Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 GOOGLE TH ระบุ "คอนเทนต์ที่อยู่ในเว็บและในยูทูบ มีข้อดีคือ ในโลกของเว็บมีเป็นโกลบอลคอนเทนต์ทำให้เข้าถึงความรู้ทั่วโลกได้ โดยเฉพาะความรู้ระดับสูง บางครั้งคอนเทนต์ในไทยอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องเรียนรู้พร้อมต่างประเทศด้วย

ประเด็นหลัก




ด้าน "ไมเคิล จิตติวาณิชย์" หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านผู้บริโภค กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมาตลอด เพราะถือว่าการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ แบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1.ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา เช่น กูเกิล เอดูเคชั่น, กูเกิล คลาสรูม 2.แพลตฟอร์มของดีไวซ์ที่พยายามให้ราคาย่อมเยาที่สุด ทั้งโครมโอเอส และแอนดรอยด์ 3.โปรแกรมฝึกสอนนักศึกษาเรื่องดิจิทัล เช่น ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และโปรแกรมค้นหาต่าง ๆ 4.ผลิตภัณฑ์ที่เกื้อหนุนการศึกษา เช่น ยูทูบ

"คอนเทนต์ที่อยู่ในเว็บและในยูทูบ มีข้อดีคือ ในโลกของเว็บมีเป็นโกลบอลคอนเทนต์ทำให้เข้าถึงความรู้ทั่วโลกได้ โดยเฉพาะความรู้ระดับสูง บางครั้งคอนเทนต์ในไทยอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องเรียนรู้พร้อมต่างประเทศด้วย สิ่งที่เห็นในปีสองปีมานี้ คือ คอนเทนต์ในไทยโตเร็วมาก มีคนใช้ยูทูบมากขึ้น ผลพลอยได้คือคนที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับด้านการศึกษาหันมาทำคอนเทนต์บนยูทูบเยอะขึ้น เรามีทีมคอยดูแลคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านนี้โดยเฉพาะ"

นอกจากนี้ยังพัฒนา "Expeditions" ชุดการเรียนการสอนที่สร้างภาพเสมือนจริง 3D 360 องศา ที่ใช้ผ่านสมาร์ทโฟน และ Cardboard ทำให้คุณครูพานักเรียนทั้งชั้นเดินทางไปทั่วโลกในที่ที่ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้เสมือนจริง ไม่ว่าจะท่องอวกาศ, ใต้น้ำ หรือในร่างกายมนุษย์ เป็นต้น โดยโรงเรียนในไทยที่นำแอปพลิเคชั่นกูเกิลไปใช้ เช่น โรงเรียนภูเขียว จ.ชัยภูมิ และโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จ.เชียงราย เป็นต้น

เดิมโรงเรียนภูเขียวนักเรียนไม่มีแม้กระทั่งอีเมล์ และครูไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับนักเรียนผ่านไอทีได้ทำให้การจัดการด้านต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก ปัจจุบันโรงเรียนมีบัญชีอีเมล์ให้ครู และเจ้าหน้าที่รวม 222 คน และนักเรียน 3,030 คน ส่วนด้านการเรียนการสอนก็ลดภาระผู้สอนลง และมีการสร้างสื่อ และนวัตกรรม บริหารจัดการการเรียนการสอนผ่าน Classroom, เก็บผลงานนักเรียนด้วย Google Drive และใช้ Google Sites เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น




_________________________________________






"กูเกิล" จัด Apps เจาะโรงเรียน ดึงเทคโนโลยีเสริมการเรียนรู้

ขยายแนวรุกเข้าสู่ภาคการศึกษาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ล่าสุด "กูเกิล" โชว์ว่าแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา (Google Apps for Education) มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากถึงกว่า 60 ล้านคนแล้ว โดยเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

"ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์" Program Manager, Google Asia Pacific กล่าวว่า ผลการศึกษาจาก The Economist ในปี 2558 ระบุว่าทักษะแรกที่จำเป็นในการทำงานคือการติดตามและแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดโดยใช้การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม ซึ่งการมีข้อมูลแพร่หลายอาจเป็นพลังแต่หากมากเกินไปอาจมีปัญหาได้ สิ่งที่กูเกิลทำคือคิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ใช้ โดยเฉพาะครูอาจารย์นำไปใช้งานได้ง่าย โดยแทบไม่มีค่าใช้จ่าย

เพราะแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของ กูเกิล ประกอบด้วย Classroom, Gmail, Docs, และ Drive ช่วยให้นักเรียนและผู้สอนทำงานและเรียนรู้ร่วมกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 60 ล้านคน กว่า 180 ประเทศ เพิ่มจากปี 2012 ที่มี 20 ล้านราย เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนใช้ได้ในราคาย่อมเยา โดยความร่วมมือจากพันธมิตร ผู้ผลิตอุปกรณ์ทั้งที่รองรับแอนดรอยด์ และโครมบุ๊ก ผลิตอุปกรณ์ในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย

ด้าน "ไมเคิล จิตติวาณิชย์" หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านผู้บริโภค กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมาตลอด เพราะถือว่าการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ แบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1.ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา เช่น กูเกิล เอดูเคชั่น, กูเกิล คลาสรูม 2.แพลตฟอร์มของดีไวซ์ที่พยายามให้ราคาย่อมเยาที่สุด ทั้งโครมโอเอส และแอนดรอยด์ 3.โปรแกรมฝึกสอนนักศึกษาเรื่องดิจิทัล เช่น ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และโปรแกรมค้นหาต่าง ๆ 4.ผลิตภัณฑ์ที่เกื้อหนุนการศึกษา เช่น ยูทูบ

"คอนเทนต์ที่อยู่ในเว็บและในยูทูบ มีข้อดีคือ ในโลกของเว็บมีเป็นโกลบอลคอนเทนต์ทำให้เข้าถึงความรู้ทั่วโลกได้ โดยเฉพาะความรู้ระดับสูง บางครั้งคอนเทนต์ในไทยอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องเรียนรู้พร้อมต่างประเทศด้วย สิ่งที่เห็นในปีสองปีมานี้ คือ คอนเทนต์ในไทยโตเร็วมาก มีคนใช้ยูทูบมากขึ้น ผลพลอยได้คือคนที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับด้านการศึกษาหันมาทำคอนเทนต์บนยูทูบเยอะขึ้น เรามีทีมคอยดูแลคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านนี้โดยเฉพาะ"

นอกจากนี้ยังพัฒนา "Expeditions" ชุดการเรียนการสอนที่สร้างภาพเสมือนจริง 3D 360 องศา ที่ใช้ผ่านสมาร์ทโฟน และ Cardboard ทำให้คุณครูพานักเรียนทั้งชั้นเดินทางไปทั่วโลกในที่ที่ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้เสมือนจริง ไม่ว่าจะท่องอวกาศ, ใต้น้ำ หรือในร่างกายมนุษย์ เป็นต้น โดยโรงเรียนในไทยที่นำแอปพลิเคชั่นกูเกิลไปใช้ เช่น โรงเรียนภูเขียว จ.ชัยภูมิ และโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จ.เชียงราย เป็นต้น

เดิมโรงเรียนภูเขียวนักเรียนไม่มีแม้กระทั่งอีเมล์ และครูไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับนักเรียนผ่านไอทีได้ทำให้การจัดการด้านต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก ปัจจุบันโรงเรียนมีบัญชีอีเมล์ให้ครู และเจ้าหน้าที่รวม 222 คน และนักเรียน 3,030 คน ส่วนด้านการเรียนการสอนก็ลดภาระผู้สอนลง และมีการสร้างสื่อ และนวัตกรรม บริหารจัดการการเรียนการสอนผ่าน Classroom, เก็บผลงานนักเรียนด้วย Google Drive และใช้ Google Sites เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น

"ผอ.ศิริวรรณ อาจศรี" โรงเรียนภูเขียว กล่าวว่า การใช้อุปกรณ์และแอปพลิเคชั่นจะทำไม่ได้ถ้าเด็กไม่พร้อม ซึ่งต้องจัดการระบบตั้งแต่ที่โรงเรียน อัพเกรดคุณครู และทำให้เด็กยอมรับ โดยใช้เวลาราว 2 ปีทำให้เกิดขึ้น เริ่มที่ครูมีกูเกิลเมล์ ใช้แอป เช่น กูเกิลเสิร์ช กูเกิลไดรฟ์ ขณะนี้ใช้อยู่ 37 แอปให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละชั้น

ส่วนโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ มีนักเรียน 3,000 คน มีการจัดตั้ง "ห้องเรียนฉลาด" (Smart Classroom) นำโครมบุ๊ก และ Google Apps มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย, อังกฤษ, สังคม และคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งการบ้าน และทดสอบออนไลน์ ประหยัดเวลาครู และประหยัดกระดาษ นำ Gmail มาใช้ติดต่อประสานงาน และยกเลิกการถ่ายเอกสารคำสั่งงานเปลี่ยนมาใช้การสื่อสารคำสั่งราชการผ่านอีเมล์ โดยข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนจะแชร์ผ่าน Google Drive

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในทุกมิติ ถ้ารู้จักเลือกใช้ก็จะเป็นประโยชน์ และประหยัดได้มาก

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้



อ่านเพิ่มเติม
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475138769

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.