Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 TRUE ปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 34 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมทำจริงสู่ประเทศไทย 4.0” ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ ว่า การปรับตัวของภาคเอกชนเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 ซึ่งจะส่งผลให้มีการถ่ายโอนข้อมูลออย่างรวดเร็วและทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นหลัก




นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจากัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความสำเร็จของกลุ่มทรู ในการปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 34 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมทำจริงสู่ประเทศไทย 4.0” ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ ว่า การปรับตัวของภาคเอกชนเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 ยกตัวอย่างจาก บริษัท ทรูฯมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจทางด้านการสื่อสารโดยเริ่มจากการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานตั้งแต่ปี 2535 มาเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายเคลื่อนที่โดยการนำเทคโนโลยี 4 จี เข้ามาปรับปรุงเครือข่ายการสื่อสารในปี 2555ซึ่งจะส่งผลให้มีการถ่ายโอนข้อมูลออย่างรวดเร็วและทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้แล้วการปรับตัวในยุคดิจิตอลแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ การปรับตัวทางด้านการสื่อสารการปรับตัวด้านวิธีการใช้เครือข่ายเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการใช้ระบบ Cloud Computing และกำรวิเคราะห์ข้อมูล

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น 4 แนวโน้มใหญ่ ที่ไทยมีพื้นฐานและศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตได้แก่เทคโนโลยีชีวภาพ (BIOTECH) ,หุ่นยนต์(ROBOTICS) ,เทคโนโลยีประยุกต์ ( NANOTECH)และดิจิตอล (DIGITAL) การลดความเหลื่อมล้ำทางด้านข้อมูล (Digital Divide) ในยุค Big data โดยการพัฒนาผ่าน กระบวนการผลิต (Production) ซึ่งเป็นการสร้างสินค้าขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตการพัฒนาด้านการสื่อสาร (Communication) และ การพัฒนาด้านการขนส่ง (Logistics) ซึ่งทั้งหมดทุกขั้นตอนในการผลิตสินค้าและบริการจะต้องเชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยีดิจิตอลและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจสตาร์ตอัพ เพื่อลด pain point (อาการปวดจุด)ของระบบเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจโดยปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เป็นในรูปแบบดิจิตอลและเชื่อมโยงตลาดและลูกค้าในแบบดิจิตอลเช่นเดียวกัน



___________________________________________________________







ศุภชัยแนะเอกชนปรับเข้ายุค4.0 ยกตัวอย่างทรูปรับยุทธศาสตร์จากโทร.พื้นฐานสู่ระบบ 4 จี

“ศุภชัย” เผยกลุ่มทรู ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจด้านการสื่อสารจากโทรศัพท์พื้นฐาน สู่ระบบสื่อสารไร้สาย 4 จี แนะภาคเอกชนต้องปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0


นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจากัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความสำเร็จของกลุ่มทรู ในการปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 34 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมทำจริงสู่ประเทศไทย 4.0” ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ ว่า การปรับตัวของภาคเอกชนเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 ยกตัวอย่างจาก บริษัท ทรูฯมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจทางด้านการสื่อสารโดยเริ่มจากการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานตั้งแต่ปี 2535 มาเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายเคลื่อนที่โดยการนำเทคโนโลยี 4 จี เข้ามาปรับปรุงเครือข่ายการสื่อสารในปี 2555ซึ่งจะส่งผลให้มีการถ่ายโอนข้อมูลออย่างรวดเร็วและทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้แล้วการปรับตัวในยุคดิจิตอลแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ การปรับตัวทางด้านการสื่อสารการปรับตัวด้านวิธีการใช้เครือข่ายเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการใช้ระบบ Cloud Computing และกำรวิเคราะห์ข้อมูล

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น 4 แนวโน้มใหญ่ ที่ไทยมีพื้นฐานและศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตได้แก่เทคโนโลยีชีวภาพ (BIOTECH) ,หุ่นยนต์(ROBOTICS) ,เทคโนโลยีประยุกต์ ( NANOTECH)และดิจิตอล (DIGITAL) การลดความเหลื่อมล้ำทางด้านข้อมูล (Digital Divide) ในยุค Big data โดยการพัฒนาผ่าน กระบวนการผลิต (Production) ซึ่งเป็นการสร้างสินค้าขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตการพัฒนาด้านการสื่อสาร (Communication) และ การพัฒนาด้านการขนส่ง (Logistics) ซึ่งทั้งหมดทุกขั้นตอนในการผลิตสินค้าและบริการจะต้องเชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยีดิจิตอลและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจสตาร์ตอัพ เพื่อลด pain point (อาการปวดจุด)ของระบบเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจโดยปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เป็นในรูปแบบดิจิตอลและเชื่อมโยงตลาดและลูกค้าในแบบดิจิตอลเช่นเดียวกัน

Advertisement

นอกจากนี้การลดความเหลื่อมล้ำทางด้านข้อมูลในยุคดิจิตอลแนวใหม่คือการนำเอาเทคโนโลยีด้านอี-คอมเมิร์ซ,อี-แบงกิ้ง,อี-แบงกิ้ง และ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี เข้ามาใช้ในธุรกิจเพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีส่วนร่วม (Inclusive Economy) ผ่านทางDigital Connectivity(การเชื่อมต่อดิจิตอล)

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงโลกในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงผ่านทำระบบเซนเซอร์ระบบเครือข่ายคนและกระบวนการทำงานต่างๆโดยในปี 2563พบว่าจะมีอุปกรณ์ระบบเซนเซอร์ กว่า212 ล้านล้านเครื่องโดย 30 ล้านล้านเครื่องสามารถเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่ายซึ่ง 212 ล้านล้านเครื่องนี้ถือเป็นจำนวน 28 เท่าของประชากรโลกในปี 2563

อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนผ่านการพิจารณาจากศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศนั้นๆเช่นการดูข้อมูลการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศความพร้อมของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีปัจจุบันการเชื่อมโยงข้อมูลของประเทศไทยส่วนใหญ่มีการโยงโครงข่ายผ่านทางดิจิตอลเกตเวย์แต่ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลกลับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ไทยยังคงต้องพึ่งสิงคโปร์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไปยังต่างประเทศและในอนาคตมีความต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอินเตอร์เน็ตของอาเซียนผ่านทางดิจิตอลเกตเวย์ทั้งจากประเทศฟิลิปปินส์จนถึงอินเดียซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นดิจิตอลเกตเวย์ได้ในอนาคต

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,215 วันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2559

http://www.thansettakij.com/2016/12/05/117755

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.