Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 ข่าวลือเรื่องการขายธุรกิจพีซีของซัมซุงนั้น กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อซัมซุง ยอมรับว่า กำลังพิจารณาปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยเป็นการพิจารณาตามคำแนะนำของอีเลียตแมนเนจเมนต์ (Elliott Management) กองทุนความเสี่ยงสูงจากอเมริกันที่ถือหุ้นในซัมซุง ราว 0.6%

ประเด็นหลัก
ข่าวลือเรื่องการขายธุรกิจพีซีของซัมซุงนั้น กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อซัมซุง ยอมรับว่า กำลังพิจารณาปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยเป็นการพิจารณาตามคำแนะนำของอีเลียตแมนเนจเมนต์ (Elliott Management) กองทุนความเสี่ยงสูงจากอเมริกันที่ถือหุ้นในซัมซุง ราว 0.6%
สำนักข่าวโซลอิโคโนมิก (Seoul Economic Daily) รายงานไว้เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า Elliott ไม่เพียงเรียกร้องให้บริษัทเจ้าพ่อสินค้าไอทีสัญชาติเกาหลีใต้แยกบริษัทออกเป็น 2 แต่ยังต้องการให้ซัมซุง จ่ายปันผลด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นแก่ผู้ถือหุ้นด้วย โดยแถลงการณ์ของซัมซุง ระบุว่า บริษัทจะเพิ่มเงินจ่ายปันผลอีก 30% จากปีก่อน รวมอยู่ที่ราว 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (119,000 ล้านบาท)
แม้โครงสร้างใหม่จะทำให้ซัมซุง มี 2 บริษัทที่สามารถจัดการงานได้คล่องตัว โดยบริษัทหนึ่งสามารถจัดการกิจการดั้งเดิม ขณะที่อีกบริษัทจะสามารถลุยงานปฏิบัติการได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้เอื้อต่อการเติบโตที่เร็วกว่า แต่โครงสร้างใหม่ก็ถูกมองว่า เกิดขึ้นเพราะ 2 เหตุผล คือ เพื่อปรับโครงสร้างสับเปลี่ยนสายบริหาร และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น
______________________________________________ จับตาอนาคต “ซัมซุง” เลิกขายพีซี-แยก 2 บริษัท


โบราณว่า วิกฤตมาโอกาสเกิด พิษไข้ “โน้ต 7” ที่ทำร้ายซัมซุงมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้เจ้าพ่ออิเล็กทรอนิกส์สัญชาติกิมจิตัดสินใจลุกขึ้นมาผ่าตัดตัวเอง ประกาศปรับโครงสร้างตามคำแนะนำของบริษัทจัดการความเสี่ยง และแรงกดดันจากผู้ถือหุ้น โดยอนาคตที่กำลังรอซัมซุงอยู่ คือ การแยกบริษัทออกเป็น 2 เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร ขณะเดียวกัน ก็อาจจะ “ตัดเนื้อร้าย” ยกเลิกธุรกิจที่ไม่ทำกำไรทิ้งไป ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี
แม้จะยังไม่มีการประกาศรายละเอียดอย่างเป็นทางการ แต่ข่าวการตัดสินใจในเบื้องต้นครั้งนี้ของซัมซุง ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากซัมซุง เป็นบริษัทใหญ่ที่ทำเงินสะพัดมหาศาล คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพีของเกาหลีใต้ทั้งประเทศ
สำหรับธุรกิจคอมพิวเตอร์พีซี สื่ออย่างไอบีที (International Business Times) รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าววงในว่า ซัมซุงกำลังเจรจากับเลอโนโว (Lenovo Group) ของจีน เพื่อขายทรัพย์สินในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยราคาประมาณ 1 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 3.02 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลว่า ซัมซุงสามารถทำเงิน หรือสูญเงินจากธุรกิจพีซีเท่าใดในแต่ละไตรมาส สิ่งที่รับรู้กัน คือ ซัมซุงหยุดจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีในตลาดยุโรปช่วงปี 2014 เนื่องจากทนแรงแข่งขันกับเอชพี (HP) และเลอโนโว (Lenovo) ไม่ไหว นอกจากนี้ แม้จะยังทำตลาดในสหรัฐอเมริกา และเอเชีย แต่ชื่อของซัมซุง ก็ไม่ค่อยปรากฏบน 5 อันดับต้นของตารางที่บริษัทวิจัยไอดีซี (IDC) หรือการ์ตเนอร์ (Gartner) เคยสำรวจ
ปัจจุบัน แบรนด์คอมพิวเตอร์วางตักที่ถูกจัดอันดับ Best Laptop Brands แห่งปี 2016 แบบเรียงลำดับ 1 ถึง 10 ได้แก่ แอปเปิล, อัสซุส, เดลล์, เอชพี, เลอโนโว, เอเซอร์, ไมโครซอฟท์ แล้วจึงเป็นซัมซุง ที่ชนะโตชิบา และเอ็มเอสไอ
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของซัมซุง ในตลาดพีซี คือ การออกแบบสินค้าใหม่ชื่อ “แกแล็กซี่ แท็บโปร เอส” (Galaxy TabPro) ในฐานะคอมพิวเตอร์พกพา Windows 10 แบบทูอินวัน ซึ่งได้รับรางวัล Best of CES เมื่อครั้งนำไปแสดงในงานมหกรรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
แม้จะไม่มีใครวิเคราะห์ว่า เลอโนโวจะซื้อธุรกิจพีซีจากซัมซุงหรือไม่ แต่อย่างน้อย เลอโนโวนั้นมีสลักหลังเป็นผู้ที่หาจุดยืนในวงการพีซีได้ เพราะการซื้อกิจการพีซีจากไอบีเอ็ม (IBM) ในปี 2005 จนทำให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรธุรกิจพากันซื้อสินค้ากลุ่ม ThinkPads จากเลอโนโว นับแต่นั้นมา
วันนี้ เลอโนโว คือ ผู้ค้าคอมพิวเตอร์พีซีอันดับ 1 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาด 20.9% รองลงมา คือ เอชพีที่ 20.4%

จับตาอนาคต “ซัมซุง” เลิกขายพีซี-แยก 2 บริษัท

*** แยกเป็น 2 บริษัท
ข่าวลือเรื่องการขายธุรกิจพีซีของซัมซุงนั้น กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อซัมซุง ยอมรับว่า กำลังพิจารณาปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยเป็นการพิจารณาตามคำแนะนำของอีเลียตแมนเนจเมนต์ (Elliott Management) กองทุนความเสี่ยงสูงจากอเมริกันที่ถือหุ้นในซัมซุง ราว 0.6%
สำนักข่าวโซลอิโคโนมิก (Seoul Economic Daily) รายงานไว้เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า Elliott ไม่เพียงเรียกร้องให้บริษัทเจ้าพ่อสินค้าไอทีสัญชาติเกาหลีใต้แยกบริษัทออกเป็น 2 แต่ยังต้องการให้ซัมซุง จ่ายปันผลด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นแก่ผู้ถือหุ้นด้วย โดยแถลงการณ์ของซัมซุง ระบุว่า บริษัทจะเพิ่มเงินจ่ายปันผลอีก 30% จากปีก่อน รวมอยู่ที่ราว 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (119,000 ล้านบาท)
แม้โครงสร้างใหม่จะทำให้ซัมซุง มี 2 บริษัทที่สามารถจัดการงานได้คล่องตัว โดยบริษัทหนึ่งสามารถจัดการกิจการดั้งเดิม ขณะที่อีกบริษัทจะสามารถลุยงานปฏิบัติการได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้เอื้อต่อการเติบโตที่เร็วกว่า แต่โครงสร้างใหม่ก็ถูกมองว่า เกิดขึ้นเพราะ 2 เหตุผล คือ เพื่อปรับโครงสร้างสับเปลี่ยนสายบริหาร และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น

ประเด็นแรกนั้นน่าสนใจ เพราะการแยกบริษัทเพื่อปรับโครงสร้างบริหารในซัมซุง ถูกมองว่า เป็นผลจากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ปรับระบบบริหารจัดการซัมซุงเสียใหม่ หลังจากบริษัทพบปัญหากำไรลดฮวบ เพราะการเรียกคืนกาแลคซี่ โน้ต 7 (Note 7) โดยนักลงทุนวิจารณ์ว่า ครอบครัว และคนสนิทของผู้ก่อตั้งซัมซุง ซึ่งผู้ถือหุ้นส่วนน้อยกลับมีอิทธิพลในการบริหาร และตัดสินใจมาก
ที่ผ่านมา ซัมซุงเป็นบริษัทที่สืบทอดสายงานบริหารในครอบครัว ความจริงข้อนี้ยังไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น เพื่อตอบโจทย์นักลงทุน ซัมซุงจึงปรับโครงสร้างเพื่อให้รองประธานซัมซุง “ลี เจ-ยอง” (Lee Jae-yong) บุตรชายของประธานลี คุน-ฮี (Lee Kun-hee) และบุตรสาว ลี บูจิน (Lee Boo-jin) และลี โซ-ฮุน (Lee Seo-hyun) มีอำนาจในการบริหารบนพื้นที่ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ข่าวนี้ทำให้หลายคนนึกถึงกูเกิล (Google) ที่ประกาศปรับโครงสร้างบริษัทด้วยการผุดบริษัทใหม่ชื่อ “อัลฟาเบ็ต” (Alphabet) เมื่อปีที่แล้ว โดยดำเนินการอิสระแยกจากกูเกิล โดยบริษัทแม่อย่างกูเกิล ลงมือเก็บธุรกิจที่สร้างชื่อมาอย่างเสิร์ชเอนจิ้น แอปพลิเคชั่นต่างๆ บริการยูทูป และแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ เอาไว้เอง ส่วนธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจสมาร์ทโฮมที่มาจากการควบรวมกิจการของ Nest, ธุรกิจโดรน และงานด้านการวิจัย และการลงทุน จะถูกย้ายไปดำเนินการภายใต้บริษัทใหม่ Alphabet แทน
*** เรื่องธรรมดา?
ต้องยอมรับว่า บริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายรายลงมือแยกบริษัทออกเป็น 2 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2014 เจ้าพ่อบริการออนไลน์ “อีเบย์” (eBay) ประกาศแยกบริษัทเพย์พาล (PayPal) ออกไปเมื่อกันยายนปี 2014 ขณะที่เอชพี (HP) ประกาศแบ่งครึ่งบริษัทในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน
กรณีของเอชพี การแยกธุรกิจของบริษัทออกเป็นสองเกิดขึ้นเพื่อพลิกฟื้นบริษัท ให้สามารถเดินหน้าไปที่เป้าหมายได้รวดเร็วมากขึ้น ครั้งนั้น เอชพีแยกบริษัทแรกออกมาเป็นชื่อ “ฮิวเล็ตต์ แพกการ์ดเอนเตอร์ไพรซ์” (Hewlett-Packard Enterprise) รับผิดชอบธุรกิจ เซิร์ฟเวอร์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์เครือข่าย และงานบริการลูกค้า และอีกบริษัท คือ “เอชพี อิงค์” (HP Inc) รับผิดชอบธุรกิจพีซี และเครื่องพิมพ์ โดยทั้ง 2 บริษัทมีซีอีโอคนละคน
เช่นเดียวกับ eBay การแบ่งบริษัทออกเป็นสอง คือ eBay และ PayPal นั้น จะทำให้มีซีอีโอ 2 คน ครั้งนั้น eBay ให้เหตุผลของการแยกบริษัทว่า เป็นเพราะธรรมชาติของธุรกิจ eBay และ PayPal แตกต่างกัน เมื่อสภาพการแข่งขันเปลี่ยนไป การแยกบริษัทจึงเป็นทางออกที่ดี
ไม่ว่าซัมซุงจะมีเหตุผลอย่างไร การแยกบริษัทไม่เพียงทำให้แผนกงานของบริษัทนั้น มีการเติบโตรวดเร็ว แต่รู้กันดีว่า การแตกบริษัทจะทำให้เกิดความเสียหายน้อยกว่าในกรณีที่มีการขาดทุน หรือเหตุไม่คาดฝัน ซึ่ง Note 7 คือ สัญญาณบอกเหตุได้ดีว่า หากซัมซุง แยกบริษัทออกไป ผู้ถือหุ้นซัมซุงจะไม่ได้รับผลกระทบมากมายอย่างที่เป็นอยู่
สำหรับวิกฤต Note 7 ที่ทำให้ซัมซุง ต้องหยุดจำหน่ายอย่างเป็นทางการนั้น ทำให้ซัมซุง ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ปี 2016 ว่า กำไรในส่วนของธุรกิจโทรศัพท์มือถือลดลงถึง 96% เหลือ 87.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,160 ล้านบาท เรียกว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปีของซัมซุง
ตัวเลขนี้ทำให้ผลประกอบการโดยรวมในไตรมาสนี้ของซัมซุง หล่นลงมาอยู่ที่ 5.20 ล้านล้านวอน หรือ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.19 ล้านล้านวอน ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ภาวะนี้ทำให้นักลงทุนบาดเจ็บถ้วนหน้า ซึ่งไม่แน่ พิษไข้นี้อาจไม่ทำร้ายทุกคนหากมีการป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้า

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120150&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+02-11-59&utm_campaign=20161201_m135893464_MGR+Morning+Brief+02-11-59&utm_term=_E0_B8_88_E0_B8_B1_E0_B8_9A_E0_B8_95_E0_B8_B2_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B8_B2_E0_B8_84_E0_B8_95+_27_E0_B8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.