Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 ICT ระบุ จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจาก 75 ล้านเลขหมายในปี 2554 มาเป็น 103 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้กว่า 101 ล้านเลขหมายเป็นเลขหมายที่ใช้บริการ 3G และครึ่งหนึ่งของเลขหมายเหล่านั้นเป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และในปัจจุบันมีบริการ 4G แล้วเช่นกัน

ประเด็นหลัก

โดยประเทศไทยเริ่มใช้ระบบ 3G อย่างเป็นทางการภายหลังการประมูลคลื่น 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ในปี 2555 ทำรายได้เข้ารัฐเป็นมูลค่า 42,200 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุมอย่างก้าวกระโดดทั้งจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน และการพัฒนาโมบายอินเทอร์เน็ตให้ใช้บริการอย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจาก 75 ล้านเลขหมายในปี 2554 มาเป็น 103 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้กว่า 101 ล้านเลขหมายเป็นเลขหมายที่ใช้บริการ 3G และครึ่งหนึ่งของเลขหมายเหล่านั้นเป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และในปัจจุบันมีบริการ 4G แล้วเช่นกัน ทำให้อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือของประเทศไทยนั้นสูงถึง 130% ของจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยแล้วในทุกๆ ช่วงเวลามีประชากรเกินครึ่งประเทศที่กำลังใช้งานโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน







________________________________________________

“พล.อ.อ.ประจิน” หนุนแปรรูปทีโอที-กสท


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และพล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. พร้อมด้วย กสทช. ร่วมเปิดงาน NBTC Expo Thailand หรือ NET 2016 เนื่องในโอกาสวันสื่อสารแห่งชาติประจำปี 2559 โดยได้เชิญ นายดอน แท็ปสก๊อตต์ นักคิดระดับแนวหน้าของโลกด้ นเศรษฐกิจดิจิตอล ผู้ริเริ่มคำว่า Digital Economy บรรยายในหัวข้อ เศรษฐกิจดิจิตอล โอกาสและความท้าทายสำหรับประเทศไทย ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ

“พล.อ.อ .ประจิน” เผยประเทศไทยจะก้าวสู่ DE โครงการเน็ตหมู่บ้านต้องเสร็จปี 2560 มั่นใจถึงเริ่มช้าแต่ต้องเสร็จทัน พร้อมหนุน คนร.ปรับโครงสร้างทีโอที และ กสท เพื่อให้แข่งกับเอกชนได้ ย้ำไม่เห็นว่าแนวทางดังกล่าวจะทำลายทีโอที และ กสท
วันนี้ (4 ส.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดงานสัมมนาวิชาการและงานประชุมเชิงวิชาการผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชน เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติประจำปี 2559 (NBTC Expo Thailand หรือ NET 2016) ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี แสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อนโยบาย Digital Economy ของประเทศไทย และนายดอน แท็ปสก๊อตต์ นักคิดและที่ปรึกษาด้านธุรกิจระดับโลก โดยมีผู้ที่สนใจจากภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวราว 300 คน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า นโยบาย Digital Economy หรือ DE ของประเทศไทยต้องขับเคลื่อนภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1.การทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมให้เข้มแข็ง และเป็นโครงสร้างด้านความมั่นคงของประเทศ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ โครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านต้องเสร็จ และเข้าถึง 40,000 หมู่บ้านภายใน ปี 2560 แม้ว่าขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไอซีที) จะเริ่มโครงการได้ล่าช้ากว่าที่ให้คำมั่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และตนเองเชื่อว่าจะเริ่มงานได้ภายในเดือน มิ.ย. แต่เนื่องจากติดปัญหาภายในของฝ่ายบริหารในกระทรวง ซึ่งตนเองจะไม่เข้าไปยุ่งเรื่องนี้ แต่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ นายอุตตม สาวนายน รมว.ไอซีที แก้ไขปัญหา โดยเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ทำให้โครงการแม้จะเริ่มช้ากว่ากำหนด แต่ต้องติดตั้งให้ครบตามกำหนดคือ ปี 2560
ดังนั้น รัฐบาลต้องกำหนดแผนการใช้ทรัพยากรให้ดี ต้องมีแผนงานในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของ 2 รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีแผนในการทำตรงนี้อยู่
ส่วนประเด็นที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 บริษัท ได้ออกมาคัดค้านนโยบายการให้นำหน่วยธุรกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาตั้งเป็นบริษัทลูกดำเนินงานร่วมกันตามมติของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น โดยส่วนตัวได้รับฟังบรรยาสรุปในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่าไม่มีประเด็นใดเลยที่หากดำเนินการแล้วจะเป็นการไปทำลายทาง กสท และทีโอที ในทางกลับกันจะเป็นการไปสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ทั้ง 2 องค์กร เพราะที่ผ่านมา การทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมักก้าวได้ช้ากว่าภาคเอกชน ทั้งนี้ จึงอยากให้ผู้ที่คัดค้านนโยบายดังกล่าวใจเย็น และศึกษาตัวนโยบายให้แน่ชัดก่อน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การทำประเทศไทยให้เป็นไทยแลนด์ 4.0 ภายในปี 2564 ซึ่งทุกอย่างต้องนำเทคโนโลยีมาทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม และยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การปรับหน่วยงานราชการให้เป็นดิจิตอล กัฟเวอร์เมนต์ เปลี่ยนหน่วยงานราชการที่เป็นจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง ทั้งนี้ การที่จะนำพาประเทศไทยสู่ Digital Economy รัฐบาลได้วางแผนระยะยาวไว้ 20 ปี โดยต้องทำงานเป็นระยะ 1 ปี, 5 ปี และ 20 ปี
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนผ่านจากการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ประจำที่เป็นโทรศัพท์มือถือ และก้าวเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Mobile Broadband ภายในระยะเวลาอันสั้นหลังจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz หรือที่เรียกกันว่าประมูล 3G
โดยประเทศไทยเริ่มใช้ระบบ 3G อย่างเป็นทางการภายหลังการประมูลคลื่น 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ในปี 2555 ทำรายได้เข้ารัฐเป็นมูลค่า 42,200 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุมอย่างก้าวกระโดดทั้งจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน และการพัฒนาโมบายอินเทอร์เน็ตให้ใช้บริการอย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจาก 75 ล้านเลขหมายในปี 2554 มาเป็น 103 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้กว่า 101 ล้านเลขหมายเป็นเลขหมายที่ใช้บริการ 3G และครึ่งหนึ่งของเลขหมายเหล่านั้นเป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และในปัจจุบันมีบริการ 4G แล้วเช่นกัน ทำให้อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือของประเทศไทยนั้นสูงถึง 130% ของจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยแล้วในทุกๆ ช่วงเวลามีประชากรเกินครึ่งประเทศที่กำลังใช้งานโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยได้เปลี่ยนเข้าสู่สังคมดิจิตอลเต็มรูปแบบ เปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารจากเดิมใช้การส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) เป็นการรับ-ส่งข้อมูลภาพ เสียง และวิดีโอผ่านบริการ Mobile SNS แทน ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้แอปพลิเคชันไลน์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น โดยสถิติล่าสุดไทยมีผู้ใช้ไลน์กว่า 33 ล้านบัญชี ทุกวันนี้สติกเกอร์ไลน์ได้กลายมาเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อความรู้สึกที่มีประสิทธิภาพที่สุดของคนไทย
ทางด้านเฟซบุ๊กก็ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่ากัน ประเทศไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 30 ล้านบัญชี เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ที่บริการเฟซบุ๊ก ไลฟ์ ได้เริ่มเปิดให้ใช้งานเป็นครั้งแรก ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ประเทศไทยขึ้นติดอันดับประเทศที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ไลฟ์สูงที่สุดในโลกในเวลาอันรวดเร็ว เฟซบุ๊ก ไลฟ์ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้มีชื่อเสียงเซเลบ ออนไลน์ เน็ตไอดอล พ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ รวมไปจนถึงผู้สื่อข่าวครั้งหนึ่งห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ยังได้รับการจัดอันดับเป็นสถานที่ที่มีคนถ่ายภาพลงอินสตาแกรมมากที่สุดในโลกอีกด้วย การใช้งานดังกล่าวช่วยให้ดัชนีชี้วัดการพัฒนาด้านไอซีที ซึ่งจัดอันดับโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ของไทยได้ไต่อันดับสูงขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช.ซึ่งมีภารกิจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน จึงได้จัดงาน NET 2016 และงานสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสวันสื่อสารแห่งชาติ ประจำปี 2559 หรือ International Symposium on Digital Economy นี้ขึ้นมา โดยมุ่งเน้นที่จะสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลภายใต้นโยบายแนวคิดดิจิตอลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือ Digital Economy ตลอดจนเสริมสร้างแนวคิด และประสบการณ์ให้ผู้เข้าสัมมนาทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนได้มีความเข้าใจในหลักการแนวคิดของดิจิตอลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือ Digital Economy ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้เดินหน้าต่อไป

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000077583&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+5-8-59&utm_campaign=20160804_m133358285_MGR+Morning+Brief+5-8-59&utm_term=_27_E0_B8_9E_E0_B8_A5__E0_B8_AD__E0_B8_AD__E0_B8_9B_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_88_E0_B8_B4_E0_B8_99+_27

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.