Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด กล่าวว่า สมาคมสนับสนุนให้สมาชิกเข้าระบบเสียภาษีให้ถูกต้องอยู่แล้ว ขณะที่นโยบายการเรียกเก็บภาษีนี้จะมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะมูลค่าการค้าออนไลน์ไปอยู่ที่แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซมากกว่ามาร์เก็ตเพลซทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถติดตามข้อมูลธุรกรรมได้ทั้งหมดขณะที่การค้าขายผ่านมาร์เก็ตเพลซส่วนใหญ่ทำในรูปแบบนิติบุคคลจึงมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว

ประเด็นหลัก



ขณะที่การจัดเก็บภาษีจากบริษัทสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติประเมินว่าเมื่อมีกรณีที่หลายประเทศในยุโรปเรียกเก็บภาษีจากธุรกิจเหล่านี้ได้จะกลายเป็นตัวอย่างให้ประเทศไทยดำเนินการได้ด้วยแต่ควรเรียกเจรจามากกว่าจะใช้มาตรการที่เป็นไม้แข็ง

ด้านนายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และกรรมการบริหารสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยกล่าวว่า สมาคมสนับสนุนให้สมาชิกเข้าระบบเสียภาษีให้ถูกต้องอยู่แล้ว ขณะที่นโยบายการเรียกเก็บภาษีนี้จะมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะมูลค่าการค้าออนไลน์ไปอยู่ที่แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซมากกว่ามาร์เก็ตเพลซทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถติดตามข้อมูลธุรกรรมได้ทั้งหมดขณะที่การค้าขายผ่านมาร์เก็ตเพลซส่วนใหญ่ทำในรูปแบบนิติบุคคลจึงมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว

สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือสนับสนุนให้ใช้ระบบอีเพย์เมนต์อย่าง"พร้อมเพย์"เพื่อให้ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเข้าสู่ระบบ รวมถึงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้อง อาทิ ลดหย่อนภาษีให้ผู้เข้าระบบ และมีการทำบัญชีอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา และระวังไม่กดดันจนทำให้ผู้ค้าออนไลน์หันไปใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของต่างประเทศ ซึ่งจะยิ่งยากในการจัดเก็บภาษี

"ภาครัฐต้องหาแนวทางในการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการรายใหญ่ข้ามชาติที่เข้ามาทำตลาดหารายได้ในไทยด้วย"

ขณะที่นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ.กล่าวว่า ประมาณการว่าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่เป็นรายย่อยทั่วไปมีกว่า 5 แสนราย แต่มีการจดทะเบียนถูกต้องเพียง 1 หมื่นราย ทั้งทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเงินสดหรือโอนทางเอทีเอ็มเป็นหลัก การติดตามข้อมูลจึงไม่ใช่เรื่องง่าย





_________________________________________






ไล่เก็บภาษีอีคอมเมิร์ซไม่หมู ชงใช้โมเดลจูงใจดึงเข้าระบบ



เก็บภาษีอีคอมเมิร์ซไม่หมู แนะ "สรรพากร" จับมือ สสว. กรมพัฒนาฯ ปั้นโมเดลลดหย่อนจูงใจดึงผู้ค้ากว่า 5 แสนรายเข้าระบบลงทะเบียนยืนยันตัวตน-กระตุ้นใช้ "พร้อมเพย์" สร้างฐานข้อมูลเกาะติดธุรกรรมให้สำเร็จก่อน ชี้แบรนด์ดังจ้างเน็ตไอดอลก็หักภาษีส่งคลังอยู่แล้ว มีช่องโหว่แค่กลุ่ม SMEs-รายย่อยเท่านั้น

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทตลาด ดอท คอม และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"ว่า แนวคิดในการจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซมีมานานแล้ว โดยรัฐต้องการให้ผู้ค้าออนไลน์เข้าสู่ระบบ มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือหากเกณฑ์รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนธุรกิจทั่วไป ไม่ได้มีนโยบายในการเรียกเก็บภาษีเฉพาะ

"ก็ไม่ต่างจากความพยายามให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของตามร้านทั่วไปเข้าสู่ระบบภาษีเพียงแต่การค้าออนไลน์อยู่กระจัดกระจายการเข้าไปกวาดเข้าระบบให้หมดจึงไม่ง่ายทางที่จะทำได้สำเร็จคือ ต้องให้สมัครใจเข้ามาเอง ที่ผ่านมานโยบายรัฐก็จริงจัง แต่กรมสรรพากรขาดเครื่องมือจูงใจ จึงควรร่วมกับ สสว. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหามาตรการสนับสนุนที่เหมาะสม"

การที่ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้องมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากเห็นประโยชน์ของการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมากขึ้น แต่กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เข้ามาค้าขายออนไลน์ทั้งที่เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ยังต้องการการจูงใจและให้ความรู้อีกมากดีกว่าใช้การกดดันหรือเข้มงวดในการเข้าตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เพราะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของตลาด เช่น เลิกทำธุรกิจนี้หรือหันไปหาช่องทางเลี่ยงภาษีที่ซับซ้อนขึ้น

ส่วนการจัดเก็บภาษีจากเน็ตไอดอลที่รับโปรโมตสินค้าผ่านโซเชียลนั้นจะมีปัญหาเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีเจ้าของเป็นSMEsหรือบุคคลธรรมดาเท่านั้น หากเป็นแบรนด์สินค้าและบริการที่จดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้อง จะมีการวางบิลค่าจ้างรวมถึงหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกระบวนการทางบัญชีที่ถูกต้องอยู่แล้ว และในส่วนของเน็ตไอดอลหรือดารานักแสดงมืออาชีพมีการวางแผนภาษีด้วยการรับงานในรูปแบบบริษัท ที่สุดท้ายรัฐก็จะได้เงินภาษีเข้าคลังอยู่แล้ว

ขณะที่การจัดเก็บภาษีจากบริษัทสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติประเมินว่าเมื่อมีกรณีที่หลายประเทศในยุโรปเรียกเก็บภาษีจากธุรกิจเหล่านี้ได้จะกลายเป็นตัวอย่างให้ประเทศไทยดำเนินการได้ด้วยแต่ควรเรียกเจรจามากกว่าจะใช้มาตรการที่เป็นไม้แข็ง

ด้านนายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และกรรมการบริหารสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยกล่าวว่า สมาคมสนับสนุนให้สมาชิกเข้าระบบเสียภาษีให้ถูกต้องอยู่แล้ว ขณะที่นโยบายการเรียกเก็บภาษีนี้จะมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะมูลค่าการค้าออนไลน์ไปอยู่ที่แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซมากกว่ามาร์เก็ตเพลซทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถติดตามข้อมูลธุรกรรมได้ทั้งหมดขณะที่การค้าขายผ่านมาร์เก็ตเพลซส่วนใหญ่ทำในรูปแบบนิติบุคคลจึงมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว

สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือสนับสนุนให้ใช้ระบบอีเพย์เมนต์อย่าง"พร้อมเพย์"เพื่อให้ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเข้าสู่ระบบ รวมถึงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้อง อาทิ ลดหย่อนภาษีให้ผู้เข้าระบบ และมีการทำบัญชีอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา และระวังไม่กดดันจนทำให้ผู้ค้าออนไลน์หันไปใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของต่างประเทศ ซึ่งจะยิ่งยากในการจัดเก็บภาษี

"ภาครัฐต้องหาแนวทางในการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการรายใหญ่ข้ามชาติที่เข้ามาทำตลาดหารายได้ในไทยด้วย"

ขณะที่นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ.กล่าวว่า ประมาณการว่าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่เป็นรายย่อยทั่วไปมีกว่า 5 แสนราย แต่มีการจดทะเบียนถูกต้องเพียง 1 หมื่นราย ทั้งทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเงินสดหรือโอนทางเอทีเอ็มเป็นหลัก การติดตามข้อมูลจึงไม่ใช่เรื่องง่าย


สุรางคณา วายุภาพ

หากรัฐต้องการจัดเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซต้องจูงใจให้คนที่อยู่นอกระบบเข้ามาลงทะเบียน อาทิ มีมาตรการช่วยเหลือทางภาษี รวมถึงการย้ำความสำคัญในการระบุตัวตนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อสินค้าว่าจะไม่ถูกโกง ทำให้ได้ฐานข้อมูลก่อน โดยในส่วนของ สพธอ.เองก็กำลังหารือจัดทำฐานข้อมูลร่วมกับสภาหอการค้าไทย

"ฝ่ายนโยบายกำลังหามาตรการที่เหมาะสม เพราะรูปแบบการค้าขายมุ่งไปทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งนอกเหนือกลไกรัฐจะเข้าไปได้ง่าย ๆ การกระตุ้นให้สมัครใจเข้าระบบจึงดีที่สุด หากมีมาตรการจัดเก็บภาษีจะมีการผลกระทบต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่เชื่อว่าจะไม่ทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลง"



ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475733535

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.