Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คาดว่ากระบวนการจัดซื้ออุปกรณ์จะใช้เวลาไม่เกิน 90 วัน และลงพื้นที่วางโครงข่ายเอง โดยแบ่งหน้าที่ผู้บริหารในแต่ละระดับควบคุมการติดตั้งในแต่ละพื้นที่แล้ว เฉลี่ยจังหวัดละ 3 ทีม เพื่อให้ติดตั้งโครงข่ายได้เฉลี่ยเดือนละ 3,000 หมู่บ้าน "ถ้าลงนามในสัญญาจ้างกับกระทรวงดีอี ใน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะติดตั้งเฟสแรก 24,700 หมู่บ้าน ทันสิ้นปี 2560"

ประเด็นหลัก





ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เตรียมความพร้อมในการเริ่มโครงการไว้หมดแล้ว เนื่องจากบอร์ดทีโอทีให้ความสำคัญกับการเร่งดำเนินการโครงการนี้อย่างมาก

"เราเตรียมเอกสารขออนุมัติที่ประชุมบอร์ดเพื่อขอจัดประกวดราคาจัดซื้ออุปกรณ์วางโครงข่ายทั้งหมดตามรายละเอียดและสเป็กในTOR โครงการ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ให้ใช้การประกวดราคาแทนการจัดซื้อด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว รอแค่การแจ้งอย่างเป็นทางการจากกระทรวงดีอีเท่านั้น"

โดย "ทีโอที" จะจัดซื้ออุปกรณ์พร้อมกันเป็นลอตใหญ่ แต่ให้ทยอยจัดส่งตามคลังพื้นที่ที่กำหนด คาดว่ากระบวนการจัดซื้ออุปกรณ์จะใช้เวลาไม่เกิน 90 วัน และลงพื้นที่วางโครงข่ายเอง โดยแบ่งหน้าที่ผู้บริหารในแต่ละระดับควบคุมการติดตั้งในแต่ละพื้นที่แล้ว เฉลี่ยจังหวัดละ 3 ทีม เพื่อให้ติดตั้งโครงข่ายได้เฉลี่ยเดือนละ 3,000 หมู่บ้าน "ถ้าลงนามในสัญญาจ้างกับกระทรวงดีอี ใน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะติดตั้งเฟสแรก 24,700 หมู่บ้าน ทันสิ้นปี 2560"

แหล่งข่าวในธุรกิจโทรคมนาคมกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการนี้มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท แต่ 80-90% จะอยู่กับเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก และอุปกรณ์ รับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ส่วนงานติดตั้งน่าจะอยู่ที่ 10% หรือแค่ 1,000 กว่าล้านบาทเท่านั้น คาดว่าจะได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ และบริษัทผู้รับติดตั้งระบบ ที่จะเสนอตัวเพื่อเข้าร่วมโครงการด้วย เนื่องจากถือเป็นโครงการใหญ่ โดยแต่ละบริษัทกำลังรอดูเงื่อนไขการจัดซื้ออุปกรณ์ของทีโอทีว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งการดำเนินโครงการที่ผ่านมา มักโดนครหาในหลายโครงการว่า มีการกำหนดสเป็กอุปกรณ์เอื้อบางบริษัทบางยี่ห้ออุปกรณ์ทำให้โครงการนี้เป็นที่น่าจับตาด้วยเช่นกันว่าจะเป็นเช่นที่แล้วว่าหรือไม่








___________________________________________________







พิษเน็ตหมู่บ้าน เด้งปลัด "ดีอี" เปิดทาง "TOT"


เหมือนฟ้าผ่ากลางแดด กรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว เมื่อ 5 พ.ย. 2559 ให้ "นางทรงพร โกมลสุรเดช" พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอี) ไปเป็นผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ตรวจราชการ และเป็นที่ปรึกษาด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย และให้นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล พ้นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ มานั่งเป็นปลัดกระทรวงดีอีแทน


เป็นเด้งฟ้าผ่าครั้งแรกของกระทรวงดีอี แต่ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับกระทรวงไอซีที

2 ปีเด้ง 3 ปลัดไอซีที-ดีอี

ก่อนหน้านี้ รัฐบาล คสช. มีคำสั่งโยกย้ายปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) มาแล้ว 2 ราย เริ่มจากนายสุรชัย ศรีสารคาม เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา และนางเมธินี เทพมณี โดยมติ ครม.วันที่ 19 พ.ค. 2558

กรณีล่าสุดแหล่งข่าวจากกระทรวงดีอีระบุว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากการดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านทั้งที่ถือเป็นโครงการนำร่องตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลชุดนี้แต่กลับเป็นไปด้วยความล่าช้าจากปัญหาการบริหารจัดการภายในกระทรวงดีอี ทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ไม่คืบหน้าอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติงบประมาณตั้งแต่ ม.ค. 2559 โดยเห็นชอบให้กระทรวงไอซีที เป็นผู้ดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ วงเงิน 20,000 ล้านบาท

ประกอบด้วย 1.การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ วงเงิน 15,000 ล้านบาท และ 2.เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็น ASEAN Digital Hub วงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนสำคัญของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจประเทศ และให้เศรษฐกิจดิจิทัลขับเคลื่อนได้จริงในปีงบประมาณ 2559

TOR อืดรองปลัดไขก๊อก

แหล่งข่าวจากกระทรวงดีอี เปิดเผยว่า การยกร่างเงื่อนไขโครงการทางเทคนิค (TOR) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการเน็ตหมู่บ้านล่าช้ามาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนนโยบายของผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงไอซีทีไปมาจากเดิม ครม.มอบหมายให้ บมจ.ทีโอที กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยให้ตกลงแบ่งพื้นที่กัน แต่ใน ก.ค.ที่ผ่านมา มีแนวคิดใหม่ที่ต้องการเปิดกว้างให้บริษัทเอกชนที่รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทที่ 3 (แบบมีโครงข่ายของตนเอง) จาก กสทช.เข้าร่วมเสนอราคาได้ด้วยทำให้มีปัญหากับการเขียน TOR

"ว่ากันว่าแนวคิดที่ต้องการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมโครงการได้ทำให้คณะทำงานร่างทีโออาร์มีความกังวลมากจนคณะกรรมการลาออกบางคนลาออกหลายรอบว่ากันว่าระดับรองปลัดไอซีทีบางรายที่ยื่นหนังสือลาออกไปก็เพราะเกรงว่าถ้าเขียนทีโออาร์ไปตามนั้นจะมีปัญหาภายหลังแต่ในท้ายที่สุดก็มีการปรับใหม่ให้กลับไปที่จุดยืนเดิมจนในที่สุดก็เขียนทีโออาร์เสร็จสามารถประกาศราคากลางเพื่อประกวดราคาได้เมื่อ9 ส.ค.ที่ 10,830.87 ล้านบาท จากงบฯ 13,000 ล้านบาท"

และได้กำหนดยื่นซองประมูลเมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา มี "ทีโอที" ยื่นซองเพียงรายเดียว แต่ในเวลาต่อว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือท้วงติงเกี่ยวกับซ้ำซ้อนของโครงการดังกล่าวกับโครงการขยายบริการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างทั่วถึง(USO)ของสำนักงานกสทช.

เปลี่ยน รมต.-ปม สตง.

หลัง "ทีโอที" ยื่นซองประมูลโครงการนี้ไม่กี่วัน รัฐมนตรีไอซีที "อุตตม สาวนายน" ยื่นใบลาออก ทำให้ "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง"รองนายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นรักษาการแทน เป็นจังหวะเดียวกับที่มีการเปลี่ยนจากกระทรวงไอซีที มาเป็นกระทรวงดีอี พร้อมกับมอบนโยบายให้หน่วยงานใต้สังกัดเดินหน้าโครงการเน็ตหมู่บ้านอีกครั้ง (วันที่ 20 ก.ย. 2559) โดยย้ำว่าให้ทบทวนทุกประเด็นที่ สตง.ท้วงติงมาเพื่อให้การดำเนินโครงการมีความ"โปร่งใส"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านจากไอซีทีมาเป็นกระทรวงดีอีมีผลกับกระบวนการทำงานต่าง ๆ พอสมควร อีกทั้งยังต้องมีการให้ทบทวนพื้นที่ โดยประสานกับ กสทช.เพื่อไม่ให้พื้นที่ทับซ้อนกัน

จนเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา การประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้กระทรวงดีอี โอนเงินงบประมาณโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านให้ "ทีโอที" ดำเนินการทั้งหมด โดย "พล.อ.อ.ประจิน" ย้ำว่าได้กำชับให้ "ทีโอที" ดำเนินการให้ได้ภายใน 25 ธ.ค.นี้ เพื่อให้ขยายโครงข่ายได้ครบ 85% ในสิ้นปี 2560 และครบทั้งหมดต้นปี 2560 หลังจากโครงการมีความล่าช้าและมีปัญหามาตลอด

รื้อโครงการดันเข้า ครม.อีกรอบ

นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดีอีคนใม่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ได้มีการมอบหมายนโยบายแล้ว มีการเรียกหารือกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านนโยบายในขณะนี้จะมอบหมายให้ทีโอทีเป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณแทนกระทรวงดีอี

แหล่งข่าวจากกระทรวงดีอีเปิดเผยว่าทีมงานกำลังเร่งทบทวนและแก้ไขรายละเอียดโครงการใหม่ทั้งหมดเพื่อเตรียมเสนอให้ครม.พิจารณา ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ โดยต้องปรับรายละเอียดโครงการใหม่ ซึ่งงบประมาณยังอยู่ที่กระทรวงดีอี แต่ทีโอทีเป็นผู้เบิกจ่ายแทน รวมถึงมีการทบทวนในประเด็นที่ สตง.ท้วงติงมา ทั้งเรื่องความทับซ้อนของพื้นที่กับ กสทช. ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันแล้ว โดยหลัง ครม. อนุมัติแล้ว ทีโอทีจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์โครงข่าย ก่อนเริ่มลงพื้นที่ติดตั้ง

"กระทรวงดีอีจะคอยกำกับให้แต่ละขั้นตอนเป็นไปตามกรอบเวลา และมาตรฐานงานที่กำหนดไว้"

ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เตรียมความพร้อมในการเริ่มโครงการไว้หมดแล้ว เนื่องจากบอร์ดทีโอทีให้ความสำคัญกับการเร่งดำเนินการโครงการนี้อย่างมาก

"เราเตรียมเอกสารขออนุมัติที่ประชุมบอร์ดเพื่อขอจัดประกวดราคาจัดซื้ออุปกรณ์วางโครงข่ายทั้งหมดตามรายละเอียดและสเป็กในTOR โครงการ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ให้ใช้การประกวดราคาแทนการจัดซื้อด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว รอแค่การแจ้งอย่างเป็นทางการจากกระทรวงดีอีเท่านั้น"

โดย "ทีโอที" จะจัดซื้ออุปกรณ์พร้อมกันเป็นลอตใหญ่ แต่ให้ทยอยจัดส่งตามคลังพื้นที่ที่กำหนด คาดว่ากระบวนการจัดซื้ออุปกรณ์จะใช้เวลาไม่เกิน 90 วัน และลงพื้นที่วางโครงข่ายเอง โดยแบ่งหน้าที่ผู้บริหารในแต่ละระดับควบคุมการติดตั้งในแต่ละพื้นที่แล้ว เฉลี่ยจังหวัดละ 3 ทีม เพื่อให้ติดตั้งโครงข่ายได้เฉลี่ยเดือนละ 3,000 หมู่บ้าน "ถ้าลงนามในสัญญาจ้างกับกระทรวงดีอี ใน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะติดตั้งเฟสแรก 24,700 หมู่บ้าน ทันสิ้นปี 2560"

แหล่งข่าวในธุรกิจโทรคมนาคมกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการนี้มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท แต่ 80-90% จะอยู่กับเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก และอุปกรณ์ รับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ส่วนงานติดตั้งน่าจะอยู่ที่ 10% หรือแค่ 1,000 กว่าล้านบาทเท่านั้น คาดว่าจะได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ และบริษัทผู้รับติดตั้งระบบ ที่จะเสนอตัวเพื่อเข้าร่วมโครงการด้วย เนื่องจากถือเป็นโครงการใหญ่ โดยแต่ละบริษัทกำลังรอดูเงื่อนไขการจัดซื้ออุปกรณ์ของทีโอทีว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งการดำเนินโครงการที่ผ่านมา มักโดนครหาในหลายโครงการว่า มีการกำหนดสเป็กอุปกรณ์เอื้อบางบริษัทบางยี่ห้ออุปกรณ์ทำให้โครงการนี้เป็นที่น่าจับตาด้วยเช่นกันว่าจะเป็นเช่นที่แล้วว่าหรือไม่


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478666549

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.