Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 ผู้ก่อตั้ง BlackBox โครงการสตาร์ทอัประดับโลก ระบุภาครัฐควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปเติบโต โดยไม่เข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ ให้ความเห็นถึงการสนับสนุนสตาร์ทอัปของภาครัฐว่า การเข้ามาสนับสนุนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจะสนับสนุนให้ถูก คือ ควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปมีการเติบโตด้วยตนเอง ไม่ใช่การนำไอเดีย

ประเด็นหลัก





ผู้ก่อตั้ง BlackBox โครงการสตาร์ทอัประดับโลก ระบุภาครัฐควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปเติบโต โดยไม่เข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ พร้อมระบุ 3 อุตสาหกรรมหลักที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วย และมีโอกาสเติบโต คือ ภาคการเกษตร สุขภาพ และ IoT ส่วนธนาคารต้องปรับตัวรับ FinTech ด้วยการเข้าเป็นพาร์ตเนอร์แทนเข้าไปแข่งขัน
ฟาดิ บิชารา ผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox ให้ความเห็นถึงการสนับสนุนสตาร์ทอัปของภาครัฐว่า การเข้ามาสนับสนุนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจะสนับสนุนให้ถูก คือ ควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปมีการเติบโตด้วยตนเอง ไม่ใช่การนำไอเดีย หรือโครงสร้างที่คิดว่าใช่มาบังคับใช้ โดยให้เชื่อในแนวคิดของสตาร์ทอัปที่มีแนวทางในการเติบโตอย่างชัดเจน
“อย่างในเอสโตเนีย ภาครัฐทำการสนับสนุนสตาร์ทอัปด้วยการทำโครงสร้างพื้นฐานที่มีประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในประเทศ เมื่อสตาร์ทอัปต้องการเชื่อมต่อบริการเข้ามาช่วยก็สามารถทำได้ โดยไม่มีการเข้าไปบังคับ ดังนั้น ที่ดีที่สุดก็คือ การปล่อยให้สตาร์ทอัปเติบโตโดยไม่ต้องไปกำหนดข้อบังคับต่างๆ”
ขณะเดียวกัน ฟาดิ มองถึง 3 เทรนด์สตาร์ทอัปที่น่าสนใจในเวลานี้ จะมีด้วยกัน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ 1.การนำไปใช้กับภาคการเกษตร ที่ปัจจุบันมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลต่างๆ จากดาวเทียม การนำแสงอาทิตย์มาใช้งาน เพื่อช่วยส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้ดีขึ้น




________________________________________________

ผู้ก่อตั้ง “BlackBox” แนะภาครัฐปล่อยสตาร์ทอัปโตโดยไม่ต้องควบคุม


ผู้ก่อตั้ง BlackBox โครงการสตาร์ทอัประดับโลก ระบุภาครัฐควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปเติบโต โดยไม่เข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ พร้อมระบุ 3 อุตสาหกรรมหลักที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วย และมีโอกาสเติบโต คือ ภาคการเกษตร สุขภาพ และ IoT ส่วนธนาคารต้องปรับตัวรับ FinTech ด้วยการเข้าเป็นพาร์ตเนอร์แทนเข้าไปแข่งขัน
ฟาดิ บิชารา ผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox ให้ความเห็นถึงการสนับสนุนสตาร์ทอัปของภาครัฐว่า การเข้ามาสนับสนุนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจะสนับสนุนให้ถูก คือ ควรที่จะปล่อยให้สตาร์ทอัปมีการเติบโตด้วยตนเอง ไม่ใช่การนำไอเดีย หรือโครงสร้างที่คิดว่าใช่มาบังคับใช้ โดยให้เชื่อในแนวคิดของสตาร์ทอัปที่มีแนวทางในการเติบโตอย่างชัดเจน
“อย่างในเอสโตเนีย ภาครัฐทำการสนับสนุนสตาร์ทอัปด้วยการทำโครงสร้างพื้นฐานที่มีประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในประเทศ เมื่อสตาร์ทอัปต้องการเชื่อมต่อบริการเข้ามาช่วยก็สามารถทำได้ โดยไม่มีการเข้าไปบังคับ ดังนั้น ที่ดีที่สุดก็คือ การปล่อยให้สตาร์ทอัปเติบโตโดยไม่ต้องไปกำหนดข้อบังคับต่างๆ”
ขณะเดียวกัน ฟาดิ มองถึง 3 เทรนด์สตาร์ทอัปที่น่าสนใจในเวลานี้ จะมีด้วยกัน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ 1.การนำไปใช้กับภาคการเกษตร ที่ปัจจุบันมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลต่างๆ จากดาวเทียม การนำแสงอาทิตย์มาใช้งาน เพื่อช่วยส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้ดีขึ้น
2.เกี่ยวกับสุขภาพ (HealthTech) ที่จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของคนให้ยืนยาวขึ้น และ 3.อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (IoT) ที่ปัจจุบันเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน อย่างในโครงการสตาร์ทอัปของดีแทค ก็จะมีทีมอย่าง Visionear ที่มีแนวคิดในการสร้างแว่นตาสำหรับคนตาบอด ที่เป็นทั้ง HealthTech และ IoT เข้ามาผสมผสานกัน ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ
“ตอนนี้สตาร์ทอัปในไทยยังอยู่ในจุดเริ่มพัฒนา ที่มีหลายหน่วยงานให้ความสนใจ จึงเป็นโอกาสที่เปิดกว้างมากๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ช่วยให้สตาร์ทอัปมีการเติบโต ที่สำคัญ คือ ยังไม่มีการแข่งขันที่รุนแรงเหมือนในซิลิคอนวัลเลย์ หรือในแถบยุโรป ที่มีสตาร์ทอัปจำนวนมาก เพียงแต่สตาร์ทอัปไทยจะต้องพัฒนาในแง่ของภาษาในการสื่อสารให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อที่จะเติบโตต่อไปในภูมิภาค”
ขณะที่การมาของ FinTech ถือเป็นสิ่งที่น่าจับตา เพราะถือเป็นความท้าทายของธนาคารทุกแห่ง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาลดบทบาทความจำเป็นของธนาคาร สิ่งที่ธนาคารจำเป็นต้องทำ คือ เปลี่ยนแนวความคิดที่จะเข้าไปแข่งขัน แต่ใช้การเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับเหล่าสตาร์ทอัปมาช่วยพัฒนาบริการของธนาคารดีกว่า
โดยก่อนหน้านี้ ฟาดิ เคยมาประเทศไทยในช่วงปี 2013 และได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในแวดวงสตาร์ทอัปประเทศไทย คือ เด็กไทยในปีนี้เก่งขึ้น บางทีมที่เข้ามาในโครงการของดีแทค มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้ว ซึ่งแตกต่างกับที่สหรัฐฯ คือ มุ่งที่จะหาโครงการที่เป็น Unicorn (มูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญ) ถ้าไม่สามารถทำได้ก็จะพับไอเดียไป
“สตาร์ทอัปในไทยมีความตั้งใจที่อยากทำให้ธุรกิจเกิดขึ้นจริง ภายใต้แนวคิดที่จะออกไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ในสหรัฐฯ จะเน้นไปที่การลงทุน เหมือนการเล่นพนันมากกว่า ไม่ได้เน้นในแง่ของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม”
ในส่วนของสตาร์ทอัปไทยที่เคยได้ไปเข้าโครงการ BlackBox ต่างระบุไปในแนวทางเดียวกันว่า โครงการดังกล่าวช่วยพัฒนาแนวคิดของสตาร์ทอัปให้คิดใหญ่ขึ้น ด้วยการวางเป้าหมายในการเติบโตไปในระดับภูมิภาค ไม่ใช่การจำกัดการเติบโตแค่อยู่ในประเทศ รวมถึงการโฟกัสไปที่การพรีเซนต์ให้มีความน่าสนใจครอบคลุมแนวคิดของธุรกิจภายในเวลาที่กำหนดให้
นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการยังช่วยเสริมพลังในการทำงาน จากการที่เห็นสตาร์ทอัปจากหลากหลายประเทศต่างขยันทำงาน ก็จะทำให้ผู้เข้าร่วมต้องพัฒนาตนเองตามไปด้วย รวมทั้งการเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นที่จะพัฒนาไอเดียให้เกิดขึ้นจริง สุดท้ายก็คือ ได้มองเห็นรูปแบบของกลุ่มคนที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000077609&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+5-8-59&utm_campaign=20160804_m133358285_MGR+Morning+Brief+5-8-59&utm_term=_E0_B8_9C_E0_B8_B9_E0_B9_89_E0_B8_81_E0_B9_88_E0_B8_AD_E0_B8_95_E0_B8_B1_E0_B9_89_E0_B8_87+_E2_80_9C

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.