Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 กสทช. ชี้ ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่ก็มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น จาก 58.4 ล้านเลขหมาย ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2558 เป็น 61.7 ล้านเลขหมายในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ทั้งนี้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 22 ล้านเลขหมาย ใช้เทคโนโลยี 4G เมื่อมีผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นหลัก




ในส่วนของผู้บริโภค ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่ก็มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น มีบริการ รายการ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่เพิ่มจาก 58.4 ล้านเลขหมาย ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2558 เป็น 61.7 ล้านเลขหมายในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ทั้งนี้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 22 ล้านเลขหมาย ใช้เทคโนโลยี 4G เมื่อมีผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น การผลิตและนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อสนองความต้องการการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งผู้ที่ต้องการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น จากข้อมูลของสำนักงาน กสทช.ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2558 -กันยายน 2559) มีการผลิตและนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงเกือบ 20 ล้านเครื่อง (19,585,945 เครื่อง) คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 167,267 ล้านบาท

ด้วยการลงทุนของผู้ประกอบการและการใช้งานของผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยแยกได้ดังนี้ การจัดสรรคลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นด้วยระบบ 4G-LTE โดยในประเทศไทยเทคโนโลยี 4G-LTE มีความเร็วโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 6-25 Mbps(โดยเฉลี่ยทั่วโลกเทคโนโลยี 4G-LTE มีความเร็วอยู่ที่ 13.5 Mbps) ในขณะที่เทคโนโลยีแบบ 3G มีความเร็วเฉลี่ยเพียง 3.5 Mbps ซึ่งการมีความเร็วอินเตอร์เนตที่สูงขึ้นนั้นทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น สามารถใช้แอพพลิเคชั่นประเภทวีดีโอได้คล่องตัว การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้นและสามารถสื่อสารแบบ video call รวมไปถึงการใช้แอพพลิเคชั่นหลายตัวในเวลาเดียวกันทำให้ประหยัดเวลาและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ภาคธุรกิจสามารถเพิ่มผลผลิตมากขึ้นได้ในเวลาเท่าเดิม



ภาคครัวเรือนสามารถหารายได้แบบใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4G-LTE เข้ากับงานที่ตนทำเพื่อประหยัดเวลาหรือเพิ่มผลงาน โดยเทคโนโลยี 4G-LTE สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ระบบธนาคารและการเงิน การศึกษา การรักษาพยาบาล และภาคบันเทิงอื่นๆ เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินและธนาคาร ธุรกรรมแบบ mobilebanking ได้เติบโตขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนธุรกรรมจากเดือนมกราคม 2559 มาเดือนมิถุนายน 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 จาก 29 ล้านครั้ง เป็น 43 ล้านครั้ง (เปรียบเทียบกับการเพิ่มจำนวนธุรกรรมของ internet banking ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น จากประมาณ 19 ล้านครั้งมาที่ 23.5 ล้านครั้ง)









___________________________________________________





นับตั้งแต่ 10 โมงเช้า ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดการประมูลคลื่นย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 60 MHz (2x15 MHz จำนวน 2 ชุด)ซึ่งใช้เวลาในการประมูลข้ามวันซึ่งเสร็จสิ้นในเวลา 19.25 น.

ในวันถัดมา ยิ่งไปกว่านั้นการประมูลคลื่นย่านความถี่ 900 MHz จำนวน 40 MHz (2x10 MHz จำนวน 2 ชุด) ใช้เวลาที่ยาวนานตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 19 ธันวาคม 2558 และยังมีการประมูลต่อเป็นรอบที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2559

“จากวันนั้น จนกระทั่งวันนี้เป็นเวลาเกือบ 1 ปีที่คลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่าน ภายหลังการประมูลได้ถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากมาย นับตั้งแต่เงินประมูลที่มีมูลค่าสูงถึง 232,730 ล้านบาท ให้กับภาครัฐภายในระยะเวลา 4 ปี คือตั้งแต่ช่วง ปี 2559-2563 โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ชำระไปแล้วในช่วงปีแรก รวมประมาณ 58,830 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐสามารถนำเงินไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ รวมไปถึงการขยายโครงข่ายของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ชนะการประมูล ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ก็มีแรงกดดันทางการแข่งขันให้มีการลงทุนและขยายโครงข่ายตามไปด้วย”

ในด้านการลงทุนของผู้ประกอบการในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2558 ที่ผ่านมาจนกระทั่งไตรมาส 2 ของปีนี้ การลงทุนในสินทรัพย์รวมของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักทั้ง 3 ราย เพิ่มขึ้นประมาณ 100,264 ล้านบาท โดยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น นับตั้งแต่ต้นปี 2558 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2559ซึ่งนอกจากการลงทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ในส่วนของผู้บริโภค ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่ก็มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น มีบริการ รายการ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่เพิ่มจาก 58.4 ล้านเลขหมาย ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2558 เป็น 61.7 ล้านเลขหมายในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ทั้งนี้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 22 ล้านเลขหมาย ใช้เทคโนโลยี 4G เมื่อมีผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตเคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น การผลิตและนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อสนองความต้องการการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งผู้ที่ต้องการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น จากข้อมูลของสำนักงาน กสทช.ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2558 -กันยายน 2559) มีการผลิตและนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงเกือบ 20 ล้านเครื่อง (19,585,945 เครื่อง) คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 167,267 ล้านบาท

ด้วยการลงทุนของผู้ประกอบการและการใช้งานของผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยแยกได้ดังนี้ การจัดสรรคลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นด้วยระบบ 4G-LTE โดยในประเทศไทยเทคโนโลยี 4G-LTE มีความเร็วโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 6-25 Mbps(โดยเฉลี่ยทั่วโลกเทคโนโลยี 4G-LTE มีความเร็วอยู่ที่ 13.5 Mbps) ในขณะที่เทคโนโลยีแบบ 3G มีความเร็วเฉลี่ยเพียง 3.5 Mbps ซึ่งการมีความเร็วอินเตอร์เนตที่สูงขึ้นนั้นทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น สามารถใช้แอพพลิเคชั่นประเภทวีดีโอได้คล่องตัว การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้นและสามารถสื่อสารแบบ video call รวมไปถึงการใช้แอพพลิเคชั่นหลายตัวในเวลาเดียวกันทำให้ประหยัดเวลาและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ภาคธุรกิจสามารถเพิ่มผลผลิตมากขึ้นได้ในเวลาเท่าเดิม



ภาคครัวเรือนสามารถหารายได้แบบใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4G-LTE เข้ากับงานที่ตนทำเพื่อประหยัดเวลาหรือเพิ่มผลงาน โดยเทคโนโลยี 4G-LTE สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ระบบธนาคารและการเงิน การศึกษา การรักษาพยาบาล และภาคบันเทิงอื่นๆ เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินและธนาคาร ธุรกรรมแบบ mobilebanking ได้เติบโตขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนธุรกรรมจากเดือนมกราคม 2559 มาเดือนมิถุนายน 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 จาก 29 ล้านครั้ง เป็น 43 ล้านครั้ง (เปรียบเทียบกับการเพิ่มจำนวนธุรกรรมของ internet banking ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น จากประมาณ 19 ล้านครั้งมาที่ 23.5 ล้านครั้ง)

กล่าวโดยสรุป การจัดสรรคลื่นความถี่ในตลาดให้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศทางตรงกว่า 3.26 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีเม็ดเงินการลงทุนมากกว่า 1แสนล้านบาท มูลค่าการผลิตและนำเข้าเครื่องโทรศัพท์เป็นมูลค่ากว่า 1.67 แสนล้านบาท และมีเงินรายได้จากการประมูลส่งรัฐในปีแรก 59,000 ล้านบาท สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจทางอ้อมที่ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปจะใช้อินเตอร์เนต ไปประกอบกิจการค้าต่างๆ คาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าทางตรง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการประมูล 4G มีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าใกล้ไทยแลนด์ 4.0 มากขึ้นอีกด้วย

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

http://www.naewna.com/business/243478

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.