Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยทะลุ 2.5 ล้านล้านบาท B2C พุ่งกว่า 43% อุตสาหกรรมค้าปลีกแซงหน้าจองห้องพักออนไลน์แล้ว ช็อปอาหาร-เครื่องดื่มโตกระฉูด 61.69% ห้างออนไลน์ฮิตตามมาติด ๆ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมูลค่าตลาดต่อหัวนักช็อปไทยอยู่ที่ 230.89 เหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก



ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยทะลุ 2.5 ล้านล้านบาท B2C พุ่งกว่า 43% อุตสาหกรรมค้าปลีกแซงหน้าจองห้องพักออนไลน์แล้ว ช็อปอาหาร-เครื่องดื่มโตกระฉูด 61.69% ห้างออนไลน์ฮิตตามมาติด ๆ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมูลค่าตลาดต่อหัวนักช็อปไทยอยู่ที่ 230.89 เหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน ฟากผู้ประกอบการร้องขอมาตรการจูงใจ-ลดหย่อนด้านภาษี การันตีระบบโลจิสติกส์และอีเพย์เมนต์

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า จากผลสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยในปี 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.41% ขณะที่ในปี 2559 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 12.42% ขยับไปอยู่ที่ 2,523,994.46 ล้านบาท โดยการค้าแบบ B2C (ธุรกิจไปยังผู้บริโภค) ซึ่งจะมีสัดส่วนราว 29% ของมูลค่าตลาด จะมีการเติบโตขึ้นถึง 43% เพิ่มจากปี 2558 ที่โตขึ้น 23.87% แต่ในส่วนของ B2B (ธุรกิจต่อธุรกิจ) ซึ่งจะมีสัดส่วนราว 54% ของมูลค่าตลาด จะโตแค่ 3.5% น้อยกว่าปี 2558 ที่โตขึ้น 8.15%


"การเติบโตของโมบาย ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร นวัตกรรมใหม่ การผลักดันนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของภาครัฐ และความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตขึ้นมาก"












________________________________________________






อีคอมเมิร์ซโตทะลุ2.5ล้านล้าน นักช็อปไทยอันดับ3อาเซียน

ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยทะลุ 2.5 ล้านล้านบาท B2C พุ่งกว่า 43% อุตสาหกรรมค้าปลีกแซงหน้าจองห้องพักออนไลน์แล้ว ช็อปอาหาร-เครื่องดื่มโตกระฉูด 61.69% ห้างออนไลน์ฮิตตามมาติด ๆ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมูลค่าตลาดต่อหัวนักช็อปไทยอยู่ที่ 230.89 เหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน ฟากผู้ประกอบการร้องขอมาตรการจูงใจ-ลดหย่อนด้านภาษี การันตีระบบโลจิสติกส์และอีเพย์เมนต์

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า จากผลสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยในปี 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.41% ขณะที่ในปี 2559 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 12.42% ขยับไปอยู่ที่ 2,523,994.46 ล้านบาท โดยการค้าแบบ B2C (ธุรกิจไปยังผู้บริโภค) ซึ่งจะมีสัดส่วนราว 29% ของมูลค่าตลาด จะมีการเติบโตขึ้นถึง 43% เพิ่มจากปี 2558 ที่โตขึ้น 23.87% แต่ในส่วนของ B2B (ธุรกิจต่อธุรกิจ) ซึ่งจะมีสัดส่วนราว 54% ของมูลค่าตลาด จะโตแค่ 3.5% น้อยกว่าปี 2558 ที่โตขึ้น 8.15%

"การเติบโตของโมบาย ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร นวัตกรรมใหม่ การผลักดันนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของภาครัฐ และความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตขึ้นมาก"

หากไม่รวมการประมูลงานภาครัฐ (e-Auction) อุตสาหกรรมที่มีการซื้อขายออนไลน์มากที่สุดในปี 2559 ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งเติบโตขึ้น 36.35% ขยับจากอันดับ 2 ในปีก่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยมูลค่า 731,828.33 ล้านบาท (34.55% ของมูลค่าตลาด) ขณะที่อุตสาหกรรมให้บริการที่พัก แม้เติบโตขึ้น 14.89% แต่ก็ตกมาอยู่อันดับ 2 ในปีนี้ (30.35% ของมูลค่าตลาด) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตคงอยู่ในอันดับ 3 แต่มูลค่าหดตัวจากปีก่อน 19.8% เหลือ 343,866.80 ล้านบาท (16.23% ของตลาด)

เมื่อเจาะไปที่อุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่ง สินค้าและบริการที่มีอัตราการซื้อขายออนไลน์เติบโตสูงในปีนี้ อันดับ 1 ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตผลทางการเกษตร โตขึ้น 61.69% อันดับ 2 คือ ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ 38.13% แฟชั่นเครื่องแต่งกาย 35.69% ยานยนต์ 36.53% อุปกรณ์กีฬาและของเล่น 34.73% เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน 27.79% เครื่องสำอาง-อาหารเสริม 23.63% คอมพิวเตอร์ไอที-อุปกรณ์สื่อสาร 14.24%

ขณะที่มูลค่าการค้าออนไลน์แบบ B2C เฉลี่ยต่อประชากรจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของไทยในปี 2558 เพิ่มจาก 172.76 เหรียญสหรัฐต่อคน เพิ่มเป็น 230.89 เหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน เป็นรองสิงคโปร์ ที่ปี 2558 มีสัดส่วนเฉลี่ย 648.60 เหรียญสหรัฐ มาเลเซีย 392.34 เหรียญสหรัฐ ทั้งยังห่างจากประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ที่เฉลี่ย 1,530.9 เหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่น 1,067.6 เหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้ 767.73 เหรียญสหรัฐ

ด้านความต้องการเพิ่มเติมของผู้ค้าออนไลน์กลุ่ม SMEs (มูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปี) พบว่า ในด้านมาตรการภาษีต้องการให้มีมาตรการจูงใจหรือมีเงินทุนสนับสนุน ทั้งอยากให้มีมาตรการรับรองว่าสินค้าจะถึงมือผู้ซื้อหรือมีความรับผิดชอบในส่วนของบริการขนส่งกรณีสินค้าสูญหายสร้างความมั่นใจว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีกฎหมายรองรับ มีกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทที่คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องขึ้นศาล เพื่อให้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

ฟากผู้ประกอบการที่มีมูลค่าค้าขายมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี พบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมีต้นทุนการขนส่งสูง ทำให้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เองมีความคุ้มค่ากว่าในระยะยาว ทั้งยังต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงสร้างหน่วยงานกลางที่ดูแลธุรกิจนี้อย่างครบวงจรตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนถึงการสร้างมาตรการส่งเสริมและแก้ไขข้อพิพาท

"ไอเดียที่จะเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซการเก็บภาษีเป็นปัญหาของทุกประเทศว่าจะจัดเก็บอย่างไร แต่ถ้ามีการจูงใจที่จะดึงเข้าระบบ ช่วยซัพพอร์ตการลงทุน มีกองทุนให้ การเก็บภาษีก็จะทำได้เอง แต่ถ้าไม่มีผู้ค้าจะหนีออกจากระบบ การเข้าระบบทำให้เกิดความมั่นใจว่า ซื้อขายไม่โกงด้วย ตอนนี้ฝ่ายนโยบายกำลังหามาตรการที่เหมาะสม เพราะรูปแบบการค้าขายมุ่งไปทางโซเชียลมีเดีย นอกเหนือกลไกรัฐ การกระตุ้นให้สมัครใจเข้าระบบจึงดีที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการซื้อด้วย"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475738271

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.