Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่เกิดขึ้นมากถึง 1 ล้านแอปฯ และมีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคนทั้งเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งคือภาระงานบนระบบไอทีในโลกปัจจุบัน หลังจากเทคโนโลยี สมาร์ทดีไวซ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ประเด็นหลัก



นายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่เกิดขึ้นมากถึง 1 ล้านแอปฯ และมีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคนทั้งเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งคือภาระงานบนระบบไอทีในโลกปัจจุบัน หลังจากเทคโนโลยี สมาร์ทดีไวซ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจยุคดิจิทัลกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และสร้างแอปพลิเคชั่นที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) เจเนอเรชั่นล่าสุด จึงมีบทบาทสำคัญสำหรับทุกธุรกิจในยุคดิจิทัล


"ตื่นเช้ามา เมื่อเราหยิบสมาร์ทโฟนอัพเดตข่าวบนเฟซบุ๊ก เรียกอูเบอร์เพื่อไปประชุม หรือส่งตารางงานผ่านไลน์ ถ้าเรียกตามภาษาไอที คือวิถีชีวิตคนยุค 3rd Platform ซึ่งเป็นยุคที่มีผู้คนมากมายเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ง่ายผ่านสมาร์ทดีไวซ์ และสร้างข้อมูลมหาศาล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บ และดำเนินงานอยู่ในระบบไอที โดยธุรกิจดิจิทัลต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งยุคนี้มีทั้งโซเชียล เน็ตเวิร์ก, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์, บิ๊กดาต้า และคลาวด์ ที่ช่วยให้ธุรกิจปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการได้รวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย"





________________________________________


"ดาต้า เซ็นเตอร์" ยุคที่ 3



องค์กรธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทำให้การให้บริการ"ดาต้าเซ็นเตอร์"มีความสำคัญเพิ่มขึ้น

นายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่เกิดขึ้นมากถึง 1 ล้านแอปฯ และมีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคนทั้งเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งคือภาระงานบนระบบไอทีในโลกปัจจุบัน หลังจากเทคโนโลยี สมาร์ทดีไวซ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจยุคดิจิทัลกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และสร้างแอปพลิเคชั่นที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล พร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) เจเนอเรชั่นล่าสุด จึงมีบทบาทสำคัญสำหรับทุกธุรกิจในยุคดิจิทัล

"ตื่นเช้ามา เมื่อเราหยิบสมาร์ทโฟนอัพเดตข่าวบนเฟซบุ๊ก เรียกอูเบอร์เพื่อไปประชุม หรือส่งตารางงานผ่านไลน์ ถ้าเรียกตามภาษาไอที คือวิถีชีวิตคนยุค 3rd Platform ซึ่งเป็นยุคที่มีผู้คนมากมายเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ง่ายผ่านสมาร์ทดีไวซ์ และสร้างข้อมูลมหาศาล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บ และดำเนินงานอยู่ในระบบไอที โดยธุรกิจดิจิทัลต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งยุคนี้มีทั้งโซเชียล เน็ตเวิร์ก, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์, บิ๊กดาต้า และคลาวด์ ที่ช่วยให้ธุรกิจปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการได้รวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย"


สุเทพ อุ่นเมตตาจิต

โดยการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ในยุค3rdPlatformจะต้องทำให้รองรับแอปพลิเคชั่นที่มีภาระงานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายขององค์กร เพราะฉะนั้น การเลือกใช้บริการคลาวด์จึงเป็นทางเลือกที่ทำให้องค์กรรับมือได้ หากภาระงานของแอปพลิเคชั่นเพิ่มขึ้น องค์กรจะต้องย้ายมาทำงานบนคลาวด์แทนการจัดหาทรัพยากรด้านไอที ทั้งระบบคอมพิวเตอร์, สตอเรจ, เน็ตเวิร์ก และระบบความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันมีบริการบนคลาวด์ที่ใช้ได้แล้วจึงประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีได้มาก

อย่างไรก็ตาม ดาต้า เซ็นเตอร์จะต้องสามารถเชื่อมโยงการทำงานของระบบไอทีภายในองค์กร และภายนอกองค์กร (Public Cloud) ให้ทำงานร่วมกันได้เสมือนอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์เดียวกัน ทำให้สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นให้ระบบไอทีเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและใช้ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการบริหารจัดการด้านไอทีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดด้วย

"ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลที่ธุรกิจต่างๆและสตาร์ตอัพควรทราบและนำมาปรับใช้เพื่อให้ผลักดันการเติบโตของธุรกิจได้"



อ่านเพิ่มเติม
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1474538159

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.