Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 ที่ประชุม กสทช.ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ปี 2559 โดยอนุมัติค่าใช้จ่ายการขอรับจัดสรรงบประมาณแผนการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2559 (มิ.ย.-ธ.ค.2559) วงเงินงบประมาณ 171,627,941 บาท

ประเด็นหลัก



จากนั้น ที่ประชุม กสทช.ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ปี 2559 โดยอนุมัติค่าใช้จ่ายการขอรับจัดสรรงบประมาณแผนการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2559 (มิ.ย.-ธ.ค.2559) วงเงินงบประมาณ 171,627,941 บาท โดยแบ่งจัดสรรเงินงบประมาณเป็น 2 งวด คือ งวดแรก จำนวน 120,227,941 บาท ภายหลัง กสทช.มีมติเห็นชอบ งวดที่สอง จำนวน 51,400,000 บาท เมื่อกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ดำเนินการจัดสรรทุนและมีการลงนามในสัญญารับทุนแล้ว ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวถือเป็นกรอบวงเงินที่ได้รับตามมาตรา 6 (1) และจะต้องมีการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558








__________________________________________________





กสทช. ตั้งกรรมการสอบเอไอเอสกรณีพนักงานขายข้อมูล ประชุมนัดแรก 19 ก.ย.นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

กสทช. ตั้ง “ก่อกิจ” นั่งประธานกรรมการสอบกรณีพนักงานเอไอเอส ขายข้อมูล มั่นใจบริษัทไม่เกี่ยวข้อง แต่ต้องตั้งกรรมการสอบเป็นไปตามหลักการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน ย้ำโอเปอเรเตอร์เปิดเผยข้อมูลอาจถูกยึดใบอนุญาต ขณะที่ผู้กระทำผิดมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อความลงเว็บไซต์พันทิปว่า มีพนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส นำข้อมูลลูกค้าไปให้บุคคลภายนอก โดยมอบหมายให้ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานคณะกรรมการ โดย กสทช.จะเชิญเอไอเอสมาร่วมประชุมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงนัดแรกในวันที่ 19 ก.ย. 2559 คาดว่าจะใช้เวลาทราบข้อเท็จจริงภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ ยังได้ส่งหนังสือกำชับไปยังผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์ ) ทุกราย หากเปิดเผยข้อมูลลูกค้า พนักงานคนที่กระทำความผิดจะมีความผิดตามมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ในส่วนของผู้ประกอบการก็อาจมีความผิดในทางปกครองตามประกาศมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ซึ่งโทษสูงสุดถึงขั้นยึดใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลได้นั้นต้องมีหมายจากศาลเท่านั้นถึงจะทำได้
“ส่วนตัวผมคิดว่าผู้ประกอบการไม่รู้ เพราะเป็นการทำผิดของส่วนบุคคล แต่ตามหลักการแล้ว กสทช.ก็ต้องตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน และหากจะกลัวว่าผู้ประกอบการจะมีการบันทึกการสนทนาของลูกค้าหรือไม่ ผมคิดว่าไม่มีแน่นอน เพราะเขาคงไม่มีคาพาซิตี้ใหญ่ขนาดนั้น แค่บันทึกข้อมูลพิกัดการโทร.ก็คงเก็บได้แค่เดือน สองเดือนเท่านั้น เขาก็ต้องลบแล้ว” นายฐากร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้เสียหายยังไม่ได้ประสานงานมายัง กสทช. แต่ กสทช.จะประสานงานกับสถานีตำรวจท้องที่ ที่เอไอเอสแจ้งความให้ทราบว่าผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย และมีหากผลการสอบออกมาเมื่อได้ข้อเท็จจริง กสทช. อาจจะร่วมเป็นผู้เสียหายแจ้งความต่อตำรวจด้วย แม้ว่าเอไอเอสจะได้ไล่พนักงานคนดังกล่าวออกไป และแจ้งความต่อสถานีตำรวจแล้วก็ตาม
***ปรับค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลเก็บแบบขั้นบันได
นายฐากร กล่าวว่า สำหรับผลการประชุม กสทช. ในวันนี้ (14 ก.ย.) ที่ประชุม กสทช. ได้มติเห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... และได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว คาดว่าภายใน 2-3 วันนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศ กสทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ดังนี้ 1.รายได้ 0-5 ล้านบาทแรก อัตราค่าธรรมเนียม 0.50% 2.รายได้ส่วนที่เกินกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียม 0.75% 3.รายได้ส่วนที่เกินกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียม 1.00% 4.รายได้ส่วนที่เกินกว่า 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% และ 5.รายได้ส่วนที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียม 2.00%
โดยการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระเป็นรายปี กรณีที่ไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือชำระไว้ไม่ครบถ้วน ผู้รับใบอนุญาตจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี และเงินเพิ่มในอัตรา 1.50% ต่อเดือนของจำนวนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีที่ต้องชำระแต่ชำระไว้ไม่ครบ โดยเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี จนกว่าจะชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีครบถ้วน
จากนั้น ที่ประชุม กสทช.ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ปี 2559 โดยอนุมัติค่าใช้จ่ายการขอรับจัดสรรงบประมาณแผนการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2559 (มิ.ย.-ธ.ค.2559) วงเงินงบประมาณ 171,627,941 บาท โดยแบ่งจัดสรรเงินงบประมาณเป็น 2 งวด คือ งวดแรก จำนวน 120,227,941 บาท ภายหลัง กสทช.มีมติเห็นชอบ งวดที่สอง จำนวน 51,400,000 บาท เมื่อกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ดำเนินการจัดสรรทุนและมีการลงนามในสัญญารับทุนแล้ว ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวถือเป็นกรอบวงเงินที่ได้รับตามมาตรา 6 (1) และจะต้องมีการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558
*** เอไอเอส ยันทำทุกวิถีทางเพื่อดูแลความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า จากการที่มีลูกค้าเอไอเอสโพสต์ลงเว็ปไซต์พันทิป เรื่องพนักงานเอไอเอสอาศัยอำนาจหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายนำข้อมูลราย ละเอียดการโทร.เข้า-ออกของลูกค้าไปให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการกระทำผิดของพนักงานต่อนโยบายการคุ้มครองสิทธิและการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ และ ประมวลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งเอไอเอสรู้สึกเสียใจ และขออภัยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อทราบเรื่องดังกล่าวบริษัทฯ ก็มิได้นิ่งนอนใจได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้นทันที
บริษัทฯ ขอยืนยันว่า การปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างสูงสุดมาโดยตลอด โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้กำหนดให้มีนโยบายการคุ้มครองสิทธิและการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ นโยบายความปลอดภัยข้อมูลและระบบสารสนเทศ และ ประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ ที่ระบุถึงความสำคัญของการคุ้มครองและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล ช่องทางการรับข้อร้องเรียน กระบวนการตรวจสอบเมื่อมีการละเมิด บทลงโทษ และการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งการมีคณะกรรมการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยข้อมูลและระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากแต่ละสายงานที่เกี่ยวข้อง การอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้พัฒนาระบบตามมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัย (Secure Software Development Life Cycle : SSDLC) การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโดยพนักงานจะต้องทำแบบทดสอบภายหลังการฝึกอบรม และการสร้างจิตสำนึกเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจให้แก่พนักงานตั้งแต่วันปฐมนิเทศ
และสิ่งสำคัญในกระบวนการทำงาน คือ การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และกำหนดให้มีรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูลทุกครั้ง การยกระดับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO270001 ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ และการจัดให้มีการตรวจสอบโดยส่วนงานตรวจสอบภายในโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระจากภายนอกเป็นประจำ
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นความผิดจากตัวบุคคลซึ่งใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำวันไปในทางมิชอบ บริษัทฯ ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้มีการทบทวน และยกระดับการควบคุมการทำงานภายในเพื่อป้องกันการกระทำผิด และการทุจริตในองค์กร รวมถึงการเพิ่มมาตรการรักษาระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศของบริษัท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีกในอนาคต โดยในขั้นแรก บริษัทฯ ได้กำหนดให้ดำเนินการ เช่น ในการเข้าถึงข้อมูลบนระบบสารสนเทศซึ่งเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าแต่ละครั้ง ให้พนักงานผู้มีสิทธิ จำนวน 2 คน กรอกรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบ (Double Password) จากเดิมที่พนักงานผู้มีสิทธิสามารถใช้รหัสของตนเองเข้าถึงข้อมูลได้ ปรับปรุงให้ระบบการทำงานของผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามีลักษณะการทำงานแบบปิด (Close working environment) กล่าวคือ กำหนดให้พนักงานห้ามนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น USB Thumb drive เข้าไปในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
สำหรับมาตรการในขั้นถัดไป บริษัทจะพิจารณาเพิ่มเรื่องการป้องกันทั้งในด้านบุคลากร กระบวนการทำงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร และระบบรักษาความปลอดภัย ระบบตรวจสอบความผิดปกติในการทำงานที่อาจนำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และขอให้ลูกค้าทุกท่านมั่นใจว่าบริษัทฯ จะทำทุกวิถีทางเพื่อดูแลความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000092531&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+15-9-59&utm_campaign=20160914_m134300486_MGR+Morning+Brief+15-9-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A_+_E0_B8_95_E0_B8_B1_E0_B9_89_E0_B8_87_E0_B8_81_E0_B8_A3_E0_B8_A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.