Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 TOT ระบุ ลูกค้าพึงพอใจในบริการมากขึ้น จึงพยายามจะจูงใจให้ลูกค้าที่สายอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดง ADSL เปลี่ยนมาใช้ FTTX ที่เป็นสายไฟเบอร์มากขึ้นด้วย ปัจจุบันลูกค้าบรอดแบนด์ของทีโอทีมีอยู่ราว 1.3 ล้านราย ในสิ้นปีตั้งเป้าจะเพิ่มลูกค้าใหม่อีก 2.4 แสนราย

ประเด็นหลัก




บรอดแบนด์แข่งขันกันดุเดือดมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ผู้ประกอบการหลายรายเข้าไปขยายฐานลูกค้า ทำให้ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นการแข่งแย่งลูกค้าจากรายเดิมมากกว่า เนื่องจากมีผู้ใช้หนาแน่นอยู่แล้ว เมื่อมีรายใหม่เข้ามายิ่งทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น

โดยที่ผ่านมาทีโอทีปรับกลยุทธ์ด้านราคาเพื่อรักษาฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องล่าสุดมีโปรโมชั่น"สตรอง"เพิ่มความเร็วในการอัพโหลดเช่น แพ็กเกจดาวน์โหลด 30 Mbps อัพโหลด 15 Mbps เดือนละ 750 บาท หากเพิ่มบริการ IPTV เพิ่มเงิน 50 บาท เป็น 800 บาทเท่านั้น ทั้งมีโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกค้าเดิมในพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้ายกเลิกบริการไปใช้ของคู่แข่งด้วย

"ลูกค้าทุกวันนี้สร้างคอนเทนต์และแชร์ให้คนอื่นมากขึ้นสปีดอัพโหลดจึงดึงดูดลูกค้าได้ขณะที่ลูกค้าเก่าในพื้นที่ที่แข่งขันสูงสำนักงานใหญ่ได้อนุมัติโปรโมชั่นพิเศษให้ส่วนลด15-70% จากราคาปกติ ให้ทีมขายแต่ละพื้นที่ใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือกใช้ได้เพื่อไม่ให้ลูกค้าไหลออกได้ พร้อมกับพยายามกำกับให้มีการอัพเกรดบริการให้ดีขึ้น เพราะหากใช้การสู้ราคากันไปเรื่อย ๆ ทุกรายจะอยู่ในสภาพหลังชนฝา การคงคุณภาพบริการจึงเป็นเรื่องสำคัญ"

และเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในบริการมากขึ้น จึงพยายามจะจูงใจให้ลูกค้าที่สายอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดง ADSL เปลี่ยนมาใช้ FTTX ที่เป็นสายไฟเบอร์มากขึ้นด้วย ปัจจุบันลูกค้าบรอดแบนด์ของทีโอทีมีอยู่ราว 1.3 ล้านราย ในสิ้นปีตั้งเป้าจะเพิ่มลูกค้าใหม่อีก 2.4 แสนราย




_________________________________________






"ไฮสปีดเน็ต"เปิดศึกชิงลูกค้าข้ามค่าย ถล่มโปรใต้ดิน-หั่นราคาสปีด50Mbpsเหลือ699บ.


สงครามไฮสปีดเน็ตเดือดพล่าน "เอไอเอส ไฟเบอร์" ส่งแคมเปญใต้ดินดึงลูกค้าคู่แข่งเต็มสูบ หั่นราคาไฮสปีดเน็ตความเร็ว 20 Mbps เหลือ 100 บาท นานครึ่งปี ตั้งเป้าดูดลูกค้าย้ายค่าย พร้อมจัดหนักขยับมาตรฐานความเร็ว-ปรับราคาแพ็กเกจยกแผง ต่ำสุดจ่าย 590 บาทเท่าเดิม ได้สปีด 20 Mbps หลัง 3 บีบีนำร่องกดราคา 50 Mbps เหลือ 700 บาท/เดือน ฟาก "แคท"ไม่ยอมแพ้ พร้อมงัดแคมเปญโต้กลับ "ทีโอที" ไฟเขียวในพื้นที่ให้ส่วนลด 15-70% เพิ่มดีกรีรักษาฐานลูกค้า

นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การแข่งขันในตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ปัจจุบันยังคงแข่งขันที่ "ราคา" เป็นหลัก มีทั้งลดราคาแพ็กเกจรายเดือนลง, ปรับความเร็วขึ้น และออกแพ็กเกจความเร็วสูงขึ้น เป็นต้น ล่าสุดกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง โดยเฉพาะในแพ็กเกจความเร็ว 50 Mbps หลังจาก 3BB มีแพ็กเกจความเร็ว 50 Mbps ในราคา 700 บาท และความเร็ว 100 Mbps ที่ 1,200 บาท ล่าสุด "เอไอเอส ไฟเบอร์" มีแพ็กเกจความเร็ว 100 Mbps ออกมาเช่นกัน




"AIS Fibre" ปรับแพ็กเกจ

พร้อมทั้งปรับราคาแพ็กเกจอื่น ๆ เช่น ความเร็ว 20 Mbps เดิมราคา 750 บาท/เดือน ปรับลดเหลือ 590 บาท และยังให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าเอไอเอส ลดเหลือ 531 บาท/เดือน และแพ็กเกจ 50 Mbps ราคา 888 บาท/เดือน ลูกค้าเอไอเอสลดเหลือ 799 บาท ถ้าเป็นเซเรเนดจะลดเหลือ 699 บาท เท่านั้น และรับฟรีกล่อง AIS PLAYBOX และแพ็กเกจ HooQ ให้ดูหนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ฟรี 1 ปี ซึ่งหากเทียบราคา, ความเร็ว และบริการโดยรวมที่ลูกค้าได้รับ ถือว่าแพ็กเกจ 50 Mbps คุ้มค่าที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นลูกค้าเอไอเอส และเซเรเนด คาดว่าภายในสิ้นปีจะมีฐานลูกค้าถึง 300,000 ราย จากปัจจุบัน 200,000 ราย

"เรากำลังเร่งขยายโครงข่ายอย่างเต็มที่ โดยคาดว่าภายในอีก 2-3 เดือนจะครอบคลุมเต็มพื้นที่กรุงเทพฯ และอีก 27 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเราเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ให้บริการบนเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติก 100% จึงการันตีความเร็วได้เต็มสปีดตามที่แจ้งไว้ในแพ็กเกจ ทั้งการอัพโหลด และดาวน์โหลด ในราคาที่สมเหตุสมผลที่สุด ซึ่งผลสำรวจ Net Promoter Score ของเราออกมาเป็นบวก ทำให้ลูกค้ายินดีบอกต่อและแนะนำบริการให้คนอื่นใช้งานด้วย"

งัดโปรฯใต้ดินดูดลูกค้าคู่แข่ง

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าเอไอเอสไฟเบอร์ยังมีแคมเปญใต้ดินเพื่อดึงลูกค้าของคู่แข่งให้ย้ายมาใช้บริการของตนเองด้วยโดยจะลดราคาแพ็กเกจ20Mbps ราคา 590 บาท/เดือน เหลือเพียง 100 บาท/เดือน เป็นเวลา 6 เดือนด้วย โดยจัดทีมงานลงไปในย่านชุมชน เพื่อนำเสนอแคมเปญดังกล่าวในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก ด้วยราคาที่ถูกลงมาก

แหล่งข่าวจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เตรียมรับมือการทำแคมเปญดัมพ์ตลาดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์รายใหม่ไว้แล้ว โดยจะมีแพ็กเกจพิเศษสำหรับลูกค้าเดิมในพื้นที่ที่มีการทำตลาดรุนแรง เพื่อไม่ให้ลูกค้ายกเลิกบริการ เนื่องจากเป็นสิ่งที่คาดไว้อยู่แล้วว่าผู้เล่นรายใหม่จะต้องใช้โปรโมชั่นถึงขั้นยอมขาดทุนในช่วงแรกเพื่อดึงลูกค้าจากผู้เล่นรายเดิมให้มากที่สุดแม้ว่าตลาดบรอดแบนด์จะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากทั้งในส่วนของลูกค้าเดิมที่ยังใช้เทคโนโลยีเดิมที่เป็น"สายทองแดง"และรายใหม่ที่ยังไม่เคยติดตั้งฟิกซ์อินเทอร์เน็ตมาก่อน

"ตลาดแข่งขันกันรุนแรง แต่เราไม่หนักใจ เพราะพฤติกรรมลูกค้าฟิกซ์บรอดแบนด์ต่างจากมือถือ คือจะไม่ย้ายค่ายง่าย ๆ ตราบใดที่เรายังเสนอค่าบริการและคุณภาพบริการที่ลูกค้าพึงพอใจ เพราะการจะเปลี่ยนต้องลากสายใหม่ ต้องมีช่างเข้ามาติดตั้ง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้ที่ผ่านมามีลูกค้าไหลออกน้อยมาก"

"แคท" ส่งแคมเปญโต้กลับ

และแคทได้มีการเตรียมตัวทีมขายใน 23 จังหวัดเป้าหมายที่คู่แข่งเร่งปูพรมวางโครงข่ายเพื่อรับมือแล้ว พร้อมด้วยโปรโมชั่นพิเศษที่จะเข้าไปเสนอให้ลูกค้าทันทีเพื่อดึงลูกค้าไว้ รวมถึงเข้าไปเสนอให้ลูกค้าใหม่ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย

นอกจากนี้ในเดือน ต.ค.นี้ บริการบรอดแบนด์ของแคท ภายใต้แบรนด์ "C Internet" จะมีแคมเปญใหม่ ทั้งค่าบริการที่ยืดหยุ่นกว่าคู่แข่ง คือให้ลูกค้าเลือกสปีดความเร็วในการอัพโหลด และดาวน์โหลดได้ตามต้องการ รวมถึงมีการจัดโปรโมชั่นราคาที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

ปัจจุบันโครงข่ายบริการ C Internet ครอบคลุมถึงทุกอำเภอทั่วประเทศไทย และมีการลากสายเข้าไปถึงระดับตำบลและหมู่บ้านที่มีความต้องการใช้งาน รวมถึงในพื้นที่ที่มีโครงการพิเศษกับภาครัฐ หรือหน่วยงานท้องถิ่น เมื่อลากสายไปแล้วก็จะมีการทำแคมเปญตลาดเจาะลูกค้ารายย่อยในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งจะเป็นราคาค่าบริการพิเศษกว่าที่ประชาสัมพันธ์ในสื่อหลักที่กำหนดแพ็กเกจความเร็ว 30 Mbps/3 Mbps. ที่ 1,500 บาท/เดือน

"แพ็กเกจพิเศษเหล่านี้จะอนุมัติให้ทีมขายในพื้นที่เป้าหมายนำไปเสนอลูกค้าได้ แต่ไม่โปรโมตในสื่อหลัก หรือทำตลาดแมส เพราะกำลังเร่งเจรจากับพันธมิตรเพื่อให้ติดตั้งลากสายไปให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น หากโหมโปรโมตไปจะยิ่งติดตั้งให้ลูกค้าได้ล่าช้า ทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ จึงเน้นเจาะตามกลุ่มเป้าหมายก่อน ซึ่งลูกค้า C Internet ราว 80% อยู่ในต่างจังหวัด ในต้นปีหน้าจะเน้นกรุงเทพฯและปริมณฑลมากขึ้น"

สำหรับฐานลูกค้าบรอดแบนด์ของแคทในขณะนี้มีอยู่ราว 150,000 ราย สร้างรายได้ให้บริษัทราวพันล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 200,000 รายภายในสิ้นปีนี้ พร้อมเตรียมขยายโครงข่ายเพิ่มอีก 200,000 พอร์ตให้เสร็จในปีหน้า รองรับการเติบโตของตลาดที่มีการประเมินว่า ตลาดรวมในแต่ละปีจะโต 8-9% ขณะที่แคทตั้งเป้าจะเพิ่มทั้งรายได้ และฐานลูกค้าให้ได้ราว 10-15%

"ทีโอที" ลดเพิ่ม 15-70%

ด้านนางพิมพ์พิมล วงษ์สุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักบริหารการตลาด บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดบรอดแบนด์แข่งขันกันดุเดือดมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ผู้ประกอบการหลายรายเข้าไปขยายฐานลูกค้า ทำให้ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นการแข่งแย่งลูกค้าจากรายเดิมมากกว่า เนื่องจากมีผู้ใช้หนาแน่นอยู่แล้ว เมื่อมีรายใหม่เข้ามายิ่งทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น

โดยที่ผ่านมาทีโอทีปรับกลยุทธ์ด้านราคาเพื่อรักษาฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องล่าสุดมีโปรโมชั่น"สตรอง"เพิ่มความเร็วในการอัพโหลดเช่น แพ็กเกจดาวน์โหลด 30 Mbps อัพโหลด 15 Mbps เดือนละ 750 บาท หากเพิ่มบริการ IPTV เพิ่มเงิน 50 บาท เป็น 800 บาทเท่านั้น ทั้งมีโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกค้าเดิมในพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้ายกเลิกบริการไปใช้ของคู่แข่งด้วย

"ลูกค้าทุกวันนี้สร้างคอนเทนต์และแชร์ให้คนอื่นมากขึ้นสปีดอัพโหลดจึงดึงดูดลูกค้าได้ขณะที่ลูกค้าเก่าในพื้นที่ที่แข่งขันสูงสำนักงานใหญ่ได้อนุมัติโปรโมชั่นพิเศษให้ส่วนลด15-70% จากราคาปกติ ให้ทีมขายแต่ละพื้นที่ใช้ดุลพินิจตัดสินใจเลือกใช้ได้เพื่อไม่ให้ลูกค้าไหลออกได้ พร้อมกับพยายามกำกับให้มีการอัพเกรดบริการให้ดีขึ้น เพราะหากใช้การสู้ราคากันไปเรื่อย ๆ ทุกรายจะอยู่ในสภาพหลังชนฝา การคงคุณภาพบริการจึงเป็นเรื่องสำคัญ"

และเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในบริการมากขึ้น จึงพยายามจะจูงใจให้ลูกค้าที่สายอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดง ADSL เปลี่ยนมาใช้ FTTX ที่เป็นสายไฟเบอร์มากขึ้นด้วย ปัจจุบันลูกค้าบรอดแบนด์ของทีโอทีมีอยู่ราว 1.3 ล้านราย ในสิ้นปีตั้งเป้าจะเพิ่มลูกค้าใหม่อีก 2.4 แสนราย

ทรูออนไลน์ยังเป็นเบอร์ 1

ในรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2559 ของกลุ่มทรูระบุว่า การให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงขึ้นผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ และการผสานสินค้าและบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกันยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการแข่งขัน และทำให้บริการทรูออนไลน์มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 ล้านราย ผลักดันรายได้บริการบรอดแบนด์ในกลุ่มลูกค้าทั่วไปในไตรมาส 2 เติบโตขึ้น 15% จากปีก่อนหน้า

ขณะที่บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ 3BB เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1/2559 มีลูกค้าทั้งสิ้น 2.102 ล้านราย และในไตรมาส 2/2559 มีลูกค้าเพิ่มขึ้นสุทธิ (Net Additional Subscriber) 120,642 ราย เทียบกับไตรมาส 1 ปี ที่เพิ่มขึ้น 85,773 ราย คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 41%

และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า ณ สิ้นไตรมาส 1/2559 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประจำที่ในไทยมี 6.39 ล้านราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็น 31.04% ของครัวเรือน โดยทรูออนไลน์มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 38.4% ตามด้วย 3BB ที่ 32.3% และทีโอที 22.3% ที่เหลือ 7.1% เป็นผู้ให้บริการรายอื่น ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวโน้มของจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น ยกเว้นทีโอทีที่มีลูกค้าลดลง ขณะที่ค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่าย เมื่อคำนวณเป็น Kbps แล้ว อยู่ในระดับ 0.06 บาท/Kbps ตั้งแต่ไตรมาส 3/2558

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475137669

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.