้ แต่หากไม่สามารถเจรจาตกลงได้ กสท.จะต้องมีแผนมาตรการรองรับ

อย่างไรก็ตาม ทาง อสมท ไม่ได้แจ้งข้อมูลมายัง กสทช. ว่าทาง อสมท จะขอยกเลิกการให้บริการกับสถานีโทรทัศน์ช่องใด โดยสำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ใช้ บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินของ อสมท ประกอบด้วย อสมท 2 ช่อง, ไทยรัฐทีวี, สปริงนิวส์, วอยซ์ ทีวี, และทีวีรัฐสภา

แหล่งข่าวจาก อสมท กล่าวว่า สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ยังไม่ ชำระค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิ ตอลภาคพื้นดิน มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี, สปริงนิวส์ และ วอยซ์ ทีวี โดยทั้ง 3 ช่อง ยังคงค้างชำระค่าบริการโครงข่ายจาก อสมท ตั้งแต่ปี 2557 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวนราว 500 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่ทั้ง 3 ช่อง ยังไม่ชำระเงินค่าโครงข่ายให้แก่ อสมท เนื่องจากเมื่อช่วงปี 2557 ที่โครงข่าย อสมท มีปัญหาด้านการให้บริการหรือสัญญาณล่มครั้งใหญ่ ทั้ง 3 ช่อง และ อสมท จึงได้มีการทำข้อตกลงในสัญญาระหว่างกันว่าจะยังไม่ชำระค่าบริการจนกว่าการให้บริการโครงข่ายของ อสมท จะมีความเสถียรในการให้บริการ ส่งผลให้จนถึงขณะทั้ง 3 ช่องยังคงไม่ยอมชำระค่าบริการให้ อสมท เนื่องจากอ้างว่า โครงข่าย อสมท ยังไม่เสถียร

ส่วนกรณีที่ บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม ขอให้ทบทวนคำสั่งทางปกครอง การออกอากาศช่องเวิร์คพ้อยท์ ที่มีลักษณะเอื้อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันนั้น ที่ประชุม กสท.มีมติ ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน เนื่องจากมองว่า ขั้นตอนการปรับปรุงให้มีมาตรฐานความคมชัดตามประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถทำได้ทันตามเวลาที่ กสท. กำหนดที่ระบุไว้ว่า ต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากฝ่าฝืนจะถูกปรับวันละ 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน

ขณะที่กรณีของการยกเลิกการให้บริการดาวเทียมไทยคม Ku-Band ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.59 ที่ผ่านมา ของบริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด และบริษัทขอขยายระยะเวลาการนำส่งแผนเยียวยาผู้บริโภคกลุ่มที่ได้รับผลกระทบออกไปนั้น มติกสท.เห็นว่า ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา โดยให้ยึดตามมติเดิมที่เสนอให้มีคำสั่งทางปกครองปรับวันละ 20,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.59 จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งให้แล้วเสร็จ และหากยังคงฝ่าฝืนต่อไปหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีการดำเนินการมาตรการทางปกครองสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป



http://www.naewna.com/business/233813

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.