Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ ารโจรกรรมโดยใช้โปรแกรมมัลแวร์ เพื่อปล้นเงินจากตู้ ATM ของธนาคารออมสินนั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมาย เพราะในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ประเทศไทยมีเทคโนโลยี เพื่อให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย แต่เรายังขาดหน่วยงานกลางที่จะตอบโต้สถานการณ์แบบทันท่วงที

ประเด็นหลัก




24 ส.ค.59 พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า หลังจากที่ได้เคยได้ออกมาเตือนสถาบันการเงินทุกแห่งให้มีความพร้อมจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เพราะจากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพบว่า อัตราการถูกโจมตีทั่วโลกมีความถี่สูงขึ้นอยาางน่าตกใจ

ในส่วนที่มีการโจรกรรมโดยใช้โปรแกรมมัลแวร์ เพื่อปล้นเงินจากตู้ ATM ของธนาคารออมสินนั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมาย เพราะในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ประเทศไทยมีเทคโนโลยี เพื่อให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย แต่เรายังขาดหน่วยงานกลางที่จะตอบโต้สถานการณ์แบบทันท่วงที จนอาจทำให้แฮ็กเกอร์เห็นช่องว่างตรงจุดนี้ เพื่อทำการโจมตีสถาบันการเงิน ซึ่งถือว่า เป็นจุดเปราะบางที่สุดและมีทรัพย์สินมาก อีกทั้งยังเข้าถึงได้ง่ายมาก

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ก็ยังคงย้ำว่า "การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนั้น คงไม่สามารถใช้หน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วไปที่มีขีดความสามารถไม่ถึงทั้งด้านบุคคลากรและเครื่องมือด้านสารสนเทศในระดับธรรมดาได้ แต่เราต้องมีหน่วยงานเฉพาะด้าน ที่จะสามารถตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับชาติ เพราะภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงไปจนถึงจุดที่เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในวงกว้าง"









____________________________________


24 ส.ค.59 พ.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า หลังจากที่ได้เคยได้ออกมาเตือนสถาบันการเงินทุกแห่งให้มีความพร้อมจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ เพราะจากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพบว่า อัตราการถูกโจมตีทั่วโลกมีความถี่สูงขึ้นอยาางน่าตกใจ

ในส่วนที่มีการโจรกรรมโดยใช้โปรแกรมมัลแวร์ เพื่อปล้นเงินจากตู้ ATM ของธนาคารออมสินนั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมาย เพราะในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ประเทศไทยมีเทคโนโลยี เพื่อให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย แต่เรายังขาดหน่วยงานกลางที่จะตอบโต้สถานการณ์แบบทันท่วงที จนอาจทำให้แฮ็กเกอร์เห็นช่องว่างตรงจุดนี้ เพื่อทำการโจมตีสถาบันการเงิน ซึ่งถือว่า เป็นจุดเปราะบางที่สุดและมีทรัพย์สินมาก อีกทั้งยังเข้าถึงได้ง่ายมาก

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ก็ยังคงย้ำว่า "การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนั้น คงไม่สามารถใช้หน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วไปที่มีขีดความสามารถไม่ถึงทั้งด้านบุคคลากรและเครื่องมือด้านสารสนเทศในระดับธรรมดาได้ แต่เราต้องมีหน่วยงานเฉพาะด้าน ที่จะสามารถตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับชาติ เพราะภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงไปจนถึงจุดที่เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในวงกว้าง"

ทั้งนี้ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ได้เคยให้ความเห็นหลายครั้งว่า "ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการในการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และมีสำนักงานโดยมีเลขาธิการ เป็นผู้ดำเนินการบริหารงาน ที่สำคัญคือ ควรตั้งให้เร็วที่สุดก่อนที่จะเกิดปัญหาด้านการโจมตีไซเบอร์ที่รุนแรง โดยคณะกรรมการดังกล่าว ควรให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงเป็นประธาน การที่ต้องเร่งดำเนินการเพราะหลังจากตั้งแล้ว จะต้องมีการดำเนินการด้านการบริหารจัดการ ซึ่งต้องใช้เวลา 1-2 ปี เป็นอย่างน้อย จึงจะสมบูรณ์

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติดังกล่าว ควรเป็นการตั้งแบบ Top down โดยไม่ควรมอบหมายกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เป็นผู้ทำ เนื่องจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้ เป็นภัยคุกคามที่มีรูปแบบผสมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆเท่านั้น"

http://www.naewna.com/business/231924

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.