Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 "กสทช." แจง "สตง." ปมใช้งบฯ ยันแจก "คูปองทีวี" โปร่งใส-ท้าพิสูจน์ทุจริต โดยนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับ จึงส่งผลให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยสามารถลดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษและวิธีตกลงราคา และมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา และประกวดราคา ผลปรากฏเริ่มเห็นสัดส่วนที่ลดลงของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ

ประเด็นหลัก
“สำนักงาน กสทช. ได้ตระหนักถึงข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สตง.ในเรื่องการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. ในรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี2556 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ออกมาในช่วงระยะเวลากลางปี2558 ดังนั้นในปลายปี2558 สำนักงาน กสทช. ยกเลิกระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2548 และให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับ จึงส่งผลให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยสามารถลดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษและวิธีตกลงราคา และมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา และประกวดราคา ผลปรากฏเริ่มเห็นสัดส่วนที่ลดลงของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และวิธีตกลงราคา ตั้งแต่ปี 2558และจะเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในปี 2559 ตามลำดับ”หนังสือชี้แจงของกสทช.ระบุ
_____________________________________________________________________ เปิดหนังสือ "กสทช." แจง "สตง." ปมใช้งบฯ ยันแจก "คูปองทีวี" โปร่งใส-ท้าพิสูจน์ทุจริต

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) จัดทำรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ปี 2557 ว่า สำนักงานกสทช.จัดทำหนังสือชี้แจงไปยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยยืนยันกระบวนการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินนั้นเป็นไปตามขั้นตอนตามระเบียบและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ขณะเดียวกันสำนักงานกสทช.ปรับปรุงตามข้อสังเกตและคำแนะนำของสตง.ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2557จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


สำหรับประเด็นการจัดทำงบประมาณเหลื่อมปี สำนักงานกสทช.ชี้แจงว่า เป็นการกันเงินสำหรับภารกิจตามนโยบาย กสทช. ได้แก่ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ จำนวน 198 ล้านบาท และโครงการสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล จำนวน 63 ล้านบาท และเนื่องจาก กสทช. มีนโยบายให้จัดตั้งงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในปีเดียว เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณในปีถัดไป ส่งผลให้ในการจัดทำงบประมาณ มีแผนการดำเนินงาน ไม่สอดคล้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กสทช. แต่งตั้งแต่งคณะทำงานวิเคราะห์และประเมินการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของสำนักงาน กสทช. เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทบทวนผลการดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อชะลอ ปรับ ลด หรือยกเลิกการดำเนินภารกิจ หรือโครงการที่หมดความจำเป็นที่จะดำเนินงานแล้ว ส่งผลให้ในปี 2558-2559 มีผลการเบิกจ่ายที่ดีขึ้น

ในประเด็นข้อสังเกตของ สตง. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในปี2557ด้วยวิธีพิเศษนั้น สำนักงานกสทช.ชี้แจงว่า กระบวนการพิจารณาเป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2548 และบางกรณีเป็นการจ้างรายเดิมเพื่อให้บริการต่อเนื่องหรือเป็นการจ้างประชาสัมพันธ์ที่มีผู้ประกอบการรายเดียว รวมถึงกรณีจำเป็นเร่งด่วน

“สำนักงาน กสทช. ได้ตระหนักถึงข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สตง.ในเรื่องการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. ในรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี2556 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ออกมาในช่วงระยะเวลากลางปี2558 ดังนั้นในปลายปี2558 สำนักงาน กสทช. ยกเลิกระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2548 และให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับ จึงส่งผลให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยสามารถลดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษและวิธีตกลงราคา และมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา และประกวดราคา ผลปรากฏเริ่มเห็นสัดส่วนที่ลดลงของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และวิธีตกลงราคา ตั้งแต่ปี 2558และจะเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในปี 2559 ตามลำดับ”หนังสือชี้แจงของกสทช.ระบุ

สำนักงานกสทช.ยังชี้แจงการดำเนินโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ใน 3 ประเด็น

1.โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช. ) ภายใต้กรอบวงเงิน จำนวน 15,801ล้านบาท สำนักงาน กสทช. เป็นผู้ดำเนินตามที่ คสช. เห็นชอบให้แจกจ่ายคูปองมูลค่า 690 บาท เพื่อนำไปแลกกล่อง เซ็ตท็อปบ็อกซ์ หรือเป็นส่วนลดทีวีดิจิตอล หรือแลกซื้อกล่อง ไฮบริด (รับชมได้ในระบบภาคพื้นดินและดาวเทียม) โดยแจกจ่ายให้ประชาชนจำนวนประมาณ 22.9 ล้านครัวเรือน โดยระยะที่ 1 แจกจำนวน 14.9ล้านครัวเรือน ดำเนินการภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

2.สำนักงาน กสทช. ได้แจกคูปองดิจิตอลทีวีดังกล่าว ในระยะที่ 1 ให้ประชาชนครบถ้วนจำนวน 13.571 ล้านฉบับ โดยประชาชนนำคูปองมาแลกแล้ว จำนวน 8.122 ล้านฉบับ และผู้ประกอบการนำคูปองมาแลกเงินกับสำนักงาน กสทช. เป็นจำนวน 5,294ล้านบาท พ้นระยะเวลาดังกล่าว สำนักงาน กสทช. จะได้นำเงินที่เหลือส่งรัฐเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

3.ขณะนี้ คสช. ได้อนุมัติให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการแจกคูปองในระยะที่ 2 เพิ่มจำนวน4.78 ล้านฉบับ ภายใต้กรอบวงเงินเดิม ให้กับครัวเรือนที่ได้รับสิทธิแจกคูปองครั้งแรกแต่ไม่ได้รับคูปองดังกล่าว อยู่ระหว่าการดำเนินการ

“สำนักงาน กสทช. ขอยืนยันว่า ได้ดำเนินโครงการฯ ด้วยความสุจริต โปร่งใส ยุติธรรม และหากพบว่ามีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการทุจริตในขั้นตอนใดก็ตาม สำนักงาน กสทช.จะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาดและทันที และหาก สตง.ตรวจสอบพบว่า มีการ กระทำผิดเงื่อนไขการรับแลกคูปอง หรือมีการดำเนินการใดๆที่ส่อไปในทางทุจริต ให้แจ้งสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป “สำนักงานกสทช.ระบุในคำชี้แจงถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำชี้แจงดังกล่าวของสำนักงานกสทช.ดำเนินการตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2552

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478694334

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.