Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 DTAC ดัน 30ฟาร์มสู่ดิจิตอล ร โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ดีแทคยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง Agri Tech กับ Smart Farmer ที่เหมาะสม

ประเด็นหลัก




นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า หนึ่งในเป้าหมายหลักของดีแทค คือ การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวไปสู่ความเป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตเชิงเกษตรกรรม โดยที่ผ่านมา ดีแทคได้ร่วมกับภาครัฐ สนับสนุนการทำการเกษตรโดยนำนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ ติดอาวุธให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ โดยได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมหลักสูตรการเกษตรเชิงพาณิชย์ให้กับสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รุ่นเยาว์ (Young Smart Farmer) ที่กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้คัดเลือกจากทั่วประเทศไปแล้วกว่า 3,000 คน ซึ่งสร้างช่องทางให้เกษตรกรรอดพ้นจากวงจรราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้”

“ในอนาคตอันใกล้นี้ ดีแทควางโรดแมปโดยมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบแม่นยำ และสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัพด้านการเกษตร หรือ Agri Tech นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญทางการเกษตร หรือการสร้างธุรกิจใหม่ทางด้านการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ดีแทคยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง Agri Tech กับ Smart Farmer ที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ทางการเกษตรที่มีอยู่ผสานกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้วิทยาการด้านการเกษตรของไทยกลายเป็นผู้นำแนวหน้าของโลก ซึ่งจะเป็นการช่วยผลักดันโมเดล “ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value- Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม





___________________________________________________________







‘ดีแทค’ดัน30ฟาร์มสู่ดิจิตอล ติดตั้งเทคโนโลยี IoTวัดอุณหภูมิก่อนต่อยอดสู่ระบบอัตโนมัติ

ดีแทค กางโรดแมปเนรมิตโครงการ “สมาร์ท ฟาร์เมอร์” หนุนเกษตรกรยุคใหม่ 30 ฟาร์ม นำร่องเฟสแรก ติดตั้งเทคโนโลยี “อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์” วัดอุณหภูมิ ความชื้น ก่อนต่อยอดพัฒนาสู่เฟส 2 ระบบอัตโนมัติ ชี้ช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิตได้ 30% ล่าสุดประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 59


นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า หนึ่งในเป้าหมายหลักของดีแทค คือ การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวไปสู่ความเป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตเชิงเกษตรกรรม โดยที่ผ่านมา ดีแทคได้ร่วมกับภาครัฐ สนับสนุนการทำการเกษตรโดยนำนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ ติดอาวุธให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ โดยได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมหลักสูตรการเกษตรเชิงพาณิชย์ให้กับสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รุ่นเยาว์ (Young Smart Farmer) ที่กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้คัดเลือกจากทั่วประเทศไปแล้วกว่า 3,000 คน ซึ่งสร้างช่องทางให้เกษตรกรรอดพ้นจากวงจรราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้”

“ในอนาคตอันใกล้นี้ ดีแทควางโรดแมปโดยมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบแม่นยำ และสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัพด้านการเกษตร หรือ Agri Tech นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญทางการเกษตร หรือการสร้างธุรกิจใหม่ทางด้านการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ดีแทคยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง Agri Tech กับ Smart Farmer ที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ทางการเกษตรที่มีอยู่ผสานกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้วิทยาการด้านการเกษตรของไทยกลายเป็นผู้นำแนวหน้าของโลก ซึ่งจะเป็นการช่วยผลักดันโมเดล “ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value- Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ล่าสุดดีแทค มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2559 โดยเกษตรกรผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ที่มุ่งเน้นการทำเกษตรแบบครบวงจรคือ นายอายุ จือปา วัย 31 ปี ชาวเขาเผ่าอาข่าจากจังหวัดเชียงราย ผู้ตั้งปณิธานน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด

Advertisement

ด้านนางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน ) กล่าวว่าการผลักดันเกษตรกร ไปสู่ “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” หรือ “ดิจิตอล ฟาร์มเมอร์” นั้นดีแทค ได้คัดเลือกเกษตรกร จากหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในการปรับตัวสู่ดิจิตอล และ เกษตรกรที่ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เข้ามาร่วมในโครงการนำร่อง 30 ฟาร์ม โดยโครงการแบ่งเป็นโครงการ 2 ระยะ หรือเฟส โดยเฟสแรกจะเป็นการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) มาใช้ในการวัดอุณหภูมิ และความชื้นของผลผลิต โดยอุปกรณ์ IoT จะมีเซ็นเซอร์ ตรวจจับ และส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้งานแอพพลิเคชันที่ทีมงานดีแทคพัฒนาขึ้นมา ดึงข้อมูลจากคลาวด์มาใช้ในการดูแลผลผลิต

โดยขณะนี้แอพพลิเคชันดังกล่าวรองรับพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ที่มีราคาสูง คือ กุหลาบ หัวหอม มะเขือเทศ ข้าวออร์แกนิก เมลอน ส่วนระยะ 2 จะพัฒนาไปสู่ระบบอัตโนมัติ อาทิ การเปิดปิดการลดน้ำ ทั้งนี้จากกรณีศึกษาในต่างประเทศพบว่าการไปสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ จะช่วยให้เกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิตได้ 30%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,217 วันที่ 11 – 14 ธันวาคม 2559

http://www.thansettakij.com/2016/12/13/119032

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.